บราซิลนำอันดับ 3 ของโลกในการผลิตพลังงานชีวมวลจากอ้อย
บันกี้ ลิมิเต็ด เป็นบริษัทธุรกิจการเกษตรและอาหารของอเมริกา ร่วมกับบีพี บริษัทน้ำมันและก๊าซข้ามชาติจากแดนอังกฤษที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกันเพื่อเข้าควบรวมธุรกิจน้ำตาลและเอทานอลของบราซิลเพื่อสร้างกิจการอ้อยให้ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก กล่าวกันว่าการร่วมลงทุนนี้มีมูลค่าสูงที่สุดในภาคอุตสาหกรรมพลังงานชีวมวลของบราซิล
จากการที่ มาริโอ ลินเดนเฮย์น หัวหน้าแผนกเชื้อเพลิงชีวภาพของบริษัท บีพี ที่ได้หารือกับ จีโอแวน คอนซุล ประธานฝ่ายบริหารของ บันเจ ในเมืองเซาเปาโลของบราซิลเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ทำให้ทราบประเด็นสำคัญคือการร่วมลงทุนครั้งนี้ถือเป็นโครงการที่มีมูลค่าสูงที่สุดในภาคอุตสาหกรรมพลังงานชีวมวลของบราซิล นับตั้งแต่ที่บริษัทรอยัล ดัทช์ เชลล์ ผนึกกำลังกับบริษัทโคซาน เพื่อก่อตั้งบริษัทไรเซินให้เป็นผู้นำของอุตสาหกรรมพลังงานชีวมวลเมื่อปีพ.ศ. 2554
เป็นที่ทราบกันว่าเอทานอลซึ่งผลิตมาจากอ้อยนั้น เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีประสิทธิภาพทางคาร์บอนสูงสุดและมีวางจำหน่ายทั่วโลก โดยเอทา-นอลมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมแบบปกติที่ใช้ในการขนส่งถึงราว ๆ 70% โดยบราซิลเป็นผู้ผลิตเอทานอลที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีตลาดน้ำมันเชื้อเพลิงเอทานอลเพื่อการขนส่งที่ใหญ่ที่สุด และคาดการณ์กันว่าความต้องการเอทานอลจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต ยานพาหนะส่วนใหญ่ของประเทศบราซิลซึ่งคิดเป็นจำนวนประมาณ 70% มีความพร้อมรองรับการใช้งานเชื้อเพลิงเอทานอล และคาดกันว่าความต้องการเอทนอลของบราซิลจะเพิ่มขึ้นสูงไปถึง 70% ภายในปีพ.ศ. 2573
ก่อนหน้านี้ บริษัท บันเจ เพิ่งจะขายกิจการน้ำตาลให้กับบริษัทวิลมาร์ อินเตอร์เนชั่นแนลเมื่อปีที่แล้ว แผนกพลังงานชีวภาพของบริษัทประสบสภาวะขาดทุนตลอด 5 ไตรมาสจาก 6 ไตรมาสล่าสุด มีการคาดการณ์ว่าแผนกนี้จะถึงจุดคุ้มทุนในปีพ.ศ. 2562 และเปิดเผยว่าจะได้รับเงินรายได้จำนวน 775 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการร่วมลงทุน ซึ่งคาดกันว่าเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้ชดเชยหนี้สิน
การร่วมลงทุนครั้งนี้อยู่ในนามของบริษัท บีพี บันเจ ไบโอเอเนอร์เจีย จะเป็นการดำเนินการในรูปแบบบริษัทเดี่ยว และนอกเหนือจากน้ำตาลและเอทานอลแล้ว ทางบริษัทยังมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยกากชีวมวลที่ได้มาจากอ้อยอีกด้วย
เกรกอรี่ เอ เฮ็คแมน ประธานฝ่ายบริหารของบันเจ กล่าวว่า “การร่วมลงทุนครั้งนี้กับบีพี ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทพลังงานชั้นนำของโลกได้ถือเป็นเกียรติประวัติครั้งสำคัญของบันกี้ พวกเราภาคภูมิใจในผลงานของทีมงานเราที่ทุ่มเทพัฒนาธุรกิจน้ำตาลและพลังงานชีวภาพ เพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำของอุตสาหกรรม ผมเชื่อมั่นว่าทีมงานของเราชุดนี้ บวกกับความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของบริษัทชั้นนำระดับโลกอย่างบีพี จะยิ่งเพิ่มมูลค่าที่สูงขึ้นให้กับผู้ถือหุ้น”
ทางบริษัท บีพี บันกี้ ไบโอเอเนอร์เจีย จะมีการเปิดโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ 11 แห่งในบราซิล โดยตั้งเป้าปริมาณสกัดอ้อยรวมกันให้ได้ถึง 32 ล้านเมตริกตันต่อปี ทำให้การร่วมลงทุนนี้สามารถเลือกได้ว่าจะเน้นการผลิตเอทานอลและน้ำตาลมากน้อยเพียงใด อีกทั้งยังจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าทดแทนจากกากชีวมวลของอ้อยผ่านโรงผลิตพลังงานที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับโรงงานผลิตเชื้อเพลิงทุกแห่งของบริษัท และจะขายไฟฟ้าส่วนเหลือใช้ที่ได้มาให้กับการไฟฟ้าของประเทศบราซิล
นอกจากนี้ มีการคาดกันว่ากิจการร่วมดังกล่าวจะจัดตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเซาเปาโล โดยมีมาริโอ ลินเดนเฮย์นจากบีพี ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ จีโอแวน คอนซุล จากบันกี้ ดำรงตำแหน่งประธานบริหาร และมาร์คัส ชลอสเซอร์ จากบีพี ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงิน โดยบริษัท บีพี และ บันกี้ จะมีคณะกรรมการบริษัทเป็นจำนวนเท่ากัน