พัฒนากระบวนการผลิตและประหยัดพลังงานด้วยเทคนิคการวัดและวิเคราะห์ผลแบบเรียลไทม์ – น้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาว – โรงงานน้ำตาลและรีไฟน์
เทคนิคการประมวลผลภาพถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงานน้ำตาลหลายแห่งที่ต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลของพวกเขา ลูกค้าของเราใช้เทคนิคเหล่านี้เพื่อยกระดับคุณภาพและปรับปรุงประสิทธิภาพได้อย่างไร?
ความท้าทายของงานนี้คือการแสดงให้เห็นถึงการพัฒนากระบวนการผลิต ที่เครื่องมือการตรวจสอบการเติบโตของผลึกและการวัดค่าสีนำมาสู่โรงงานน้ำตาลในทุกวัน
ด้วยคุณภาพวิดีโอความละเอียดสูงและการวิเคราะห์ภาพ CrystObserver® ติดตามการเติบโตของผลึกในหม้อเคี่ยวและหม้อ seed cooling crystallizer ในแบบเรียลไทม์
ตรวจจับอนุภาคตั้งแต่ 4 µm และตรวจสอบว่าเมล็ดเข้าสู่หม้อในเวลาที่เหมาะสมหรือไม่เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดนิวเคลียสที่ไม่สามารถควบคุมได้ ยืนยันได้ก่อนว่ามีเมล็ดในหม้อเพียงพอที่จะพัฒนาเพื่อไม่ต้องเสียเวลาและพลังงานไปเปล่า ๆ ตรวจจับ false grain ที่เกิดขึ้นภายหลังในกระบวนการ และลดปริมาณการใช้น้ำจากการควบคุมการละลาย
ผู้ปฏิบัติงานจะเห็นผลกระทบโดยตรงของการปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ต่อขนาดคริสตัล และสามารถปรับสูตรการเดือดครั้งต่อไปตามนั้น เพื่อให้มีจำนวนเม็ดฝ้าที่ลดลง มีความสามารถในการทำซ้ำที่ดีขึ้น และผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
สำหรับสีน้ำตาล วิธีที่ดีที่สุดในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่รวดเร็วและสำคัญคือการใช้ ColObserver® เครื่องวัดค่าสีเหนือสายการผลิตของ ITECA เพื่อปรับเวลาการฉีดล้างของหม้อปั่นแต่ละเครื่องให้เหมาะสมที่สุด
เป็นที่ทราบกันว่าการฉีดน้ำ 1 ลิตรสามารถละลายน้ำตาลที่ดีไปมากถึง 3 กิโลกรัม เป็นที่แน่ชัดว่าปริมาณฉีดน้ำที่ลดลงจะช่วยหลีกเลี่ยงการละลายน้ำตาลดีปริมาณมหาศาลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ในทันที นอกจากการปรับน้ำให้เหมาะสมแล้ว เครื่องวัดค่าสีนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานโดยรวมอีกด้วย
และยังช่วยให้มั่นใจคุณภาพของน้ำตาลในขั้นสุดท้ายได้ด้วยการตรวจจับสิ่งปลอมปนหรือความไม่สอดคล้องใด ๆ ของการผลิตที่มองเห็นได้แต่เนิ่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน น้ำตาลเปียกหรือน้ำตาลแห้ง เหนือสายพานลำเลียงทุกชนิด
เราเริ่มต้นด้วยสมมติฐานที่ว่าน้ำล้าง 1 ลิตรละลายน้ำตาลดีได้ 3 กิโลกรัม และเวลาในการฉีดล้าง 1 วินาทีสอดคล้องกับน้ำล้าง 2.5 ลิตร จากนั้นเราคำนวณน้ำตาลที่จะได้รับมากขึ้นใน 1 แคมเปญด้วยการลดเวลาซักขั้นต่ำ 1 วินาทีในหม้อปั่น 3 เครื่อง ผลตอบแทนของการลงทุน ROI จะถูกประเมินโดยพิจารณาจากต้นทุนการแปรรูปที่สอดคล้องกับ 15% ของราคาขายน้ำตาล
เครื่องวิเคราะห์เหนือสายการผลิต (on-line analyzer) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการให้เหมาะสมที่สุด (optimization) ต้องได้รับการสอบเทียบอย่างสมบูรณ์แบบกับห้องปฏิบัติการของโรงงานเพื่อรับประกันการตรวจวัดที่เชื่อถือได้ ความแม่นยำ และความสามารถทำซ้ำได้
