พลังงานชีวภาพ

จีนมุ่งสู่ผู้นำเชื้อเพลิงชีวภาพระดับโลก เพิ่มการผลิต 25% ในปี 2567

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (EIA) รายงานว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 25% ในปี 2567 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนที่จะมีการผลิตเพิ่มสูงสุดในโลกเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ จะมีการผลิตเชื้อเพลิงทดแทนในภาคการขนส่งเพิ่มขึ้นราว 10% ในปี 2567

ประเทศจีนตั้งเป้าใช้เอทานอลทดแทนน้ำมันสำหรับรถยนต์ทั่วประเทศภายในปี 2563 เป็นครั้งแรก ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อลดมลพิษและนำทรัพยากรของประเทศมาใช้เกิดประโยชน์สูงสุด

รายงานผลผลิตเชื้อเพลิงในแต่ละประเทศ/ภูมิภาค โดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (EIA)

จากการรายงานขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ แคมเปมดังกล่าวถูกเผยแพร่เมื่อจีนประกาศใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมัน

ซึ่งแคมเปญดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติ สำนักงานบริหารจัดการพลังงานแห่งชาติ และกระทรวงการคลังในการบังคับใช้เอทานอลทดแทนน้ำมันสำหรับรถยนต์ให้ได้ภายในปี 2563 และตั้งเป้าจะเพิ่มระดับการผลิตเอทานอล ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพให้ดียิ่งขึ้นภายในปี 2568

มีรายงานว่า จีนมีการผลิตพลังงานทั้งหมด ในที่นี้รวมเอทานอล เชื้อเพลิงชีวภาพและน้ำมันพืชเพิ่มสูงสุดเป็นครั้งแรกในปี 2561

และตั้งเป้าเป็นผู้นำการผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลก ที่ระดับการผลิตราว 9.5 ล้านล้านลิตรของสัดส่วนตลาดโลก องค์การพลังงานระหว่างประเทศรายงานว่า “ประเทศจีนตั้งเป้าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในสัดส่วนที่มากที่สุดในโลก โดยเพิ่มการใช้เอทานอลในการผสมเชื้อเพลิงขึ้นอีก 10% ในทุกมณฑลและเพิ่มการลงทุนในการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตเอทานอลให้มากยิ่งขึ้นภายในปี 2567″

โดยสัดส่วนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ บราซิลคืออันดับสองของโลกที่ระดับการผลิตราวๆ 8 ล้านล้านลิตร ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาที่ระดับการผลิตราว 6 ล้านล้านลิตร โดยทั้งบราซิลและสหรัฐอเมริกายังคงถือครองสัดส่วนการผลิตมากถึง 2 ใน 3 ของโลกจนถึงปี 2567

ในขณะเดียวกัน ภูมิภาคเอเชียยังคงถือครองสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราการผลิตที่คาดการณ์ทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อหวังจะสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ส่งเสริมสินค้าเกษตร และพัฒนาคุณภาพอากาศ

รัฐบาลจีนยังกล่าวอีกว่าจะสร้างฐานการผลิตเอทานอลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพิ่มเพื่อทำให้ราคาเอทานอลต่ำลง คาดการณ์ว่าจะมีการใช้เชื้อเพลิงทดแทนในภาคการขนส่งเพิ่มขึ้นราว 10% ภายในปี 2567 ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในประเทศจีน.