ลุยเซียนาเอื้อสตาร์ทอัพด้านพลังงาน เปลี่ยนของเสียจากอุตสาหกรรมเป็นพลังงานชีวภาพ
บริษัทแห่งหนึ่งในรัฐลุยเซียนาที่มีความสามารถเปลี่ยนของเสียจากอ้อยให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ และกำลังพิจารณาที่จะสร้างโรงงานพลังงานหมุนเวียนมูลค่ากว่า 70 ล้านดอลลาร์ที่เมืองไอบีเรีย (Iberia Parish), และทางรัฐลุยเซียนา มีข้อเสนอให้ลดหย่อนภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่อจะได้ยอมรับในข้อตกลงนี้
จอห์น เบล เอ็ดเวิร์ดส์ (John Bel Edwards) ผู้ว่าการรัฐลุยเซียนา ที่ประกาศว่าฝ่ายบริหารของเขาได้ยอมรับในข้อตกลงเบื้องต้นกับบริษัท Delta Biofuels แล้ว โดยเสนอแพ็คเกจที่จูงใจให้กับบริษัท Delta Biofuels ซึ่งรวมถึงเงินช่วยเหลือตามประสิทธิภาพจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา การลดหย่อนภาษีทางอุตสาหกรรม และบริการพัฒนาจำนวนแรงงานผ่านโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐหลุยเซียน่า (Louisiana Economic Development) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน บริษัท Delta Biofuels จะสร้างโรงงานขนาด 16 เอเคอร์ ที่เมืองจีนเนอเรตต์ (Jeanerette) และ ตามข่าวประชาสัมพันธ์ของผู้ว่าการรัฐลุยเซียนา โครงการนี้จะทำให้เกิดการสร้างงานใหม่โดยตรง 126 ตำแหน่ง โดยมีเงินเดือนเฉลี่ยกว่า 62,500 เหรียญสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ โครงการนี้จะทำให้เกิดการสร้างตำแหน่งงานใหม่ทางอ้อมประมาณ 149 งาน
ซึ่งโรงงานแห่งนี้จะเปลี่ยนชานอ้อย ที่เป็นวัสดุเส้นใยที่เป็นนุ่ม ละเอียด และเปียก ซึ่งชานอ้อยนั้นเป็นวัสดุที่เหลือจากการบดต้นอ้อยหรือต้นข้าวฟ่างให้เป็นเม็ดเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับการผลิตไฟฟ้า ชานอ้อยแบบแห้งสามารถเผาในโรงไฟฟ้าเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาดกว่าโดยแปลงเป็นน้ำมันดีเซล ถ่านหิน และเชื้อเพลิงในรูปแบบเม็ดไม้ โดยที่มีการใช้ชีวมวลในรูปแบบเม็ดไม้มากกว่า 25 ล้านเมตริกตันต่อปี โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชีย โดยชีวมวลในรูปแบบเม็ดไม้จะถูกใช้เป็นวัตถุดิบแทนที่ถ่านหิน ในข่าวประชาสัมพันธ์ได้ระบุไว้ว่า “เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้เชื้อเพลิงชานอ้อยในรูปแบบเม็ดส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์”
ตามแผนของบริษัท Delta Biofuels โรงงานที่ตั้งในเมืองจีนเนอเรตต์ (Jeanerette) จะผลิตเชื้อเพลิงชานอ้อยในรูปแบบเม็ดได้มากถึง 300,000 เมตริกตันต่อปี โดยการใช้ชานอ้อยส่วนเกินทั้งหมดจากโรงน้ำตาลทั้ง 4 แห่งที่อยู่ใกล้เคียงในเมืองไอบีเรีย (Iberia) เซนต์แมรี (St. Mary) และเซนต์มาร์ติน (St. Martin) เพื่อให้ทางเลือกในการใช้ของเสียที่ไม่จำเป็นของโรงงานผลิตน้ำตาล
ผลพลอยได้จากชานอ้อยส่วนใหญ่ถูกใช้โดยโรงงานอ้อยโดยตรง ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อเผาในหม้อไอน้ำ แต่ส่วนที่เหลือมักจะถูกรวบรวมเป็นกองขนาดใหญ่ที่สลายตัวและปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่บรรยากาศ
