เอทานอล

“เอทานอล” กับบทบาทใหม่ ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ

ประเทศไทยมีพื้นที่เพื่อการเกษตรมากกว่า 60% ของการใช้สอยพื้นที่ทั้งหมด ขณะเดียวกันประเทศไทยมีการผลิตพลาสติกจากวัตถุดิบปิโตรเลียม ประมาณ 5 ล้านตันต่อปี เพื่อใช้ในประเทศ และส่งออก 

ถ้าหากเปลี่ยนวัตถุดิบใช้ทำพลาสติกจากพลังงานฟอสซิลที่ย่อยสลายยากมาเป็น “เอทานอล” ที่ทำจากพืชที่ย่อยสลายง่าย  

ข้อมูลจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า เอทานอลที่มาจากพืชทำจากอ้อย หรือมันสำปะหลัง ฯลฯ ซึ่งเป็นวัตถุดิบชีวภาพ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จำนวนมาก โดยการปลูกพืชเพื่อนำมาผลิตเอทานอล และนำไปใช้ในการผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพเป็น 

กระบวนการผลิตที่มี Carbon Footprint ต่ำ สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 15 ล้านตันต่อปี 

สำหรับการใช้ประโยชน์จาก “เอทานอล” แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามมาตรฐานอุตสาหกรรม  ได้แก่ 1. เอทานอลใช้ทางด้านเภสัชกรรม 2. เอทานอลใช้ทางด้านอุตสาหกรรมใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับผลิตสินค้า เช่น น้ำส้มสายชู ซอสปรุงรส เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง อย่างเช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น 3. เอทานอลใช้ทางด้านเชื้อเพลิง 

กระทรวงการคลัง ได้มีมติ ส่งเสริมการนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากการเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ และการผลิตสุรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG :  เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)  

          สำหรับผู้ผลิตเอทานอลในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี พ.ศ.2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2608 

“กระทรวงการคลังจึงกำหนดแนวทางการส่งเสริม การนำเอทานอลไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดการผลิตเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ รวมถึงลดการใช้ปิโตรเคมีจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตเม็ดพลาสติก”