อินเดียจัดตั้ง Global Biofuel Alliance ตั้งเป้าเพิ่มเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก
การตกลงร่วมกันทางการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพได้รับความสนใจอย่างมาก นับตั้งแต่มีการเปิดตัว Global Biofuels Alliance (GBA) อย่างเป็นทางการในระหว่างการประชุมสุดยอด G20 ที่กรุงเดลีเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา กลุ่มพันธมิตรต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก ในการปรับปรุงเทคโนโลยี และทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก โดยมีองค์กรระหว่างประเทศ 12 องค์กรและ 19 ประเทศได้ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นพันธมิตร
ตามคำนิยาม เชื้อเพลิงชีวภาพคือวัสดุที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซที่ทำจากชีวมวลผ่านกระบวนการทางเคมี สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยเหลือประเทศที่นำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลที่กำลังค้นหาแหล่งพลังงานแบบยั่งยืน โดยพึ่งพาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีให้เข้าถึงระบบเชิงการค้าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ ถ้าการเลือกเทคโนโลยีและขั้นตอนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพไม่มีความเหมาะสม อาจเป็นการเพิ่มความท้าทายต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงแทนที่จะเป็นการแก้ไข
ตัวอย่างเช่น การปลูกพืชพลังงานแทนพืชอาหารอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ดินโดยทางอ้อม ซึ่งไม่เพียงเพิ่มความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหาร แต่ยังเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนอีกด้วย โดยพืชเหล่านี้ต้องการปริมาณน้ำมากขึ้น แล้วมีความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นี่คือเหตุผลที่การมีส่วนร่วมของ GBA ที่กลายเป็นเรื่องสำคัญซึ่งจำเป็นต้องสร้างสมดุลที่ถูกต้อง และสร้างนโยบายที่รับประกันว่าการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลกจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการให้ความสำคัญกับวัตถุดิบตั้งต้นที่เหมาะสมมากกว่าสิ่งอื่น เช่น มูลสัตว์และกระบวนการควบคุมการปล่อยก๊าซมีเทนและการรั่วไหล เป็นต้น
ทําไมต้องเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ?
หากผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพด้วยวัตถุดิบที่ถูกต้องก็สามารถลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ โดยเฉพาะประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดียที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงาน อินเดียนำเข้าน้ำมัน 85% และความต้องการก๊าซธรรมชาติ 50% การแทนที่บางส่วนด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าได้ อินเดียได้เพิ่มเป้าหมายการผสมเอทานอลจาก 10% เป็น 20% ภายในปี 2568 แทนที่จะเป็นปี 2573 ด้วยการเคลื่อนไหวครั้งนี้คาดว่าจะประหยัดเงินได้ 100,000 รูปี ซึ่งมีการนำเข้าน้ำมัน 450,000 ล้านตันและมีน้ำมัน 63 ล้านตันต่อปี อย่างไรก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแน่ใจว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยทางอ้อม ซึ่งจะส่งกระทบต่อพืชอาหารในการส่งเสริมการผลิตเอทานอล
เชื้อเพลิงชีวภาพหลายชนิดสามารถผลิตได้จากของเสียและใช้แทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ตัวอย่างเช่น ก๊าซชีวภาพสามารถผลิตได้จากโคลน มูลสัตว์ ซากพืช และของเสียจากชุมชนที่มีปริมาณมีเทน 45-75% โดยปริมาตร ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปรุงอาหาร การทำความร้อน และการผลิตไฟฟ้าได้ สามารถอัพเกรดได้โดยใช้เทคนิคบางอย่างเพื่อสร้างปริมาณมีเทนมากกว่า 90% ซึ่งเทียบเท่ากับค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติ และสามารถฉีดเข้าไปในระบบโครงข่ายก๊าซหรือเครือข่ายการจำหน่ายในเมืองเพื่อใช้สำหรับรถยนต์ชนิดติดแก๊ส ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือถังแก๊สสำหรับทำอาหาร
