คาดการณ์อุตสาหกรรมอ้อยเเละน้ำตาลจีน ได้รับการฟื้นฟูในปี 2563/2564
สำนักงานทูตเกษตรภายใต้กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA FAS) ได้เปิดเผยรายงานว่า อุตสาหกรรมน้ำตาลจีนในงบปีการตลาด 2563/2564 คาดว่าจะฟื้นตัวจากปีก่อนจากการสนับสนุนโดยรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้น เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง จะเป็นพื้นที่การผลิตน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเพื่อจุดประสงค์ในการส่งเสริมการผลิตใหม่ที่มีอยู่ในปัจจุบันและอนาคต ในส่วนของการส่งออก คาดการณ์ว่าจะเพิ่มตัวขึ้นเล็กน้อยจากการคาดการณ์ในปีก่อน โดยเล็งส่งออกน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ รวมถึงประเทศเกาหลีเหนือ และมองโกเลีย
มุมมองโดยรวมของการผลิตน้ำตาลทรายของประเทศจีน คาดการณ์อยู่ที่ 9.25 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นมา 450,000 เมตริกตัน ในปีการตลาด 2563/2564 (ตุลาคม – กันยายน) ซึ่งมีการปรับตัวเลขใหม่เล็กน้อยแต่ยังคงต่ำกว่าตัวเลขประมานการณ์ในช่วงภัยแล้งเล็กน้อย ผลคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากผลผลิตที่ดีด้วยสภาพอากาศการเพาะปลูกที่ปกติ และราคาอ้อยมีความเสถียรภาพ ส่วนการเพาะปลูกในช่วงไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสของปีก่อน คาดว่าจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง รวมถึงสภาพภูมิอากาศที่ได้คาดไว้ ราคาอ้อยจึงมีความมั่นคงเพราะการสนับสนุนจากรัฐบาล ทำให้มีการชดเชยผลกระทบด้านอุปทานน้ำตาลที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจาก COVID-19
เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งคิดเป็น 70% ของการผลิตน้ำตาลทรายทั้งหมดของจีน ได้ประกาศใช้แผนปฏิบัติงาน 3 ปี (2563-2565) เพื่อปรับปรุงให้อุตสาหกรรมน้ำตาลในภูมิภาคให้มีความทันสมัยขึ้น แผนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตเป็นค่าเฉลี่ย 5 Metric ton ต่อหนึ่งพื้นที่หน่วยวัด โดยนำเครื่องจักรกลมาใช้สองสามเครื่องในการปลูกอ้อยและการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ ยังมีอัตราผลตอบแทนโดยไม่ใช้เครื่องจักรกลในการเพาะปลูกอยู่ที่ 3-4 เมตริกตัน ต่อพื้นที่ ทำให้การเพิ่มขึ้นของผลผลิตเหล่านี้ที่ จะช่วยกระตุ้นให้ระดับการผลิตน้ำตาลในอนาคตเพิ่มสูงขึ้น
เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น แผนปฎิบัตินี้จะสนับสนุนแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยในหลายระดับโดยเกษตรกรจะได้รับเงินจำนวน 170 หยวน (24 ดอลล่าร์สหรัฐ) และ 270 หยวน (48 ดอลล่าร์สหรัฐ) ต่อพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเป็นต้นทุนในการปลูกพืชและรเก็บเกี่ยวโดยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร นอกจากนี้เงินสนับสนุนอื่นๆจะช่วยส่งเสริมการผลิตรอบใหม่ และมีการให้เงินประกันให้เกษตรกรเป็นรายบุคคลหากเกิดกรณีการเพาะปลูกเสียหายจากสภาพอากาศ หรือหากตลาดน้ำตาลมีปัญหา โรงงานน้ำตาลที่รัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของก็จะได้รับการสนับสนุนเช่นกัน
ส่วนการบริโภคน้ำตาลในปี 2563/2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 15.2 ล้านเมตริกตัน ซึ่งตัวเลขไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนเนื่องจากความไม่แน่นอนของตลาดจากผลกระทบของ COVID-19 ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมบางคน มีการคาดว่าการบริโภคจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมบางราย คาดการณ์ว่าการบริโภคอาจลดลงอยู่ที่ปริมาณ14.4 ล้านเมตริกตันจากผลกระทบ COVID-19 ที่อาจยืดเยื้อ ส่วนการนำเข้าน้ำตาลคาดว่าจะอยู่ที่ 4.2 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาน 100,000 เมตริกตัน ทำให้จีนได้ใช้มาตรการทางภาษีโดยเรียกเก็บภาษี 2 อัตรา (tariff-rate quota: TRQ) กับน้ำตาลที่นำเข้ามาจากบราซิลส่วนใหญ่ รวมไปถึงคิวบาและไทย โดยมีอัตราภาษีในโควต้าเป็นจำนวนร้อยละ 15 สำหรับการนำเข้าน้ำตาลปริมาณ 1.945 ล้านเมตริกตัน ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของการนำเข้าทั้งหมดเล็กน้อย และอีกประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ในการนำเข้าภายในโควต้าตามมาตรการทางภาษี (TRQ) ซึ่งเป็นส่วนนำเข้าน้ำตาลที่จัดสรรให้กับรัฐวิสาหกิจ (State-Owned Enterprises: SOE)
เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ COVID-19 ประเทศจีนได้เข้าควบคุมพื้นที่บริเวณชายแดนอย่างเข้มงวดเพื่อตรวจสอบนักท่องเที่ยวและสินค้าที่เข้ามา ทำให้มีผลกระทบที่เกิดจากการควบคุมสถานการณ์นี้คือ การลดนำเข้าน้ำตาลอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งการยกเลิกมาตรการรักษาความปลอดภัย คาดไว้จะนำไปสู่การกดดันต่อการนำเข้าน้ำตาล ทำให้การส่งออกคาดว่าจะอยู่ที่ 200,000 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขประมาณการณ์ที่ปรับเปลี่ยนใหม่เมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ การส่งออกน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ จะส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ รวมทั้งเกาหลีเหนือ และมองโกเลีย
ถึงแม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนของราคาน้ำตาลภายในประเทศ เนื่องจากเป็นเรื่องยากในการประเมินสืบเนื่องมาจากการบริโภคในประเทศที่ไม่แน่นอน แต่โชคยังดีที่อุปสงค์ในประเทศจะฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ในปี 2563/2564 ส่วนตัวแปรภายนอกเช่น สภาวะอุปทานและอุปสงค์น้ำตาลในบราซิล อินเดีย รวมถึงต้นทุนน้ำมัน ยังคงมีอิทธิพลต่อราคาน้ำตาลในอนาคตของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจีน ส่วนราคาในปีการตลาด 2562/2563 ได้เริ่มมีแนวโน้มลดลงในช่วงกลางเดือนมกราคม เพราะมีสาเหตุมาจาก COVID-19 ที่ส่งผลต่ออุปสงค์ ทำให้แรงกดดันด้านราคาที่ลดลงนี้คาดว่าอาจจะดีขึ้นในอนาคต ในขณะที่เศรษฐกิจของจีนจะค่อยๆฟื้นตัวจากโรคระบาด COVID-19.