นวัตกรรมยางแบบใหม่ผลิตจากอ้อย ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ต่ำกว่า
วิศวกรเคมีของบริษัทอาร์แลนซิโอ (Arlanxeo) หนึ่งในผู้ผลิตยางสังเคราะห์รายใหญ่ที่สุดของโลกในเมืองเกลีน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการผลิตยางจากอ้อยมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำกว่ายางที่ใช้ปิโตรเลียมมาก โดยเปิดเผยว่าค่าฟุตปรินท์มีค่าเท่ากับร้อยละ 85 ซึ่งต่ำกว่ายางสังเคราะห์ทั่วไปที่มีคุณสมบัติเทียบเคียงกันโดยที่ค่าร้อยละของฟุตปรินท์หาได้จากการตรวจสอบกระบวนการผลิตทั้งหมดตั้งแต่การปลูกอ้อยลงในพื้นดินไปจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่เรียกว่า Keltan Eco
เฮอร์แมน ดิคแลนด์ วิศวกรเคมีและหัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมของบริษัทอาร์แลนซิโอ กล่าวว่า “ยางชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้ในทางชีวภาพ ลองจินตนาการดูว่าหากยางรถยนต์สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มันก็จะสามารถย่อยสลายได้ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง ในขณะที่ยางทั่วไปต้องใช้เวลาในการย่อยสลายเป็นเวลานาน เมื่อเราพูดถึงยางที่ยั่งยืนเท่ากับว่าเรากำลังพูดถึงยางสังเคราะห์ ยกตัวอย่างเช่น EPDM (ยางเอทิลีนโพรพิลีนไดอีนโมโนเมอร์) ซึ่งมีวัตถุดิบหลักคือเอทิลีนที่ไม่ได้สกัดมาจากแนฟทา (ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากน้ำมันดิบ) แต่สกัดมาจากไบโอเอทานอลมากกว่า”
ไบโอเอทานอลนี้ผลิตจากอ้อยที่ปลูกในพื้นที่อันกว้างใหญ่ในบราซิล ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดในโลก เอทิลีนผลิตจากไบโอเอทานอล เมื่อทำการเก็บเกี่ยวอ้อยเพื่อทำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว หน่ออ้อยจะงอกขึ้นใหม่อีกครั้ง “ซึ่งถือเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สามารถงอกใหม่ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน ในขณะที่เชื้อเพลิงฟอสซิลใช้เวลาหลายล้านปีในการพัฒนา” เขากล่าว
เขากล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถรีไซเคิลยางที่ใช้แล้วในราคาที่สามารถแข่งขันกันได้ ไม่สามารถหลอมหรือละลายยางได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยมที่สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ แต่คุณสมบัติเหล่านี้ก็ทำให้ยากต่อการนำกลับมารีไซเคิลเป็นวัตถุดิบตั้งต้นได้ ซึ่งสิ่งนี้ยังมีราคาที่สูงเกินไป แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต “คุณจะเห็นได้ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมว่าผู้แปรรูปยางต้องการให้เป็นเช่นนั้น หากแต่เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งที่ลูกค้าเริ่มแสวงหาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ อุตสาหกรรมจะเริ่มคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการผลิตผลิตภัณฑ์เหล่านี้”
ตรงกันข้ามกับโพลีเมอร์ ยังไม่มีการวิจัยในการทำให้ยางสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้มากนัก นีลส์แวนเดอร์อาร์ (Niels van der Aar) วิศวกรเคมีและผู้จัดการโครงการด้านความยั่งยืนของบริษัทอาร์แลนซิโอ ระบุว่า องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์บริสุทธิ์กว่าผลิตภัณฑ์ยาง เมื่อผลิตพลาสติกมักใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันมากกว่าร้อยละ 99 ในขณะที่ยางมักมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งนั่นทำให้การรีไซเคิลทำได้ยากขึ้น
ดังนั้นจึงยังคงเป็นเรื่องยากที่จะทำการรีไซเคิลยางและนำเสนอเป็นผลิตภัณฑ์ในราคาที่น่าสนใจ แต่ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ตามที่ เขา ระบุว่า “ในเนเธอร์แลนด์มียางรถยนต์เพียงไม่กี่ล้านเส้นเท่านั้น ที่ถูกบดเพื่อรีไซเคิลในแต่ละปี ยกตัวอย่างเช่น ใช้ธัญพืชทำเป็นพื้นสนามเด็กเล่น นอกจากนี้ยังสามารถผสมกับยางมะตอยที่ใช้ทำถนนได้อีกด้วย และยังใช้ในการสกัดสีย้อมของหมึกดำได้ด้วย”
ไม่ว่าโลกเราจะยั่งยืนมากเพียงใด แต่คิดแลนด์ และแวนเดอร์อาร์ ต่างก็คาดว่า จะยังคงมีความต้องการยางพาราอยู่ เนื่องจากช่วยให้เราประหยัดมากขึ้น ยางพาราเป็นวัตถุดิบที่มักมองไม่ค่อยเห็น แต่จำเป็นในการผลิตแบตเตอรี่ในการแยกเซลล์แบบชาร์จไฟได้ “รอบๆ หน้าต่างรถ ในเครื่องยนต์ ในหัวฝักบัวเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำรั่ว”
เขายังคาดว่า จะมียางพาราแบบยั่งยืนเพิ่มมากขึ้นในตลาดในช่วงสิบถึงสิบห้าปี เพราะหลังจากนั้นอาจมีความต้องการใช้มากขึ้น ซึ่งหมายความว่าจะมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม ณ จุดๆ หนึ่ง เราสามารถรับรู้ถึงประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากมายมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว กล่าวคือโดยการทำให้ยาง EPDM ทั้งหมดนอกเหนือไปจากเอทิลีนที่ใช้ไบโอเอทานอล สิ่งนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้จริงหากมีการเรียกเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในการผลิต โดยสิ่งนี้สามารถทำได้เท่าที่ยังมีความสามารถทำได้”