บราซิลขยายพื้นที่เพิ่ม 5 ล้านเฮคตาร์ภายในปี 2573 เนื่องจากความต้องการเอทานอล
มีงานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยควีนแลนด์ (UQ) ประเทศออสเตรเลีย ได้เปิดเผยถึงความต้องการเอทานอลในอนาคตที่สามารถทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยต้องขยายพื้นที่ถึง 5 ล้านเฮกตาร์ (19,305 ตารางไมล์) ภายในปี 2573 เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้เอทานอล และความต้องการใช้นี้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 17.5 ถึง 34.4 ล้านเมตริกตัน
จากคำบอกเล่าของ Milton Aurelio Uba de Andrade Junior นักวิจัยมหาวิทยาลัยจากคณะวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม ระบุว่าความต้องการเชื้อเพลิงชีวมวลในอนาคตจะมีผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการผลิตเอทานอลจากอ้อยในประเทศบราซิล
“งานวิจัยของเราได้จำลองสถานการณ์เพื่อคาดการณ์ความต้องการเอทานอลในอนาคตตามแนวทางที่แตกต่างกัน เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) การเติบโตของประชากร ราคาเชื้อเพลิง นโยบายแบบผสมผสาน การจัดวางกำลังคนและประสิทธิภาพ”
“สถานการณ์จำลองความต้องการสูงได้รับแรงกระตุ้นมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและประชากร ราคาน้ำมันเบนซินสูงขึ้นและเป้าหมายการใช้น้ำมันผสมนั้นน่าจะทำให้ความต้องการเอทานอลของบราซิลในปี 2573 เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของปริมาณความต้องการเอทานอลในปัจจุบัน ถ้าสถานการณ์นี้เกิดขึ้นจริง บราซิลก็จำเป็นต้องมีพื้นที่ทำไร่อ้อยเพิ่มขึ้น 5 ล้านเฮกตาร์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการระดับสูงนี้” Milton กล่าว
โดยนักวิจัยได้พิจารณาแผนนโยบายสามประการ ประการแรก ในสถานการณ์ความต้องการสูงเมื่อพลังงานทดแทนเป็นที่ต้องการและกำหนดให้เชื้อเพิลงผสมมีการเพิ่มเอทานอล 35% ประการที่สอง ในสถานการณ์ความต้องระดับต่ำเมื่อเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นที่ต้องการ โดยลดเอทานอลเหลือ 20% และประการสุดท้าย ในสถานการณ์ปกติทางธุรกิจเมื่อเชื้อเพลิงผสมคงที่ประมาน 27%
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านโยบายเชื้อเพลิงของรัฐบาลมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการสูญเสียพืชพันธุ์พื้นเมืองในอนาคตเพราะสถานการณ์ในงานวิจัยทั้งสามทำนายว่าการขยายพื้นที่สามารถดำเนินการได้ในทุ่งเลี้ยงสัตว์ โดยไม่จำเป็นต้องถางป่าแห่งใหม่ ถึงกระนั้นก็ตาม ฌาอีร์ โบลโซนารู ประธานาธิบดีบราซิลได้ออกกฎหมายยกเลิกการจัดเขตอุตสาหกรรมอ้อยเพื่อเปิดป่าแอมะซอนและพื้นที่ป่าปฐมภูมิอื่นๆ เพื่อขยายการเพาะปลูกอ้อย
Aline Soterroni นักวิจัยร่วมในแบบจำลองนี้อธิบายถึงความเป็นไปได้ที่จะตอบสนองต่อความต้องการเอทานอลจากอ้อยในระดับสูงในปีถัดๆ มาด้วยการขยายพื้นที่ปลูกอ้อยในทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ที่มีผลิตผลต่ำ และยังระบุว่ายังมีพื้นที่ 60 ล้านเฮคตาร์ (231,661 ตารางไมล์) อีกแห่งในบราซิลที่อยู่นอกป่าแอมะซอนและแพนทานาลเพื่อปลูกอ้อย ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ปลูกอ้อยในปัจจุบันของประเทศถึง 6 เท่าและมีพื้นที่มากพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการสูงสุดและหลีกเลี่ยงการใช้ป่าปฐมภูมิ
นอกจากนี้ นักวิจัยยังคาดคะเนว่าความต้องการเอทานอลจะเพิ่มขึ้นประมาณ 17.5 ล้านตัน (เทียบเท่าน้ำมันดิบ) ในกรณีที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและอีก 34.4 ล้านเมตริกตันในกรณีที่เป็นเชื้อเพลิงทดแทน ซึ่งแสดงถึงการเพิ่มขึ้น 11% และ 119% ตามลำดับ ของระดับการผลิตในปัจจุบัน
นโยบายใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะทำให้เกิดความต้องการพื้นที่เพาะปลูกอ้อย 1.2 ล้านเฮกตาร์ (4,633 ตารางไมล์) ภายในปี 2573 ในขณะที่นโยบายใช้เชื้อเพลิงทดแทนจะเพิ่มพื้นที่เป็น 5 ล้านเฮกตาร์ (19,305 ตารางไมล์) เป็นพื้นที่ผลิตแห่งใหม่ที่มีขนาดเทียบเท่าประเทศคอสตาริกาโดยประมาณ
Akenya Alkimim นักธรณีศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Universidade Federal de Vicosa ประเทศบราซิลอธิบายว่า “การถางป่าแอมะซอนทุกๆเฮคตาร์นั้น การปลูกอ้อยจะปล่อยคาร์บอนไดเข้าสู่บรรยากาศถึง 608 ตันทำให้เกิด “หนี้คาร์บอน” (carbon debt) ที่ต้องใช้เวลาการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล 62 ปีเพื่อใช้คืน อย่างไรก็ตาม บราซิลไม่จำเป็นต้องถางป่าแห่งใหม่ เพียงแต่ปรับเปลี่ยนทุ่งหญ้าที่มีอยู่ให้เป็นพื้นที่เพาะปลูกเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าหนึ่งในสิบ และใช้เวลาคืนหนี้คาร์บอนเพียง 6 ปีเท่านั้น
งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Energy Policy และได้รับความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ สถาบันระหว่างประเทศด้าน Applied System Analysis ในประเทศออสเตรเลียกับสถาบันวิจัยพื้นที่แห่งชาติในประเทศบราซิล.