มาเลเซียเตรียมประกาศ ‘ยุทธศาสตร์ราคาน้ำตาลใหม่’
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกล่าวว่าจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของทุกฝ่าย อันได้แก่ อุตสาหกรรม ผู้ค้า และผู้บริโภค
ฟูซิอะ ซาลเล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าภายในกล่าว รัฐบาลคาดว่าจะเปิด “ยุทธศาสตร์ใหม่” เพื่อแก้ไขปัญหาราคาน้ำตาล ท่ามกลางเสียงเรียกร้องให้ขึ้นหรือลอยตัวราคาน้ำตาล
ฟูซิอะกล่าวว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการหารือกับกระทรวงอื่น ๆ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อมทั้งระบุเพิ่มเติมด้วยว่า ในการนี้รัฐบาลยังได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เล่นในอุตสาหกรรมและผู้ค้ารายย่อยด้วยเช่นกัน
ฟูซิอะกล่าวว่า “เรากำลังมองหาแนวทางแก้ไขปัญหา เราต้องการให้อุตสาหกรรมมีผลประกอบการที่ดีโดยไม่ส่งผลกระทบต่อราคาอาหารและเครื่องดื่ม ในขณะเดียวกันต้องการรับประกันด้วยว่าผู้ค้าและผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์”
“หากผู้ค้าต้องซื้อน้ำตาลจากภาคอุตสาหกรรมโดยไม่มีการควบคุมราคา ธุรกิจขนาดเล็กที่จำหน่ายขนมหวาน ขนมเค้ก และขนมพื้นบ้านจะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ”
“ดังนั้นถ้าเราขึ้นราคาน้ำตาล พ่อค้าเหล่านั้นก็จะขึ้นราคาอาหารด้วย นั่นเป็นสาเหตุว่าเหตุใดต้องกำกับดูแลโครงสร้างราคาใหม่นี้”
ปัจจุบันเพดานราคาน้ำตาลกรวดอยู่ที่ 2.85 ริงกิตมาเลเซียต่อกิโลกรัม และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์อยู่ที่ 2.95 ริงกิตมาเลเซียต่อกิโลกรัม
ฟูซิอะกล่าวว่าจากข้อมูลของแผนกสถิติ ชาวมาเลเซียแต่ละครัวเรือนบริโภคน้ำตาลโดยเฉลี่ย 2.6 กิโลกรัมต่อเดือน
เขาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของอาเมียร์ อาลีมายดิน กรรมการผู้จัดการบริษัทมายดิน (Mydin) เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาในการให้รัฐบาลลอยตัวหรือขึ้นเพดานราคาน้ำตาลจาก 2.85 ริงกิตมาเลเซียเป็น 3.80 ริงกิตมาเลเซีย เนื่องจากราคาน้ำตาลในต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น
อันเนื่องมาจาก อาหมัด ชาเบรี ชีค ประธานบริษัทเฟลด้าแสดงความกังวลว่าราคาน้ำตาลที่ต่ำจะส่งผลกระทบต่อผู้จัดการของเฟลด้าที่เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเอฟจีวี โอลดิ้งส์ และบริษัทโคเปราซี เปอร์โมดาลัน เฟลด้า และนอกจากนี้ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทเอ็มเอสเอ็ม มาเลเซีย โฮลดิ้งส์ (MSM) ด้วย
เอ็มเอสเอ็ม มาเลเซีย โฮลดิ้งส (MSM) เป็นหนึ่งในบริษัทที่ประกอบธุรกิจผลิตน้ำตาลในท้องถิ่นร่วมกับบริษัทเซ็นทรัล ชูการ์ รีไฟเนอรี่ (CSR) โดย MSM มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 60% ในขณะที่ CSR มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 40%
ในเดือนมีนาคม อาเมียร์เรียกร้องให้ยกเลิกเพดานราคาขายปลีกน้ำตาลหลังจากที่มีข่าวว่าราคาขายปลีกน้ำตาลสูงสุดอยู่ที่ 2.85 ริงกิตมาเลเซีย/กก. ซึ่งแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปเลยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งอาจถูกลอยตัวได้
เขาเสริมว่าไม่เพียงแต่รัฐบาลควรอนุญาตให้มีกลไกตลาดเสรีในตลาดน้ำตาลเท่านั้น แต่ควรยกเลิกใบอนุญาต (APs) นำเข้าน้ำตาลอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการแข่งขัน
ก่อนหน้านี้ อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำตาลระบุว่ากำลังหารือกับรัฐบาลเพื่อลอยตัวเพดานราคาขายปลีกน้ำตาล ซึ่งเพิ่มขึ้นสุทธิเพียง 1 เซน (0.075 บาทไทย) ตั้งแต่ปี 2556 และเพิ่มขึ้น 11 เซน (0.825 บาทไทย) ในปี 2560 เป็น 2.95 ริงกิตมาเลเซีย/กก. ก่อนที่ราคาจะลดลงเหลือเพียง 2.85 ริงกิตมาเลเซีย/กก. ในปี 2561