บราซิลสำรวจลู่ทางใหม่ในการใช้ประโยชน์จากชานอ้อย
ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คาดว่าราคาไฟฟ้าในตลาดพลังงานของบราซิลจะยังคงอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดตามกฎหมาย ส่งผลให้ภาคส่วนอย่างโรงงานน้ำตาลและเอทานอลจำเป็นต้องมองหาตลาดใหม่ เพื่อขายชานอ้อยส่วนเกินออกไป
ชานอ้อยมุ่งเป็นพลังงานชีวภาพที่ได้จากกระบวนการหีบอ้อยที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมน้ำตาลและเอทานอลของบราซิล เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานของกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่และผลิตกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน แล้วขายส่งผ่านบนระบบกริดแห่งชาติ
แต่ด้วยราคาค่าไฟฟ้ากลางยังไม่ขยับไปจากเกณฑ์บังคับ ซึ่งปัจจุบันตั้งไว้ที่ R69.04/MWh ($14.03/MWh) นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 และผู้เชี่ยวชาญบางคนคาดการณ์ว่าจะยังคงอยู่ที่จุดต่ำสุดอีกอย่างน้อย 12 เดือน ราคาที่ต่ำกว่าปกตินี้เกิดจาก
ปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติในช่วงฤดูฝนปีนี้ของบราซิล แล้วลากยาวไปถึงฤดูแล้ง เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่รุนแรง
ส่งผลให้มีระดับการกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งวัดได้ที่ 82.45pc เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ตามข้อมูลจาก หอการค้า พลังงานไฟฟ้า (CCEE) ซึ่งใช้ในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ และราคาไฟฟ้ากลางได้รับการควบคุมและคํานวณอย่างเข้มงวดผ่านแบบจําลองการคํานวณที่คํานึงถึงระดับการกักเก็บน้ำและข้อมูลปริมาณน้ำฝน
แนวโน้มดังกล่าวได้กระตุ้นให้ภาคส่วนของอ้อยสํารวจช่องทางการขายที่แตกต่างกันสําหรับชานอ้อยส่วนเกินจากโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับส่วนที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับสัญญาพลังงานในระยะยาว
“ชานอ้อยส่วนเกินถูกขายเพื่อผลิตพลังงานสําหรับการผลิตน้ำส้มในรัฐเซาเปาโล ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมอ้อยโดยส่วนใหญ่” ผู้อํานวยการฝ่ายพลังงานของบริษัทเอทานอลกล่าว “แต่การลงทุนใหม่ในเอทานอลรุ่นที่ 2 ยังทําให้ความต้องการ ชานอ้อยเพิ่มขึ้นอีกด้วย”
เขาบอกใบ้ถึงกลุ่มโรงหีบอ้อยของบริษัท Raizen หรือโรงงานนำร่องเอทานอลรุ่นที่ 2 (2G) ที่โรงงานคอสตา ปินตุ เขตปิราซิคาบา กรุงเซาเปาโลว่า ในฤดูเก็บเกี่ยวปี 2565 – 2566 สามารถผลิตได้ 30.3 ล้านลิตร (525 b/d) ตามข้อกำหนด 2G ที่ได้จากกากอ้อย รวมถึงยอดและใบที่ถูกทิ้งจากการเก็บเกี่ยวอ้อย
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า Raizen เข้าซื้อชานอ้อยส่วนเกินจากโรงงานใกล้เคียง เพื่อช่วยเพิ่มอุปทานให้บรรลุเป้าหมายการผลิตเอทานอลรุ่นที่ 2 “มันยากที่จะบอกว่า นี่จะเป็นตลาดที่เหมาะสมในอนาคตหรือไม่ แต่การสร้างความมั่นใจในการจัดหาวัตถุดิบเป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกสําหรับเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งหมด” ผู้อํานวยการพลังงานกล่าว
