International

จีน-ปากีสถาน ร่วมมือ ‘พัฒนาความหวาน’ หวังผลิตน้ำตาลคุณภาพสูง

กรรมาธิการการเกษตรของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศปากีสถาน กล่าวว่า จีนและปากีสถานควรที่จะร่วมมือกันส่งเสริมการผลิตและการแปรรูปอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลที่มีคุณภาพสูง เมื่อเกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลจะได้รับการส่งออกไปทั่วโลก นอกจากนั้น สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศปากีสถานจะยังคงเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ 

ด้านดร. กู่ เหว็นเหลียง กรรมาธิการการเกษตรของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศปากีสถาน ได้กล่าวว่า ปากีสถานและจีนจะสามารถผลิตน้ำตาลที่มีคุณภาพสูงได้มากและสามารถส่งออกไปทั่วโลกได้ ซึ่งความร่วมมือด้านอ้อยระหว่างจีนและปากีสถานจะส่งผลให้เกิดการปฏิรูปความหวาน และเปลี่ยนมิตรภาพระหว่างสองประเทศให้ “หวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง” อย่างแท้จริง ดร. กู่ ได้แถลงเรื่องดังกล่าวที่ ‘การประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือและแลกเปลี่ยนอุตสาหกรรมอ้อยระหว่างจีนและปากีสถาน’ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งจีนและปากีสถานเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

หลิว กุ่ย ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศจากสถาบันวิทยาศาสตร์เกษตรเขตร้อนของจีนหรือ CATAS ได้ร่วมงานในครั้งนี้และแนะนำการดำเนินงานขององค์กรในหลายๆ มิติ รวมทั้งนำเสนอการประยุกต์ใช้ ‘การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ’ เพื่อการประกอบอุตสาหกรรมที่น่าประทับใจ ซึ่งสามารถนำมาปฏิรูปการผลิตอ้อยได้ เขากล่าวเสริมว่า CATAS ได้จัดการฝึกอบรมให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก พร้อมทั้งแนะนำหลักสูตรฝึกอบรม 100 หลักสูตรให้ผู้เข้าร่วม 4,000 คนจากกว่า 90 ประเทศ และรวมไปถึงนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์กว่า 40 คน จากเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา เพื่อเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในระยะกลางและระยะยาว นอกจากนี้ สถาบันยังส่งผู้เชี่ยวชาญไปประเทศอื่นๆ อีกกว่า 20 ประเทศ เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตรและการสาธิตเพื่อขยายขอบเขตความรู้ทั้งนี้

ทางด้านดร. จาง ชูเจี้ยน นักวิจัยจากศูนย์ชีววิทยาศาสตร์และชีวเทคโนโลยีเขตร้อนของสถาบัน CATAS ได้ปฏิเสธการใช้เมล็ดพันธุ์พืชแบบดั้งเดิมเพราะไม่เหมาะที่จะใช้เพาะปลูกได้อีกต่อไป เนื่องจากการเพาะพันธุ์และการปลูกกล้าไม้ปลอดโรคเหมาะสำหรับการผลิตอ้อยมากกว่า รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการย่อยสลายและการทำให้บริสุทธิ์ได้อีกด้วย ในส่วนของผู้จัดการบริษัทวิศวกรรมเครื่องจักรแห่งประเทศจีนและหัวหน้าศูนย์แลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านเกษตรกรรมระหว่างจีนและปากีสถาน นายไต้ เปา ได้กล่าวในระหว่างการนำเสนองานในการประชุมนี้ว่า เมื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับปากีสถานคืบหน้ามากขึ้น จะมีการนำเสนอเทคโนโลยีการเกษตรล่าสุดมาใช้ในปากีสถาน เนื่องจากจีนจะช่วยเหลือปากีสถานในการสร้างความทันสมัยให้การเกษตร นายไต้ยังเสริมต่อว่ากรอบระเบียงเศรษฐกิจจีนและพม่ามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตลาดในปากีสถานและมีการพัฒนาการในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานตั้งแต่จีนมาเยือนปากีสถานในทศวรรษที่ 80 นายไต้ยังย้ำอีกว่า ปากีสถานเป็นประเทศเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม แต่ยังมีอะไรอีกมากที่ต้องปรับปรุงภาคเกษตรกรรมให้ทันสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับระดับนานาชาติ โดยจีนจะช่วยให้ปากีสถานบรรลุถึงเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งข้อมูลที่มุ่งหวังจะสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรและสถาบันการวิจัยของทั้งสองประเทศและส่งเสริมการพัฒนาด้านการเกษตรของปากีสถานอีกด้วย

ด้านดร. ชาฮิด อาฟกัน รักษาการประธานผู้บริหารของธนาคาร SRDB กล่าวในการประชุมว่า ปากีสถานยังห่างไกลจากการเข้าถึงพันธุ์อ้อยชั้นนำที่มีความต้านทานโรคสูง ดังนั้น ต้องมีการริเริ่มโครงการปรับปรุงพันธุ์อ้อยในประเทศด้วยความช่วยเหลือจากจีน เพราะนั่นคือความต้องการแบบเร่งด่วน นายมานซูร์ ซุมโร จากมูลนิธิวิทยาศาสตร์เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งองค์การสหประชาชาติในปากีสถานเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจีนกับปากีสถานจะต้องร่วมมือกันในภาคเกษตรกรรมเพราะเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง นายฟาเตห์ มารี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทานโดจาม ได้กล่าวเสริมว่า ความร่วมมือภาคเกษตรกรรมระหว่างจีนและปากีสถานจะขยายวงกว้างขึ้นเป็นอย่างมาก รวมไปถึงความร่วมมือในอุตสาหกรรมน้ำตาลของสองประเทศ