Covid-19 ส่งผลต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลทั่วโลกอย่างไร
สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลนานาชาติ (ISSCT) ร่วมกับ Bonsucro และองค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ (ISO) จัดสัมมนาออนไลน์ “การระบาดของ Covid-19 กับผลกระทบความยั่งยืนของอุตสาหกรรมน้ำตาลทั่วโลก” กว่าสองชั่วโมงในการจัดสัมมนา ได้มีการพูดคุยถึงประเด็นการระบาดของโรคในสังคม และสถานการณ์ความเป็นอยู่ต่างๆของผู้ผลิตน้ำตาลในภูมิภาคสำคัญของโลก เช่น ทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกา ซึ่งได้มีการเจาะประเด็นเรื่องการส่งเสริมด้านสาธารณสุข การดำเนินธุรกิจ การค้าขายระหว่างประเทศในช่วงการระบาด ตลอดจนภาพรวมผลกระทบต่อเศรษฐศาสตร์มหภาคในระยะสั้นๆ ของประเทศผู้ผลิต
ทวีปอเมริกา
ทวีปอเมริกา เป็นภูมิภาคที่มีการผลิตอ้อยมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศที่มีผลผลิตอ้อยสูงสุดอย่างบราซิล พื้นที่ในส่วนของภูมิภาคละตินอเมริกา มีปริมานอ้อยคิดเป็น 50% ของพื้นที่การผลิต โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยสูงสุดอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นในพื้นที่เหล่านี้ เพราะยังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากไวรัส อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แม็กซิโก และบราซิล แต่ในบางประเทศก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย และคาดว่าจะกลับมาดำเนินธุรกิจตามปกติ แน่นอนว่าการระบาดของ Covid-19 ทำให้ผู้ผลิตน้ำตาลบางรายต้องมีการกักบริเวณ (quarantines) ยาวไปจนฤดูเก็บเกี่ยวอ้อยมาถึง และอาจเกิดการขาดความรู้ความเข้าใจลักษณะของโรค และวิธีป้องกันในบางชุมชนอีกด้วย
ส่วนความจำเป็นในการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ทำให้ต้องมีการเพิ่มต้นทุนการผลิตในส่วนนี้ รวมไปถึงการจัดระเบียบการทำงานแบบใหม่ ในกรณีที่มีการปิดชายแดน หรือการหยุดชะงักของตลาด เนื่องจากมีปัญหาด้านลอจิสติกส์ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนด้านปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะการขาดแคลนของยอดขายไบโอเอทานอล ที่เกิดจากปัญหาประเทศผู้ผลิตที่มีมาตรการล็อคดาวน์ ส่งผลให้ความต้องการเชื้อเพลิงลดลง
ทวีปออสเตรเลีย
เป็นทวีปที่สถาณการณ์การระบาดของ Covid-19 คล้ายคลึงกับทวีปอเมริกา เพราะเป็นสาเหตุให้ผลผลิตน้ำตาลลดลง และขาดแคลนการนำเข้า ทำให้เกิดการลดจำนวนของแรงงานและถูกจำกัดการท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีล็อคดาวน์บางประเทศทางตอนเหนือ ยอดขายอาหารและเครื่องดื่มได้ลดลง ทั้งๆเป็นฤดูร้อน ส่วนอินเดียก็มียอดขายการซื้อเครื่องดื่มลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเช่นกัน
ส่วนประเทศในกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิก ค่อนข้างมีผู้ติดเชื้อ Covid-19 อยู่ในระดับต่ำ และอุตสาหกรรมตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวอ้อย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ได้มีการจำกัดการท่องเที่ยวเพื่อสร้างมาตรการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในหลายๆพื้นที่ เช่น เอเชียใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประเทศผู้ผลิตสำคัญระดับต้นๆ เช่น อินเดีย ไทย จีน และปากีสถาน โดยประเทศเหล่านี้มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยขนาดใหญ่ มีทั้งเกษตรกรที่มีแปลงเพาะปลูกขนาดเล็ก ไปจนถึงแปลงเพาะปลูกขนาดใหญ่ ซึ่งตอนนี้ อ้อยกำลังอยู่ในระยะเจริญเติบโต
