เคสไอเอสร่วมเชิดชูเกษตรกรไร่อ้อยหญิงชาวไทย
เคสไอเอชร่วมพูดคุยกับเกษตรกรไร่อ้อยหญิงรุ่นบุกเบิกชาวไทยเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองวันสตรีชนบทสากล
คุณอาภรณ์ เจียกวัฒนา เป็นรุ่นที่สองในฐานะผู้จัดการไร่อ้อยในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเกษตรกรไร่อ้อยหญิงที่เติบโตในสายอาชีพนี้ เริ่มจากเธอเติบโตท่ามกลางธุรกิจไร่อ้อยเล็ก ๆ ของครอบครัว ทุกวันนี้เธอขยายขนาดธุรกิจเป็น 400 ไร่ ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวไร่สำคัญที่มีปริมาณผลผลิตจำนวนมากป้อนโรงงานน้ำตาลในท้องถิ่น เธอร่วมงานกับชาวไร่อ้อยในท้องถิ่น 20 ราย ซึ่งได้ผลผลิตอ้อยรวมมากกว่า 6,000 ตัน ส่งโรงงานน้ำตาล ในแต่ละฤดูกาลเก็บเกี่ยว มากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจของเธอพึ่งพิงกลุ่มชาวไร่อ้อยกลุ่มเดิมจำนวน 20 รายดังกล่าวเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านพ้นไป การคัดเลือกและว่าจ้างคนงานก็ลำบากขึ้น ในขณะที่คนงานกลุ่มเดิมทยอยเกษียณจากการรับจ้างตัดอ้อย ดังนั้น คุณอาภรณ์จึงใคร่ครวญหาวิธีเก็บเกี่ยวผลผลิตของเธอ และคำตอบของเธอคือรถตัดอ้อยเคสไอเอช
คุณอาภรณ์ไม่ได้เป็นเพียงชาวไร่อ้อยเท่านั้น เธอยังเป็นผู้บุกเบิกในฐานะลูกค้าหญิงรายแรกในประเทศไทยของเคสไอเอช รุ่น Austoft A4000 และเครื่องยนต์ยี่ห้อ Fiat ทว่าการตัดสินใจเพื่อการเก็บเกี่ยวเชิงพาณิชย์ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน การตัดสินใจดังกล่าวเกิดจากการปรึกษาร่วมกันกับโรงงานน้ำตาลและผู้แทนจำหน่ายของเคสไอเอชในท้องถิ่นที่เธออาศัยอยู่ พวกเขาโน้มน้าวเธอว่ารถตัดอ้อยเคสไอเอช รุ่น A4000 เป็นทางเลือกที่เหมาะสม เธอจึงได้ข้อสรุปว่ารถตัดอ้อยระบบกลไกอย่างเช่นรุ่น A4000 สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากกว่าการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน นอกจากนี้ เธอยังตระหนักว่าประโยชน์ของรถตัดอ้อยรุ่นนี้ที่โดดเด่นกว่าคู่แข่งคือความประหยัดต้นทุนการดำเนินงานและให้ผลิตภาพการเก็บเกี่ยวที่สูงกว่า การทดสอบผลิตภาพการเก็บเกี่ยว ณ เมืองยูนาน ประเทศจีน ในปี 2562 รถตัดอ้อยเคสไอเอช รุ่น A4000 เก็บเกี่ยวอ้อยได้ 412 ตันในเวลา 10 ชั่วโมง และมีอัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 0.64 ลิตรต่อ 1 ตันของปริมาณอ้อยที่เก็บเกี่ยว ยิ่งไปกว่านั้น รายได้จากการขายผลผลิต 6,000 ตันให้กับโรงงานน้ำตาลทำให้มั่นใจว่ารถตัดอ้อยเคสไอเอช รุ่น A4000 เป็นรถตัดอ้อยที่ราคาจับต้องได้และเหมาะกับการใช้งานในระยะยาว
คุณอาภรณ์กล่าวว่า “รถตัดอ้อยรุ่นนี้เป็นเครื่องจักรที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่ฉันเคยซื้อ และฉันรู้ว่ารถคันนี้จะช่วยขยายธุรกิจของฉันโดยปราศจากความขัดแย้งกับธนาคาร รถคันนี้เหมาะสมกับชาวไร่อ้อยขนาดกลางอย่างฉันเอง”