ฟิลลิป คีทติ้ง (Philip Keating) ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท Delta Biofuels ให้สัมภาษณ์กับข่าวประชาสัมพันธ์ว่า “โรงงานผลิตชานอ้อยในรูปแบบเม็ดของเราจะช่วยแก้ปัญหาระยะยาวให้กับโรงงานน้ำตาลโดยใช้ชานอ้อยส่วนเกินที่ผลิตได้ในแต่ละฤดูกาลผลิต สิ่งนี้จะไม่เพียงแต่ลดต้นทุนและปัญหาที่เกิดจากโรงสีเท่านั้น แต่จะกำจัดการปล่อยก๊าซมีเทนจากชานอ้อยที่ถูกทิ้งซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถมองเห็นได้ในกองขนาดใหญ่ทั่วรัฐลุยเซียนา”
ทั้งนี้ ฟิลลิป คีทติ้ง ยังเป็นคนช่วยก่อตั้งบริษัท Delta Biofuels ในปี 2019 ในฐานะบริษัทสตาร์ทอัพ บริษัท Tasso Renewable Energy ก่อนหน้านี้ และเขายังได้ทำงานให้กับบริษัท American BioCarbon ซึ่งเป็นโรงงานเชื้อเพลิงชีวภาพชานอ้อยในเมืองไวท์คาสเซิล (White Castle) และเมื่อปีที่แล้วเขาได้ลาออกและในเวลาต่อมาได้ก่อตั้งบริษัท Delta Biofuels ทำให้อดีตนายจ้างของฟิลลิป คีทติ้ง ยื่นฟ้องคดีแนวปฏิบัติทางการค้ากับฟิลลิป คีทติ้ง ในศาลแขวงกลางของรัฐลุยเซียนา แต่คดีนี้ถูกยกฟ้อง
การเริ่มก่อสร้างสำหรับโรงงานแห่งใหม่จะเริ่มในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2564 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จใน 1 ปี การจ้างงานจะเริ่มในฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2565 บริษัทได้มีข้อตกลงกับโรงงานผลิตพลังงานในยุโรปและเอเชียเป็นเวลาหลายปีสำหรับการซื้อเชื้อเพลิงในรูปแบบเม็ดจากบริษัท Delta Biofuels
ด้านผู้ว่าการรัฐลุยเซียนา จอห์น เบล เอ็ดเวิร์ดส์ ได้กล่าวว่า “พลังงานหมุนเวียนที่นำกลับมาใช้ใหม่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุเป้าหมายในการปกป้องสิ่งแวดล้อม, และรัฐลุยเซียนาตั้งใจรอที่จะต้อนรับการลงทุนด้านเชื้อเพลิงหมุนเวียนล่าสุดจากบริษัท Delta Biofuel การทำงานควบคู่กับโรงงานผลิตน้ำตาล บริษัท Delta Biofuels วางแผนที่จะเปลี่ยนชานอ้อยที่ทิ้งไปก่อนหน้านี้ให้เป็นแหล่งพลังงาน การเติบโตอย่างต่อเนื่องในส่วนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงหมุนเวียนและพลังงานหมุนเวียนคือการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากโครงการของบริษัท Delta Biofuels จะส่งผลให้เกิดการสร้างงานใหม่จำนวน 275 ตำแหน่งในแถบอะคาเดียร์นา (Acadiana) ของรัฐลุยเซียนา ในนามของประชาชนรัฐลุยเซียนา พวกเราชาวรัฐลุยเซียนาตั้งตารอโครงการใหม่อันน่าอัศจรรย์นี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในรัฐของเรา” ทั้งนี้ เขาได้กล่าวเสริมว่า “บริษัทพลังงานสะอาดจะมีอนาคตที่สดใสในรัฐลุยเซียนาและเหมาะสมกับเป้าหมายที่กำหนดโดยคณะทำงานเฉพาะกิจด้านสภาพภูมิอากาศของรัฐลุยเซียนา” แต่ในขณะเดียวกัน, จอห์น เบล เอ็ดเวิร์ดส์ ไม่ได้แสดงสัญญาณใดๆ ว่าต้องการเปลี่ยนแปลงบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล และยังยินดีกับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น บริษัท Formosa Plastics ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น 800 ตันไปยังบริเวณ Cancer Alley ของรัฐลุยเซียนา