ส่วนอินเดีย ยังคงมีผลกระทบของผู้ป่วยหลายพันรายที่ติดเชื้อไวรัสจาก Covid-19 ในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวอ้อย มีการคาดการณ์ว่า จะมีผลผลิตประมาน 31 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ 27 ล้านตันในฤดูกาลก่อน และผลผลิตเอทานอลได้ลดลงไปในช่วงแรกของการระบาด แต่ก็มีข้อมูลตัวเลขเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย ส่วนในประเทศไทย ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเช่นกัน และปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ การขาดแคลนแรงงานต่างชาติที่ย้ายกลับไปประเทศถิ่นฐานตัวเอง
ทวีปแอฟริกา
จากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ในทวีปแอฟริกามีผู้ป่วยติดเชื้อมากกว่า 700,000 ราย และเสียชีวิตไป 15,000 ราย โดยเฉพาะในแอฟริกาใต้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ในจำนวน 27 จาก 54 ประเทศในทวีปแอฟริกา มีการเพาะปลูกอ้อยซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 7% ของการผลิตอ้อยในตลาดโลก
ส่วนการจ้างงานในอุตสาหกรรมอ้อยแอฟริกาใต้ มีประมาน 65,000 ไปจนถึง 270,000 ตำแหน่ง มีการสนับสนุนภาคเกษตรกรรมเพื่อให้มีอาหารเพียงพอในประเทศในช่วงการกักตัว (quarantine) ทำให้ชุมชนที่มีการผลิตอาหารจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าภาคส่วนอื่นๆ ส่วนมาตรการการป้องกัน Covid-19 มีการสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (PPE) เพื่อรักษาสุขอนามัยและสนับสนุนการล้างมือให้มากขึ้น แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีต้นทุนมาจากโรงงานผลิตและวัตถุดิบจากแปลงเกษตร และอาจจะต้องเผชิญกับความท้าทายของแรงงานข้ามชาติที่เสี่ยงติดเชื้อไวรัสอีกด้วย
ผลกระทบด้านสาธารณสุข
บริษัทระดับโลกอย่าง Pantaleon กล่าวว่า หากพิจารณาในแง่ของการปฎิบัติตัวของแต่ละชุมชน หรือรัฐบาลในแต่ละประเทศ ก็จะมีวิธีการหรือมาตรการที่แตกต่างกัน ซึ่งนั่นรวมไปถึงการรักษาสุขภาพจิตของแต่ละบุคคล ทำให้เกิดคำถามต่างๆในองค์กร เพื่อทำความเข้าใจถึงประเด็น และการรับมือต่อโรคระบาด กล่าวได้ว่า เป็นเรื่องสำคัญมากในการติดตามข้อมูลจากเอกสารทางวิทยาศาสตร์ ว่าอะไรคือผลกระทบขนาดใหญ่ของการระบาด ไวรัสแพร่กระจายอย่างไร อะไรเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ดีที่สุด และผู้ติดเชื้อจะได้รับการรักษาอย่างไร แต่ทั้งนี้ ก็ต้องมีการพิจารณาก่อนเชื่อ เพราะข้อมูลมาจากหลายแหล่ง
Pantaleon มีนโยบายสุขภาพสำหรับพนักงานในช่วง Covid-19 อยู่แล้ว ซึ่งไม่ได้จำกัดสิทธิ์ถึงสภาพการทำงานของรายบุคคล ประชากรกลุ่มเสี่ยง การติดตามผู้สัมผัส การเดินทางไปต่างประเทศ หรือการฆ่าเชื้อโรคก่อนเริ่มเข้างาน เนื่องจากองค์กรและชุมชนต่างๆ มีความแตกต่างกัน ทำให้ปัญหาที่เจอต่างก็ไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงต้องมีการวิเคราะห์กันต่อรายบุคคล เช่น การจัดลำดับผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคสูง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสร้างความไว้วางใจให้กับพนักงานและสมาชิกในชุมชนควบคู่ไปด้วย
การรับมือทางธุรกิจเพื่อบริหารอย่างต่อเนื่อง ในช่วงการระบาด