เมื่อเราถามว่าอะไรนำพาเธอให้รู้จักกับรถตัดอ้อยเคสไอเอช คำตอบสบาย ๆ ของเธอ คือ “ฉันเคยเห็นการทำงานของรถตัดอ้อยเคสไอเอช รุ่น A8010 ครั้งแรกในประเทศไทย และฉันประทับใจกับคุณภาพและสมรรถนะของมัน ฉันจึงรู้ว่าผลิตภัณฑ์ของเคสไอเอชจะไม่ทำให้ฉันผิดหวัง นอกจากนี้ การรับประกันและการบริการหลังการขายที่ผู้แทนจำหน่ายในท้องถิ่นของฉันให้คำมั่นสัญญาช่วยเพิ่มความมั่นใจให้เลือกรถตัดอ้อยเคสไอเอชมากกว่าคู่แข่ง
ในทำนองเดียวกันกับการบริการหลังการขาย คุณอาภรณ์ยังได้รับการสนับสนุนทั้งหลักสูตรอบรมด้านเทคนิคและหลักสูตรผู้ใช้รถตัดอ้อยโดยบริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เคสไอเอชในประเทศไทย
ในฐานะที่เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้หญิงจำนวนไม่มากในประเทศไทยที่เป็นเจ้าของรถตัดอ้อย คุณอาภรณ์กล่าวว่า “ในอดีต การเป็นเกษตรกร สภาพร่างกายของคุณต้องแข็งแกร่งเพื่อเหมาะกับการทำไร่ซึ่งอยู่ในไร่เป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน การเป็นเกษตรกรยุคใหม่เกี่ยวข้องกับความรู้ทางธุรกิจและการบริหารจัดการที่ดี และฉันเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้จะดึงดูดสตรีชนบทให้เข้าสู่ภาคเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น”
จังหวัดกาญจนบุรีเป็นบ้านเกิดของคุณดวงดาว บุญคำ ซึ่งเป็นชาวไร่อ้อยมานานกว่า 30 ปี บนพื้นที่ไร่อ้อยกว่า 700 ไร่ ในแต่ละปี เธอส่งผลิตผลทั้งหมดราว 20,000 ตันให้กับโรงงานน้ำตาลในท้องถิ่น 2 แห่ง นับจากวันที่เริ่มทำไร่อ้อย คุณดวงดาวลงทุนมหาศาลในธุรกิจนี้และเพิ่งจะติดตั้งระบบชลประทานบนไร่อ้อย 200 ไร่ ในทำนองเดียวกัน ล่าสุดเธอเพิ่งซื้อรถตัดอ้อยเคสไอเอช รุ่น A8010
การจ้างพนักงานประจำ 18 คน สะท้อนให้เห็นว่า คุณดวงดาวคุ้นเคยอย่างมากกับการบริหารจัดการรายวันสำหรับองค์กรเกษตรกรรมขนาดใหญ่ แต่การบริหารนี้ก็ยังมีความท้าทายใหม่ ๆ เสมอ “หนึ่งในความท้าทายที่ยากที่สุดสำหรับการบริหารธุรกิจนี้คือ แรงงาน” คุณดวงดาวกล่าวว่า “ที่นี่ เมื่อเราตัดอ้อยด้วยแรงงานคน ฉันใช้แรงงานที่จ้างพิเศษอีกมากกว่า 30 คน ซึ่งต้องบริหารจัดการเพื่อให้ให้ผลผลิตรายวันบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในปัจจุบัน ด้วยรถตัดอ้อยเคสไอเอช รุ่น A8010 ของฉัน ฉันจ้างคนงานเพียง 10 คนเพื่อตัดอ้อย รถตัดอ้อยรุ่น A8010 ของฉันบริหารจัดการง่ายกว่าคนงานและรถรุ่นนี้ให้ผลิตผลที่ดีกว่าด้วย”
