เอทานอล

อินเดีย เร่งผลิตเอทานอล พร้อมเปิดรับน้ำตาลจากบราซิล

อุตสาหกรรมน้ำตาลของประเทศบราซิลยังคงได้รับผลดีจากการตัดสินใจของอินเดียที่มีแผนการขยายตลาดเอทานอล โดยที่อินเดียนำน้ำตาลมาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแทนการส่งออก และส่งผลให้ผู้บริโภคน้ำตาลทั่วโลกต้องการนำเข้าน้ำตาลจากประเทศบราซิล 

นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี (Narendra Modi) ของประเทศอินเดียได้ประกาศเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า เอทานอลจะเป็นศูนย์กลางของแผนพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศอินเดีย ซึ่งจะช่วยลดเงินทุนอุดหนุนการส่งออกน้ำตาลจากรัฐบาลอินเดีย

ทั้งนี้แผนงานเกี่ยวกับเอทานอลของประเทศอินเดียในระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2568 มีเป้าหมายการประสานแผนงานอย่างเป็นทางการที่จะไปสู่การผลิต E20 ภายในปี พ.ศ. 2568 โดยที่จะค่อย ๆ ทยอยเปิดตัวภายในปี พ.ศ. 2566 ในช่วงเดือนมีนาคม ด้านรัฐบาลอินเดียยังอนุญาตให้มีการขายเอทานอลบริสุทธิ์ที่สถานีเติมน้ำมันด้วยเช่นกัน

อานันโด คอเรีย (Arnaldo Correa) ผู้อำนวยการที่ปรึกษา Archer ได้กล่าวว่า “อินเดียต้องการเอทานอลเพิ่มมากขึ้นถึง 10.16 พันล้านลิตร (175,080 บาร์เรลต่อวัน) ต่อปี เพื่อตอบสนองความต้องการ อินเดียจะต้องมีเอทานอลโดยอย่างน้อย 7 พันล้านลิตร และคาดว่าจะมาจากอ้อยส่วนที่เหลือจากธัญพืช และการดำเนินการนี้จะช่วยลดการผลิตรวมถึง การส่งออกน้ำตาลของประเทศอินเดียได้ ซึ่งนั่นเป็นผลดีต่อประเทศบราซิลในระยะกลาง ซึ่งการประกาศของรัฐบาลอินเดียเป็นสัญญาณเชิงบวกอย่างชัดเจนสำหรับประเทศบราซิล เกี่ยวกับตลาดน้ำตาลทั่วโลก” เฟลิเป้ วิชคิอาโต (Felipe Vicchiato) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทเซา มาร์ตินโญ (Sao Martinho) ได้กล่าว กับนักลงทุนว่า “ผลกระทบของการตัดสินใจในครั้งนี้จะไม่ปรากฏให้เห็นในปีหน้า แต่จะปรากฏให้เห็นภายในอีก 24 เดือนข้างหน้า”

อานันโด คอเรีย (Arnaldo Correa) ผู้อำนวยการที่ปรึกษา Archer กล่าวว่า “ความต้องการน้ำตาลทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า” เนื่องจาก การส่งออกน้ำตาลที่ลดลงของประเทศอินเดียรวมทั้งความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น บราซิลจึงต้องเพิ่มผลผลิตอ้อยที่อยู่ช่วง 780 ล้าน – 850 ล้านเมตริกตัน จาก 605 ล้านตัน ในฤดูกาลเก็บเกี่ยว พ.ศ. 2563 – 2564 รวมทั้งมีการสร้างหรือเปิดโรงงานน้ำตาลและเอทานอลแห่งใหม่ ที่มีขนาดใหญ่อีก 15-20 โรง เพียงเพื่อต้องการรักษาส่วนแบ่งของตลาดส่งออกน้ำตาลทั่วโลกในปัจจุบัน

แต่ทว่าราคาน้ำตาลทั่วโลกอาจจะต้องสูงขึ้นก่อนที่โรงงานอ้อยของประเทศบราซิลจะเริ่มลงทุนในการขยายอีกครั้ง จากตามรายงานของหน่วยงานพืชไร่ของรัฐบาลบราซิลได้ให้ข้อมูลาว่า ในส่วนของพื้นที่ปลูกอ้อยของบราซิลมีการหดตัวลง จากที่มีพื้นที่ปลูกถึง 9 ล้านเฮกตาร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2560 แต่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 8.4 ล้านเฮคเตอร์ เท่านั้น