โรงงานผลิต E2G (Ethanol-2G) แห่งที่ 2 ของ Raizen ควรจะเริ่มดำเนินการในเดือนกันยายนที่เขตอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพบงฟิง ในเมืองการิบา ในเซาเปาโลด้วย ซึ่งน่าจะต้องใช้ชานอ้อยจำนวนมากเพื่อให้บรรลุกำลังการผลิตรวม 82 ล้านลิตร/ปี โดยเป็นกลุ่มบริษัทร่วมทุนระหว่างเชลล์และบริษัท โคซัน จำกัด ซึ่งกลุ่มบริษัทในเครือของบราซิลมีแผนก้าวหน้าที่จะมีโรงงานผลิต E2G จำนวน 20 โรงภายในเดือนมีนาคม 2574 ให้มีกำลังการผลิตติดตั้งที่ 1.6 พันล้านลิตรต่อปีภายในปี 2574
ผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมในรัฐมาตูโกรซูดูซูวและรัฐโกยาสยังได้หารือเกี่ยวกับการเตรียมการที่คล้ายกันนี้กับผู้ผลิตเอทานอลจากข้าวโพดในรัฐทางตะวันตกตอนกลางด้วยเช่นกัน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า บริษัทอินปาซาที่ผลิตเอทานอลจากข้าวโพดในรัฐมาตูโกรซูดูซูว และบริษัทเซา มาร์ตินโญที่บัววิชตา ในรัฐโกยาส ทั้งสองบริษัทได้จัดหาชานอ้อยจากโรงตัดอ้อยใกล้เคียงเพื่อใช้เป็นพลังงานในการดำเนินงาน
การซื้อชานอ้อยจะติดต่อซื้อขายกันเองระหว่างคู่ค้า (ผู้ซื้อกับผู้ขาย) ซึ่งทางผู้ขายจะต้องจับตาดูสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในภูมิภาค ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์และการค้าขายกับตลาดพลังงาน โดยทั่วไปราคาสินค้าจะพิจารณาจากมูลค่าผลิตภัณฑ์และอัตราค่าขนส่ง แต่การแบ่งปันแต่ละครั้งอาจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างภูมิภาคโดยพิจารณาจากมูลค่าชีวมวลในท้องถิ่น
จากชานอ้อยเหลือทิ้งสู่การเป็นวัตถุดิบหลัก
ในบราซิล อุตสาหกรรมน้ำตาลและเอทานอลได้ขยายบทบาทด้านไฟฟ้าในประเทศตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ซึ่งหมายความว่ากากอ้อย เช่น ชานอ้อยส่วนเกินที่เคยถูกทิ้งไปก่อนหน้านี้จะกลายเป็นทรัพยากรที่มีมูลค่าอย่างหนึ่ง
นอกจากพลังงานแล้ว ชานอ้อยยังสามารถทำเป็นปุ๋ยธรรมชาติ หรือสินค้าที่ส่งออกได้ในรูปแบบของเม็ด หรือส่วนประกอบที่เหมาะ สมสําหรับอาหารสัตว์
การได้มาของตัวเลขที่แม่นยำสำหรับการผลิตชานอ้อยอาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีส่วนประกอบและตัวแปรมากมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจที่ซับซ้อนซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะตกตะกอน การเลือกใช้ส่วนผสมระหว่างน้ำตาลกับเอทานอล หรือแม้แต่อายุของโครงสร้างพื้นฐานของโรงงาน ซึ่งส่งผลต่อปริมาณไอน้ำที่จำเป็นสำหรับกระบวนการและปริมาณชานอ้อยที่หลงเหลืออยู่
การวิจัยที่ดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการแห่งชาติด้านพลังงานหมุนเวียน (LNBR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์วิจัยพลังงานและวัตถุแห่งบราซิล (CNPEM) ประมาณการว่า บราซิลมีศักยภาพการผลิตที่ 162 ล้านเมตริกตัน/การเก็บเกี่ยวชานอ้อย โดยมีพื้นที่ภาคกลาง – ใต้คิดเป็น 92% ของการผลิตภายในประเทศ