การตัดสินใจเพื่อเปลี่ยนมาใช้การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรกลเกิดขึ้นภายหลังจากการปรึกษากับเพื่อนที่ปลูกอ้อยซึ่งศึกษาและค้นคว้าข้อมุลเชิงลึกก่อนตัดสินใจเลือกและซื้อรถตัดอ้อยเคสไอเอช Austoft “จากการพูดคุยกับผู้คนหลากหลาย ฉันเชื่อมันในการตัดสินใจในธุรกิจของพวกเขา และช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าฉันตัดสินใจถูกต้องแล้ว” คุณดวงดาวกล่าว “คล้ายกับเพื่อนของฉัน การตัดสินใจซื้อรถตัดอ้อยรุ่น Austoft A8010 ไม่ทำให้ฉันผิดหวัง” หลังจากซื้อรถตัดอ้อยคันนี้ เคสไอเอชจัดการอบรมแนะนำรวมถึงการใช้งาน A8010 ครั้งแรกในไร่ให้กับคุณดวงดาวและทีมของเธอ คำมั่นนี้ที่ส่งถึงลูกค้าคือดีเอ็นเอของเคสไอเอชที่เป็นผู้ส่งมอบโซลูชั่นสำหรับการเก็บเกี่ยวแก่เกษตรกรมานานกว่า 175 ปี
ในไร่อ้อย รถตัดอ้อยเคสไอเอช รุ่น A8010 ไม่ทำให้คุณดวงดาวผิดหวังเลยแม้แต่น้อย เธอได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับการเก็บเกี่ยวเชิงอนุรักษ์ทดแทนการเผาอ้อย “เราสังเกตเห็นการปรับปรุงอย่างเห็นได้ชัดในด้านผลิตภาพเปรียบเทียบกับการเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยแรงงานคน” คุณดวงดาวอธิบาย “เราไม่เพียงแต่ได้รับอ้อยสะอาดซึ่งใบของมันเป็นแบบออร์กานิคมากกว่า รถตัดอ้อยยังเก็บอ้อยที่ร่วงหล่นได้เป็นอย่างดี และการสูญเสียในไร่น้อยกว่าการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน” ชาวไร่สังเกตเห็นผลได้ชัดเจนบนพื้นที่ 32 เฮ็คเตอร์ที่ปลูกเป็นกรณีพิเศษเพื่อการเก็บเกี่ยว “ไร่อ้อยแปลงใหม่ล่าสุดของเราอยู่บนพื้นที่ที่ใหญ่พอที่จะกลับรถรุ่น A8010 ที่หัวไร่ได้ และเราพบว่าผลิตภาพก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน และระยะเวลาที่เราใช้ในการเตรียมแปลงก็คุ้มค่ามากเมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว” คุณดวงดาวกล่าว
เมื่อเรามองย้อนกลับไป 30 ปีก่อนของการจัดการไร่อ้อย คุณดวงดาวเชี่ยวชาญในการชี้ประเด็นให้เห็นว่าเธอเป็นคนกลุ่มแรก ๆ ที่นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้อย่างไร “เมื่อฉันเริ่มธุรกิจ เราเก็บเกี่ยวอ้อยและโหลดอ้อยขึ้นรถบรรทุกด้วยแรงงานคน ต่อมาเราซื้อเครื่องสำหรับโหลดอ้อยซึ่งช่วยให้การเก็บเกี่ยวรวดเร็วขึ้น และตอนนี้เราซื้อรถตัดอ้อยซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ฉันภูมิใจที่จะพูดว่า ฉันไม่เคยต้องการตามกระแสของคนส่วนใหญ่และฉันมีความสุขที่โดดเด่นและแสดงให้เห็นว่าฉันทำอะไรได้บ้าง”
ในขณะที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูกาล 2563/2564 คุณดวงดาวยังคงมีแผนสำคัญสำหรับไร่ของเธอ “ฉันต้องการลงทุนในถังเก็บและรถแทรกเตอร์ เพื่อให้ฉันสามารถลดการใช้รถบรรทุกในไร่ ลดการอัดตัวของดิน และเพิ่มรอบการทำงาน อีกแผนหนึ่งของฉันคือการค่อย ๆ ปรับไร่ให้เหมาะสมกับรถตัดอ้อยเพื่อเพิ่มผลิตภาพให้สูงสุดจากเครื่องมือสุดคุ้มค่า”