ในช่วงการเริ่มต้นระบาดของโรค ทำให้บริษัทอย่าง ED&F Man ต้องเร่งประชุมตัวแทนทีมจากภาคส่วนต่างๆ ทุกสัปดาห์ เพื่อประสานงานเรื่องทิศทางของ Covid-19 ทำให้บริษัทต้องออกมาตรการห้ามการเดินทาง และทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือติดต่อกับบริษัทผู้ผลิต พนักงานในบริษัท และลูกค้า นอกจากนี้ ในบางประเทศที่ได้อนุญาตให้พนักงานกลับมาทำงานได้ แต่ก็ต้องให้ความร่วมมือผ่านการทำรายการตรวจสอบ (check lists) ว่ามีแนวโน้มติดเชื้อโควิดหรือไม่ และต้องมีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (PPE) รวมถึงมาตรการระยะห่างทางสังคม
การจินตนาการใหม่ (Re-imagination) คือ สิ่งสำคัญมากในการกำหนดวิธีการทำงานใหม่ๆ ของธุรกิจ เพื่อให้พนักงานในบริษัทมีเครื่องมือทำงานที่ดีที่สุด บริษัทอย่าง ED&F Man เองก็คงดำเนินงานไม่ได้หากขาดพนักงาน ทำให้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จึงมองว่าเป็นเรื่องสำคัญ รวมไปถึงการวางแผนและสื่อสารที่ดี เพราะทางรอดของธุรกิจคือความยืดหยุ่นและความยั่งยืน ทำให้มีการจัดประชุมสมาชิก Bonsucro และมีพนักงานเข้าร่วมตลอดในช่วงการระบาด เพราะอันดับแรก ผู้คนมักจะให้ความสำคัญกับความยั่งยืนก่อน
สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ และระบบเศรษฐกิจมหภาค ในช่วงการระบาดของ Covid-19
องค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ (ISO) คาดการณ์ว่า การส่งออกน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในฤดูกาลปี 2019-2020 โดยผู้ส่งออกอันดับหนึ่งยังคงเป็นบราซิล ที่มีการส่งออกน้ำตาลมากที่สุดในรอบสามเดือน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมหรืออาจจะมากกว่านั้น โดยทั่วไปแล้ว ประเทศที่นำเข้าน้ำตาล มักจะมองหาเวลาที่ดีที่สุด คุณภาพของสินค้า เพื่อจัดการในการขนย้ายสินค้าอย่างราบรื่น แต่ประเทศที่ส่งออกน้ำตาล มักจะดูความต้องการสินค้าที่ตรงกันของประเทศนำเข้าเป็นหลัก รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งอีกด้วย แต่ประเทศส่งออกน้ำตาลอย่างบราซิลเอง ก็ยังคงมีปัญหาผู้ป่วยติดเชื้อในประเทศค่อนข้างมาก
ตอนนี้ การลดลงของผลผลิตน้ำตาลในตลาดโลก ได้ดำเนินมาจนถึง 2 ปี แต่ก็ยังไม่เห็นการขยับด้านราคาไปมากกว่านี้ เพราะผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 ทำให้เห็นถึงยอดขายอาหารจำพวกเครื่องดื่ม ขนมหวาน และกาแฟได้ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารในช่วงกักตัวก็สามารถลดความเบื่อหน่ายได้ด้วยการทำอาหารรับประทานเอง ส่วนการจ้างแรงงานในช่วงการเก็บเกี่ยวอ้อย และการจัดการขนส่งอ้อยสู่โรงงาน มีการประเมินว่าอุตสาหกรรมนี้ กำลังเข้าสู่การรับผลกระทบจากภาคแรงงานที่มีอยู่ จึงทำให้มีความกังวลค่อนข้างมากในการจ้างงานขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นประเทศอินเดีย
น้ำตาลทรายขาว จะมีค่าพรีเมียมมากกว่าเมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายดิบและราคาค่าขนส่ง แต่ค่าก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากบราซิลเริ่มกลั่นน้ำตาลดิบ นอกจากนี้ บางประเทศยังมีความกังวลเกี่ยวกับอาหารในประเทศ จนทำให้ต้องมีการขึ้นราคา และเพิ่มการสั่งซื้อนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหา แต่โดยสรุปแล้ว การขาดดุลในด้านต่างๆทั่วโลก อาจจะดีขึ้นตามลำดับ จากปัจจัยการบริโภคทั้งก่อนและหลังการระบาดโรค Covid-19 ทำให้คาดว่าการผลิตในฤดูกาลหน้าอาจจะสูงขึ้น แต่ก็ยังต้องจับตามองเรื่องแรงงานในอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอินเดีย และไทย รวมถึงความพยายามแก้ปัญหาการค้าระหว่างประเทศประกอบไปด้วย