บราซิลเผชิญจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในประเทศ
กลุ่มบริษัทเครือโคซัน (Cosan) ผู้ผลิตเอทานอลชีวภาพ น้ำตาลและพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศบราซิล ได้เปิดเผยว่า โรงงานผลิตน้ำตาลจากอ้อยมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการผลิตเอทานอลไปเป็นน้ำตาลในฤดูกาลหน้า เนื่องจากราคาน้ำมันลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว และมีความจำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศ ทำให้สถานการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของเชื้อเพลิงชีวภาพกับน้ำมันเชื้อเพลิงปิโตรเลียม
ไรเซน (Raizen) ผู้ผลิตเอทานอลและน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล แถลงว่าจะเร่งแผนผลิตสารให้ความหวานมากขึ้นในฤดูกาลของการตัดอ้อยในปี 2563-2564 หลังจากราคาน้ำมันโลกตกต่ำลง “เราวางแผนการจัดสรรอ้อยเพื่อผลิตเป็นน้ำตาลมากขึ้นแล้ว และราคาน้ำมันที่ตกต่ำจะเร่งแผนการทำงานดังกล่าวให้เร็วขึ้น” ริคาร์ดุ มุซซา รองประธานของไรเซนกล่าวในการประชุมกับผู้ลงทุนที่จัดโดยบริษัทโคซัน ซึ่งถือหุ้นจำนวนห้าสิบหน่วยของบริษัทไรเซนร่วมกับบริษัทน้ำมันเชลล์
บราซิลอาจส่งเสริมผลผลิตน้ำตาลในปี 2563-2564 เพิ่มเป็นสามถึงหกล้านตันจากปริมาณ 30.15 ล้านตันในฤดูกาลปัจจุบัน ระหว่างปีนี้และปีหน้า คาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยในภาคกลางถึงภาคใต้ของบราซิลเป็นจำนวน 597.8 ล้านตันซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.4 เพิ่มขึ้นจากฤดูกาลระหว่างปี 2562-2563 เนื่องจากสภาพอากาศดีและอัตราการฟื้นฟูการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรที่สูงขึ้นกว่าเดิม
บริษัทไรเซนคาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวอ้อยสูงกว่าเดิมในปี 2563-2564 โดยมีปริมาณอยู่ที่ 61-64 ล้านตันในช่วงนี้ ซึ่งสูงขึ้นถึงร้อยละเจ็ดจากฤดูกาลในช่วงปี 2562-2563 ซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อเดือนมีนาคม ที่ปรึกษาและตัวแทนของ INTL FCStone แถลงล่าสุดว่า ผู้ผลิตน้ำตาลและเอทานอลของบราซิลได้เริ่มนำอ้อยเข้าหีบเพื่อเตรียมปลูกใหม่เร็วกว่าเดิมในฤดูกาลที่แล้ว และคาดว่าจะผลิตน้ำตาลให้มากขึ้นแต่จะผลิตเอทานอลให้น้อยลง
จากข้อมูลของนายอาร์นัลดุ คอร์เรอา นักวิเคราะห์ความเสี่ยงสินค้าโภคภัณฑ์ภายในประเทศของบริษัทที่ปรึกษาอาร์เชอร์ โรงงานอ้อยของบราซิลได้วางแผนการเพิ่มการผลิตน้ำตาลมาอย่างต่อเนื่องในฤดูกาลที่กำลังจะมาถึงซึ่งมีการเริ่มตัดอ้อยอย่างเป็นทางเมื่อเดือนเมษายนด้วยราคาที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว จากการคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตที่ร้อยละ 78 ของผลผลิตน้ำตาลที่คาดกันไว้ในช่วงฤดูกาลระหว่างปี 2563-2564
จากข้อมูลของสมาคมน้ำตาลระหว่างประเทศ มีการคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำตาลสูงขึ้นถึงเก้าล้านสี่แสนตันในฤดูกาลนี้เนื่องจากการผลิตที่ต่ำลงจากประเทศไทย อินเดีย และโดยเฉพาะบราซิล “เราไม่เคยมีช่วงเวลาที่โรงงานอ้อยต้องกำหนดราคาตายตัวสำหรับการขายน้ำตาล (ในอนาคต) เป็นจำนวนมากก่อนการหีบอ้อยจะเริ่มขึ้น” นายอาร์นัลดุชี้แจง ประธานฝ่ายบริหารบริษัทโคซัน นายมาร์คุช ลุทซ์ กล่าวว่าราคาน้ำมันตกต่ำและค่าเงินบราซิลที่ลดลง ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยของกลุ่มบริษัทได้รับประโยชน์จากน้ำมันดีเซลและค่าปุ๋ยที่ถูกลงกว่าเดิม รวมทั้งผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออกน้ำตาลและเอธานอล ค่าเงินเรียลของบราซิลได้อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐถึงร้อยละ 17 ตั้งแต่ต้นปี 2563 หรืออาจจะกล่าวได้ว่า การปิดค่าเงินดังกล่าวเมื่อวานนี้ถึงจุดต่ำที่สุดในประวัติการณ์เป็นจำนวน 4.72 เรียลต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปิโตรเลียมที่ตกต่ำเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา กลับช่วยเพิ่มการจัดสรรอ้อยให้มากขึ้นสำหรับการผลิตน้ำตาล โดยโรงงานน้ำตาลวางแผนว่าจะลดการผลิตเอทานอลลงร้อยละแปดในฤดูกาลใหม่ หรือเป็นจำนวนสามหมื่นหกล้านลิตร ด้วยราคาน้ำมันปิโตรเลียมที่ถูกลงกว่าเดิม ทำให้เอทานอลอาจลดความสามารถในการแข่งขันให้กับเชื้อเพลิงที่ใช้น้ำมันเป็นฐานการผลิต อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำตาลที่ลดลงทั่วโลกเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าจะมีความสมดุลด้านภาวะขาดดุลของอุปทานน้ำตาลทั่วโลกระหว่างปีนี้ และปีหน้าอยู่ที่ปริมาณแปดล้านหกแสนตัน