สถาบันน้ำตาลคานปูร์ประสบความสำเร็จผลิต ‘ไบโอชาร์’
สถาบันน้ำตาลคานปูร์ ประเทศอินเดีย ประสบความสำเร็จในการผลิต ‘ไบโอชาร์’ จากชานอ้อยที่เหลือใช้ในผลิตจากโรงงานน้ำตาล ซึ่งปัจจุบันชานอ้อยเป็นวัสดุเส้นใยที่เกิดขึ้นหลังจากการบดอ้อย และโดยส่วนใหญ่จะใช้ผลิตต่อเป็นเชื้อเพลิง
ศ. นเรนดรา โมฮาน ผู้อำนวยการจากสถาบันแห่งนี้อธิบายว่า ปัจจุบันโรงกลั่นน้ำตาลใช้ ‘เรซินแลกเปลี่ยนไอออน’ (Ion Exchange Resin) เพื่อขจัดสีของน้ำตาลที่หลอมละลายให้กลายเป็นน้ำตาลค่าสีต่ำที่มีคุณภาพสูงกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม การใช้เรซินดังกล่าวทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น นอกเหนือจากการสร้างของเสียในปริมาณมาก การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการทดลองในห้องปฏิบัติการจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการแทนที่ เรซินแลกเปลี่ยนไอออน ด้วย ‘ไบโอชาร์’ ที่ผลิตจากชานอ้อยแทน
การทดลองในระดับห้องปฏิบัติการสำหรับการลดสีของน้ำตาลละลายนั้นได้ให้ผลที่น่าพึงพอใจเพราะมีการลดสีได้ถึง 30% ถ่านชีวภาพดังกล่าวที่ผลิตจากชานอ้อยได้รับการจัดเตรียมโดยการทำให้ชานอ้อยแห้ง ก่อนนำไปบดและกรองให้ได้ขนาดอนุภาคที่ต้องการ แล้วเข้าสู่กระบวนการไพโรไลซิส(Pyrolysis) ภายใต้สภาวะไร้อากาศ หรือการกระตุ้นการสลายตัวด้วยอุณหภูมิสูงในที่ไม่มีอากาศ หลังจากนั้น จึงมีการกระตุ้นพื้นผิวผ่านการบำบัดด้วยกรดภายใต้สภาวะควบคุม
ชาลินี กุมารี นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการนี้ กล่าวทิ้งท้ายว่า ‘ไบโอชาร์’ นี้ จะมีประมาณ 10% จะผลิตได้มาจากชานอ้อย ดังนั้น หากพิจารณาจากราคาชานอ้อยที่ 2,000 รูปีต่อล้านตัน ต้นทุนการผลิตนั่นคาดว่าน่าจะลดลงได้อีก