ก๊าซชีวภาพยังสามารถนำมาใช้เป็นวิธีแก้ปัญหาการเกิดตอซังและการเผาไหม้ในภายหลัง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของมลพิษทางอากาศ ในรัฐปัญจาบและรัฐหรยาณาจะผลิตตอซังเฉลี่ย 25.5 ล้านตันทุกปี สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 116 ล้านลูกบาศก์เมตร (m3) เนื่องจากซากพืช 10 กิโลกรัมสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 2.2 ลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไฟฟ้าหนึ่งกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ต้องใช้ก๊าซชีวภาพ 0.75 ลบ.ม. ในขณะที่ก๊าซชีวภาพ 0.24 ลบ.ม. ก็เพียงพอต่อคนในหนึ่งวันสำหรับการปรุงอาหารแล้ว ซึ่งหมายความว่าตอซังที่เกิดขึ้นในรัฐปัญจาบและรัฐหรยาณามีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าประมาณ 155 กิกะวัตต์ – ชั่วโมง หรือสนองความต้องการในประกอบอาหารในแต่ละวันของผู้คนกว่า 96.5 ล้านครอบครัว โดยเฉลี่ยแต่ละครอบครัวมีจำนวน 5 คน
บทบาทของพันธมิตรเชื้อเพลิงชีวภาพระดับโลก (GBA)
GBA ควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าทางต้นน้ำ (วัตถุดิบกับปัญหาในเรื่องของดิน) กลางน้ำ (เส้นทางการแปลงสารเคมี) และปลายน้ำ (การผสมและการขายปลีก) เพื่อรับประกันว่าเชื้อเพลิงชีวภาพจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้งานแล้ว อีกทั้งยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวงจรชีวิตของเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างละเอียดอีกด้วย
สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุประเด็นสำคัญสำหรับความร่วมมือไว้ 3 ประการในรายงานที่เผยแพร่เมื่อต้นปีนี้ เพื่อสนับสนุนความพยายามของ GBA ได้แก่ การประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง การเร่งปรับใช้เทคโนโลยี และการพัฒนาตลาดให้มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน
การนำเทคโนโลยีระดับสูงไปใช้ประโยชน์ในเชิงการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของภาครัฐและภาคเอกชน เป็นผลมาจากการปฏิบัติตามลำดับความสำคัญต่าง ๆ เนื่องจากพลังงานชีวภาพสมัยใหม่สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้โดยตรง ทำให้ปริมาณพลังงานชีวภาพที่ผลิตได้อาจเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2593 ซึ่งตามรายงานสถานการณ์แผนงานตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ที่อัปเดตในปี 2566 ของ IEA คาดว่า การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเหลวจะเพิ่มขึ้นอาจรองรับให้กับภาคการขนส่ง เช่นเดียวกับการใช้พลังงานชีวภาพสมัยใหม่อื่น ๆ เช่น การทำครัวโดยใช้พลังงานสะอาด รวมถึงภาคส่วนอุตสาหกรรมและไฟฟ้า
วัตถุดิบที่ยั่งยืนคือกุญแจสําคัญ
ข้อเสนอการบริโภคเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงชีวภาพเหลว เช่น เอทานอล ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการใช้ดินและการลดทอนการผลิตอาหารสำหรับการปลูกพืชพลังงาน
เนื่องจากพื้นที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดจึงต้องใช้อย่างชาญฉลาด ในรายงานการผสมเอทานอลของอินเดีย สถาบันเศรษฐศาสตร์พลังงานและการวิเคราะห์ทางการเงิน (IEEFA) ชี้ให้เห็นว่าปริมาณอ้อย 251 เฮกตาร์หรือข้าวโพด 187 เฮกตาร์จะต้องถูกแปลงเป็นเอทานอล เพื่อให้พอดีกับระยะการเดินทางด้วยรถ EV ที่ชาร์จด้วยการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ปริมาณ 1 เฮกตาร์ ด้วยสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนอย่างพืชที่ใช้ปริมาณน้ำมากเช่นอ้อยและข้าวโพดในการผลิตเอทานอลจะต้องมีการเพิ่มระบบชลประทานมากขึ้น ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ดินครั้งใหญ่
