ฟิลิปปินส์ชูไทยต้นแบบอุตสาหกรรมน้ำตาล
องค์กรกำกับดูแลน้ำตาลแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Sugar Regulatory Administration: SRA) ได้ทาการศึกษาวิเคราะห์อุตสาหกรรมน้ำตาลประเทศไทย เพื่อเป็นต้นแบบเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมน้ำตาลท้องถิ่น
SRA และสมาคมผู้ผลิตน้ำตาลฟิลิปปินส์ (The Philippine Sugar Millers Association) ได้เดินทางเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยได้แก่ สานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ของไทย บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จากัด และบริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) รวมทั้งได้มีโอกาส พบกับสมาคมผู้ปลูกอ้อยที่ใหญ่ที่สุดซึ่งมีสมาชิกประมาณ 98,000 คน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 300,000 เฮกตาร์ ตลอดจน การเข้าเยี่ยมชมศูนย์เพาะพันธุ์อ้อยแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรเกษตรศาสตร์ โรงงานน้ำตาลครบวงจร โรงงาน Bioethanol และโรงงานไฟฟ้า หลังจากการเข้าพบและวิเคราะห์รูปแบบอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทย SRA มีแนวคิดที่จะจัดตังคณะกรรมการอุตสาหกรรม (Industry Committee) เพื่อประเมินผลผลิตอ้อยประจำปีและ วิเคราะห์การแบ่งตลาดสำหรับผลผลิตน้ำตาลในประเทศ รวมทั้งอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งจะช่วยส่งเสริม
ความสามารถในการแข่งขันและสร้างความก้าวหน้าให้กับอุตสาหกรรมน้ำตาลของฟิลิปปินส์
นาย Hermenegildo Serafica ผู้บริหาร SRA กล่าวว่าความสำเร็จของอุตสาหกรรมน้ำตาลไทย เกิดจากความพยายามในการเชื่อมโยงและสร้างความร่วมมือ รวมทั้งการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย ผู้แปรรูป และ เกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยประเทศไทยมีการจัดตั้งสานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ประกอบด้วยผู้แทน จากภาครัฐ 5 คน เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย 9 คน โรงงานน้ำตาล 7 คน เพื่อร่วมกันกำหนดราคาน้ำตาลตั้งแต่ต้นฤดูกาล ผลิตจนสิ้นสุดฤดูกาลผลิต รวมทั้งการประกาศการเริ่มแปรรูปน้ำตาลในแต่ละฤดูกาลผลิตด้วย ทั้งนี พระราชบัญญัติ อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ของไทย ยังได้กาหนดรูปแบบการแบ่งปันรายได้ 70/30 ระหว่างเกษตรกรชาวไร่อ้อย กับโรงงานน้ำตาล โดยแบ่งให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยในอัตราส่วนร้อยละ 70 และโรงงานน้ำตาลร้อยละ 30 ในขณะที่ ฟิลิปปินส์มีการแบ่งปันรายได้ร้อยละ 60-70 สาหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อย และร้อยละ 30-40 สาหรับโรงงานน้ำตาล นอกจากนี เกษตรกรชาวไร่อ้อยในประเทศไทยทุกคนจะต้องลงทะเบียนกับโรงงานแปรรูปที่จะส่งมอบอ้อยและต้องดำเนินการส่งมอบให้กับโรงงานตามปริมาณที่ระบุไว้ โดยการส่งมอบอ้อยจะมีการตั้งโปรแกรมและกำหนด ระยะเวลาโดยโรงงาน ตามข้อมูลที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยมาลงทะเบียนตั้งแต่การเก็บเกี่ยวจากไร่ไปจนถึงเวลาที่ส่ง เข้าโรงงาน นอกจากนี้ ยังมีการ Zoning โดยจะกำหนดพื้นที่เพาะปลูกอย่างเข้มงวดเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขัน ด้านอุปทานและลดต้นทุนการขนส่ง รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนน้ำตาลเพื่อเป็นทุนสารองในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยในอัตราดอกเบียร้อยละ 2
ในส่วนของการวิจัยและพัฒนา สมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย ซึ่งตังอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยอ้อยปีละประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่สถาบันวิจัยน้ำตาลฟิลิปปินส์ มีงบประมาณที่จำกัดสาหรับการวิจัยและพัฒนาทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการ เติบโตของภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีศูนย์เพาะพันธุ์อ้อยที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเช่น การลดระยะเวลาการผสมพันธุ์ลงเหลือ 5 ปี จากการใช้วิธีการผสมพันธุ์ทั่วไปที่ใช้เวลา 10 ปี เป็นต้น
ผลกระทบ
