ครั้งแรกในโลก น้ำตาลแคลอรี่ต่ำสกัดจากแบคทีเรีย
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟส์ (Tufts University) ในสหรัฐอเมริกา ค้นพบวิธีการผลิตน้ำตาลแคลอรี่ต่ำจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งให้พลังงานเพียง 38% จากน้ำตาลปกติ ซึ่งปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และไม่เพิ่มความอยากน้ำตาล น้ำตาลชนิดนี้เรียกว่า ‘ตากาโตส’ ซึ่งได้จากผลไม้และผลิตภัณฑ์จากนม แต่ยากที่จะสกัดจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น
น้ำตาลตากาโตสได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาโลก (FDA) ให้เป็นสารปรุงแต่งอาหาร และไม่มีรายงานผลกระทบต่อร่างกายอย่างสารให้ความหวานทั่วไป เช่น รสชาติที่แปลก และที่แย่กว่านั้นคือเชื่อว่าทำให้เกิดมะเร็ง
แต่ความยากคือ การผลิตน้ำตาลชนิดนี้ แม้จะพบได้ในผลไม้และผลิตภัณฑ์จากนม แต่มีในปริมาณมาก และไม่สามารถสกัดได้โดยตรง จนกระทั่งนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทัฟส์ ค้นพบวิธีการผลิตน้ำตาลชนิดนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิกกี้ แนร์ และนักศึกษาปริญญาเอก โจเซฟ บอบเบอร์ จากมหาวิทยาลัยทัฟส์ ค้นพบวิธีการผลิตน้ำตาลนี้โดยใช้แบคทีเรียเป็นตัวทำปฏิกิริยา ซึ่งพบว่าสามารถผลิตได้ถึง 85% และเป็นสัดส่วนที่มากพอจะผลิตแทกกาโตสให้มีจำหน่ายในทุกซุปเปอร์มาร์เกต
นักวิจัยได้พยายามศึกษาวิธีการผลิตน้ำตาลชนิดนี้ โดยใช้แบคทีเรียแลกโตบาซิลลัสซึ่งเป็นแบคทีเรียในอาหารที่ปลอดภัยเพื่อสร้างเอนไซม์ LAI ให้ได้ในปริมาณมากในผนังเซลล์ของแบคทีเรีย หลังจากนั้นเอนไซม์ดังกล่าวจะเปลี่ยนน้ำตาลกาแลคโตสเป็นน้ำตาลตากาโตสโดยปริมาณน้ำตาลที่ได้อยู่ที่ 47% ณ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
โดยเอนไซม์ LAI จะให้ผลผลิตน้ำตาลตากาโตสในปริมาณที่เพิ่มขึ้นถึง 83% ได้ ณ อุณหภูมิที่สูงขึ้นที่ระดับ 50 องศาเซลเซียส และจะได้ปริมาณน้ำตาลภายในระยะเวลาที่เร็วขึ้นด้วย
และเพื่อศึกษาว่าจะทำอย่างไรให้สามารถผลิตน้ำตาลให้ได้เร็วขึ้น แนร์และบอบเบอร์ค้นพบข้อจำกัดคือการเปลี่ยนน้ำตาลตากาโตสบริเวณผนังเซลล์ของแบคทีเรีย ดังนั้นการเร่งอุณหภูมิไปที่ 50 องศาเซลเซียส ทำให้ได้ปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 85% และประหยัดเวลาได้หลายเท่าตัว
ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในนิตยสารเนเจอร์ แนร์และบอบเบอร์ยังระบุอีกว่ายังมีอีกหลายเอนไซม์ที่ได้จากแบคทีเรียและสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตจากการเร่งอุณหภูมิ นอกเหนือจากนี้ เขายังมองหาวิธีการเปลี่ยนสารประกอบในอาหารเป็นพลาสติกด้วย ซึ่งมีข้อมูลศึกษาไว้มากมายเลยทีเดียว.