ดังนั้นจึงจําเป็นต้องให้ความสําคัญกับการใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืนในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถใช้วัสดุขั้นสูงเป็นวัตถุดิบได้ ทาง GBA ก็เข้ามามีบทบาทสําคัญในการกําหนดแนวทางหลักการและอํานวยความสะดวก ความพร้อมของทักษะ และทรัพยากรเงินทุนสําหรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
จากข้อมูลของ IEA “มีวัตถุดิบตั้งต้นแบบยั่งยืนที่เพียงพอ เช่น ของเสียจากชุมชน ซากพืช ของเสียจากสัตว์ ฯลฯ เพื่อรองรับการเพิ่มการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้ถึง 3 เท่าภายในปี 2573 ในขอบเขตความยั่งยืนที่เคร่งครัด” การขยายการบริโภคเชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้นำเสนอและการเปิดตลาดใหม่คาดว่าจะช่วยเพิ่มความพร้อมของวัตถุดิบตั้งต้นอย่างยั่งยืนได้
หากใช้พื้นที่ดินเพื่อปลูกพืชพลังงานสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มการปล่อยก๊าซมีเทนจากการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามที่ได้นำเสนอ เพราะการใช้ของเสียและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การเปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบลิกโนเซลลูโลส เช่น น้ำมันปรุงอาหารที่เหลือ และการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร (ผลผลิตต่อเอเคอร์) ถือเป็นวิธีลดผลกระทบของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ข้อมูลจากรายงานทางเทคนิคของ IEA เกี่ยวกับพลังงานชีวภาพ
ในแต่ละประเทศจะมีของเสียและวัตถุดิบตั้งต้นที่แตกต่างกัน มีความเป็นไปได้มากขึ้นจากการประเมินลักษณะภูมิประเทศโดยไม่ต้องอ้างถึงพืชอาหาร แม้การสนับสนุนการมีส่วนร่วมและการลงทุนของภาคเอกชนเป็นสิ่งจำเป็น แต่การสร้างตลาดที่ใช้งานได้ดียังคงมีความสำคัญสูงสุดอยู่ดี
GBA ต่อยอดความคิดสร้างคุณค่า
GBA จะต้องต่อยอดงานที่ทำโดยกลุ่มความร่วมมือที่คล้ายกัน เช่น พันธมิตรพลังงานชีวภาพทั่วโลก (GBEP) และการประชุม CEM ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด (Biofuture Platform) ซึ่ง GBEP ได้ก่อตั้งในปี 2549 โดยกลุ่ม G8 + 5 (จีน บราซิล อินเดีย เม็กซิโก และแอฟริกาใต้) 39 พันธมิตร (รัฐบาลแห่งชาติ 23 แห่ง และองค์กร 16 แห่ง) และ 48 ผู้สังเกตการณ์ (รัฐบาลแห่งชาติ 33 แห่ง และองค์กร 15 แห่ง)
GBEP ก่อตั้งขึ้นเพื่อรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสนับสนุนการใช้ชีวมวลและพลังงานชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สำนักเลขาธิการตั้งอยู่ในกรุงโรม เพื่ออำนวยความสะดวกในการตัดสินใจโดยมีข้อมูลครบถ้วน อีกทั้ง GBA สามารถใช้ตัวบ่งชี้ความยั่งยืนตามหลักวิทยาศาสตร์ได้ถึง 24 ชุดสำหรับพลังงานชีวภาพที่พัฒนาโดย GBEP ความร่วมมือดังกล่าวมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพและข้อดีของพลังงานชีวภาพ รวมถึงการจัดทัศนศึกษาให้เยี่ยมชมกัน ส่วน Biofuture Platform เดิมก่อตั้งขึ้นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในปี 2559 โดยเป็นความร่วมมือจาก 23 ประเทศ และจัดตั้งอย่างเป็นทางการในการประชุม IEA ปี 2563 เป้าหมายของแพลตฟอร์มนำโดยกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาและดำเนินการโดย IEA คือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพแบบคาร์บอนต่ำ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพผ่านนวัตกรรมที่ส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด และเปิดกว้างทางด้านแหล่งที่มาของเงินทุนที่ก้าวล้ำ
แท้จริงแล้ว GBA มีมุมมองแบบองค์รวมเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพ ในลักษณะที่มีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มากกว่าการเพิ่มปัญหานั่นเอง
ผู้เขียนเป็นนักวิเคราะห์พลังงานที่สถาบันเศรษฐศาสตร์พลังงานและการวิเคราะห์ทางการเงิน (IEEFA)