อ้อยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของฟิลิปปินส์และอุตสาหกรรมน้ำตาลมีส่วน ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ไม่ต่ำกว่าปีละ 7 หมื่นล้านเปโซ โดยฟิลิปปินส์มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยประมาณ 422,384 เฮกตาร์ มีเกษตรกรผู้ปลูก อ้อยประมาณ 62,000 คน และมีโรงงานแปรรูป 28 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิต รวม 185,000 ตันต่อวัน สามารถผลิตน้ำตาลทรายดิบโดยเฉลี่ย 2.2 – 2.4 ล้านตันต่อปี และมีคนงานในอุตสาหกรรมน้ำตาลโดยตรงประมาณ 7 แสนคน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงอีก 5 – 6 ล้านคน ทำให้มีประชากรชาวฟิลิปปินส์ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมน้ำตาลทั้งทางตรงและทางอ้อมประมาณร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจึงนับว่าเป็นสินค้าสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์
ผลผลิตน้ำตาลของฟิลิปปินส์อยู่ที่ประมาณ 5.1 ตันต่อเฮกตาร์ ซึ่งค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตหลักอื่นๆโดยโคลัมเบียมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่า 2.38 เท่า ออสเตรเลียสูงกว่า 2.15 เท่า บราซิลสูงกว่า 1.88 เท่า กัวเตมาลา 1.74 เท่า และประเทศไทยมีผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 22 โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมน้ำตาลฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับ ความท้าทายหลายประการ เช่น ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่ำ ปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร (ประชาชน หันไปเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างจำนวนมาก จากการที่รัฐบาลเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้ง การออกไปเป็นแรงงานในต่างประเทศซึ่งได้ค่าตอบแทนสูงกว่า) รวมทั้งภัยธรรมชาติที่ประสบอย่างต่อเนื่อง สร้างความไม่แน่นอนต่อปริมาณผลผลิต นอกจากนี ล่าสุดรัฐบาลฟิลิปปินส์มีแนวคิดที่จะเปิดเสรีนำเข้าน้ำตาล เหมือนเช่นสินค้าข้าว ซึ่งถือเป็นความท้าทายใหม่ของอุตสาหกรรมน้ำตาลฟิลิปปินส์ที่จะต้องแข่งขันกับผู้ผลิตน้ำตาล ต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงกว่าและมีราคาขายต่ำกว่า เช่น ออสเตรเลีย บราซิล และไทย ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลฟิลิปปินส์จึงพยายามหาแนวทางในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน และปรับปรุงคุณภาพการผลิต โดยอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยถือเป็นหนึ่งในโมเดลที่ฟิลิปปินส์เห็นว่าประสบความสำเร็จและมีการวางโครงสร้างและระบบที่ดี มีกฎหมายที่ช่วยสร้างความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะการ กำหนดราคาอ้อย ทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล ส่งผลให้อุตสาหกรรมน้ำตาลไทยสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
โอกาสและแนวทางในการปรับตัวของเอกชนไทย
น้ำตาลถือเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าของฟิลิปปินส์ โดยจะเปิดให้มีการนำเข้าเมื่อผลผลิตประเทศไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาฟิลิปปินส์มีการเปิดการนำเข้าน้ำตาลเป็นระยะๆ โดยในปี 2562 – พฤศจิกายน) ฟิลิปปินส์นำเข้าน้ำตาลปริมาณรวม 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่มีปริมาณนำเข้า 9.66 แสนตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.93 เนื่องจากฟิลิปปินส์มีสต็อกน้ำตาลลดลง จึงอนุมัติให้เอกชนนำเข้าน้ำตาลเพิ่มขึ้น โดยนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 5.14 แสนตัน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.87) รองลงมาได้แก่ อินโดนีเชีย ปริมาณ 3.38 แสนตัน (ร้อยละ 25.59) และจีน ปริมาณ 2.41 แสนตัน (ร้อยละ 18.21) ทั้งนี้ น้ำตาลยังคงเป็นสินค้า จำเป็นต่อการบริโภคในฟิลิปปินส์และเป็นวัตถุดิบสำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม แปรรูปอาหารขนมและเครื่องดื่ม ทำให้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะยังคงเติบโตต่อไป ในอนาคต ทั้งนี้ หากอุตสาหกรรมน้ำตาลภายในฟิลิปปินส์สามารถพัฒนาโครงสร้างให้มีความเข้มแข็งและพร้อมที่จะ แข่งขันในตลาดโลก อาจทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ตัดสินใจเปิดเสรีนำเข้าน้ำตาล เพื่อให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรมในตลาด มากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคและอุตสหากรรมต่อเนื่องในฟิลิปปินส์จะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีดังกล่าว นอกจากนี้ ก็จะช่วยส่งผลดีต่อการส่งออกน้ำตาลไทยไปยังฟิลิปปินส์ที่จะเป็นไปโดยเสรีมากขึ้น ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ถือเป็นตลาดศักยภาพ ขนาดใหญ่และน้ำตาลของไทยก็เป็นที่ต้องการ ได้รับความเชื่อถือในเรื่องคุณภาพมาตรฐานโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ของฟิลิปปินส์