ความสามารถในการสังเกตติดตามคุณภาพของน้ำตาลในแบบเรียลไทม์ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มั่นใจในคุณภาพที่ควบคุมได้ ความสามารถในการหลีกเลี่ยงมลภาวะจากน้ำตาล (pollution) ก่อนการเก็บรักษาถือเป็นเรื่องสำคัญ SpotObserver® เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการรับประกันน้ำตาลบริสุทธิ์ โดยเครื่องมือวัดนี้จะสแกนการผลิตที่กำลังดำเนินการอยู่ 100% และช่วยให้เปลี่ยนเส้นทางน้ำตาลที่ไม่ได้ข้อกำหนดออกจากสายการผลิตหลักได้
ด้วยการใช้เซ็นเซอร์ที่มีความละเอียดสูงมากและระบบไฟส่องสว่าง LED (ป้องกันการระเบิด) SpotObserver® ดำเนินการได้อย่างแม่นยำและปรับแต่งภาพที่มีความซับซ้อนสูงในแบบเรียลไทม์ (image treatment)
SpotObserver® จะจัดประเภทและนับ black spots ตั้งแต่ 250 x 250 µm ตามระดับการกระจาย (ที่กำหนดค่าได้) หน่วยภาพทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอีเว้นตลอดทั้งแคมเปญเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างสมบูรณ์ และส่งสัญญาณการแจ้งเตือนเกี่ยวกับจำนวนการตรวจจับและ/หรือขนาด black spots พร้อมการคำนวณทางสถิติในช่วงเวลาที่ปรับแต่งได้ และยังสามารถใช้สัญญาณเตือนเพื่อเปลี่ยนเส้นทางน้ำตาลที่นอกข้อกำหนด (off-spec) เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนหรือข้อเรียกร้อง (claim) จากลูกค้าในที่สุด
พื้นที่การวัดตั้งอยู่หลังหม้ออบ พื้นที่ดังกล่าวมักจะผ่านการรับรอง ATEX 22 นั่นคือสาเหตุที่ SpotObserver® เป็นอุปกรณ์ที่ผ่านการรับรอง ATEX 22
หน้าจอหลัก SpotObserver® ที่แสดงการตรวจจับครั้งล่าสุด
ทุก ๆ อนุภาคที่สูงกว่า 250 µm ถูกตรวจจับได้
สรุปว่าการควบคุมแบบเรียลไทม์ของการเคี่ยวตกผลึก การปั่น และคุณภาพน้ำตาลเป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยให้สามารถปรับปรุงกระบวนการได้ในขณะที่ลดต้นทุนการผลิตลงด้วย เครื่องมือที่นำเสนอในที่นี้นั้นได้แสดงให้เห็นทั่วโลกแล้วถึงความสามารถในการให้การควบคุมนี้
การปรับปรุงทั้งหมดเหล่านี้อยู่ในการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 เนื่องจากการเคี่ยวตกผลึในปัจจุบันกกลายเป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้นเรื่อย ๆ เซ็นเซอร์ที่นำเสนอข้างต้นจึงได้รับการกำหนดให้เข้ากับบริบทใหม่นี้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยความสามารถในการสื่อสารกับ PLC ของโรงงาน, DCS และคลาวด์
แผนก Color & Vision ของ ITECA มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ภาพเหนือสายการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาลโดยเฉพาะ
DNS และ ITECA บูธ #12 ที่ SUGAREX ขอนแก่น วันที่ 8-9 กันยายน 2565
บรรลุคุณภาพที่สม่ำเสมอพร้อมกับผลผลิตที่สูงขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมกระบวนการของคุณตั้งแต่การเคี่ยวตกผลึกไปจนถึงสถานีบรรจุถุงหรือไซโล
ITECA SOCADEI
445 rue Denis Papin, 13592 Aix en Provence – France
www.iteca.fr, info@iteca.fr