น้ำตาลเวียดนามเผชิญแรงกดดันต่อการแข่งขันตลาดในประเทศ
น้ำตาลภายในประเทศเวียดนามตกอยู่ในสถานการณ์กดดันเพิ่มขึ้นเมื่อต้องแข่งขันกับน้ำตาลนำเข้าในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
จากข้อมูลของสมาพันธ์อ้อยและน้ำตาลเวียดนามหรือ VSSA อุปทานน้ำตาลมีเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2566 ในขณะที่ผู้ค้าปลีกต้องรับมือกับน้ำตาลในคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่เหลือจากปีที่แล้ว ส่งผลให้เกิดอุปทานส่วนเกินในตลาดซึ่งอิ่มตัวแล้วและถูกอุปสงค์ระดับต่ำกีดขวาง
ในรายงานล่าสุดของ VSSA ที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่าอุปทานน้ำตาลภายในประเทศของเวียดนามเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 2.8 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าอุปสงค์อย่างมากเนื่องจากอยู่ที่ประมาณ 2.1-2.3 ล้านตัน สมาพันธ์ฯ คาดว่าน้ำตาลส่วนเกินจะยังคงเหลือค้างอยู่ต่อไปเพราะน้ำตาลนำเข้ายังคงหลั่งไหลเข้ามาในประเทศ
อย่างไรก็ตาม สมาพันธ์ฯ กล่าวว่า ในระยะยาว มีความเสี่ยงที่ตลาดจะหยุดชะงักหากมีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เกินดุล ซึ่งมีแนวโน้มที่จะบีบให้ผู้ผลิตในประเทศต้องลดราคา แม้จะต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเพื่อแข่งขันหรือลดราคารับซื้อจากชาวไร่อ้อย
ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมกล่าวว่าน้ำตาลนำเข้ามักจะได้เปรียบเนื่องจากมีราคาที่ต่ำกว่า
นินห์ ที ฮู แม่ค้าในตลาดทาน เฮียบที่ตั้งอยู่ในเมืองทางภาคใต้ของเบียน ฮัว ประเทศเวียดนาม แจ้งว่าลูกค้ามักชอบน้ำตาลนำเข้ามากกว่าและจะซื้อในปริมาณมาก ตัวอย่างเช่น ราคาน้ำตาลนำเข้าของทางร้านอยู่ที่ประมาณ 20,000 เหรียญเวียดนาม ในขณะที่น้ำตาลในประเทศโดยทั่วไปจะอยู่ที่ราคา 24,000-25,000 เหรียญเวียดนามต่อกิโลกรัม
แม้ว่าจะขายในราคาที่สูงกว่า คุณภาพระหว่างน้ำตาลนำเข้าและน้ำตาลในประเทศไม่แตกต่างกันมากนัก สิ่งนี้ผลักดันให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซึ่งต้องการซื้อในปริมาณมากหันไปหาน้ำตาลนำเข้า
ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมแสดงความกังวลมานานแล้วเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำตาลในประเทศที่มียี่ห้อที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมถึงเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่ไม่เพียงพอที่จะเข้าถึงผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตในประเทศเวียดนามจำนวนหนึ่งได้ริเริ่มสร้างเครือข่ายของตนเองโดยร่วมมือกับผู้ค้าปลีกรายใหญ่และใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
ลี วาน เทียน ผู้อำนวยการด้านการขายของบริษัททาน ทาน คง-เบียน หัว รายงานว่าบริษัทกำลังร่วมมือกับผู้จัดจำหน่าย 122 รายและจัดการบริหารเครือข่ายผู้ค้าปลีก 53,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของยอดขายของบริษัทในปีที่แล้ว โดยกล่าวว่า บริษัทฯ ได้เริ่มขยายการขายในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยม เช่น ลาซาด้า ทีกิ เซ็นโด้ และชอปปี้ เป็นต้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
นายลียังสรุปว่าผู้บริโภคชาวเวียดนามยังคงชอบน้ำตาลในประเทศของตน แต่สิ่งสำคัญคือผู้ผลิตต้องแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่และลดราคาลงเพื่อแข่งขันกับน้ำตาลนำเข้า