อินเดียมุ่งปฏิวัติทางการเกษตรกรรม 2.0 เพื่อให้การเกษตรทนต่อสภาพอากาศและยั่งยืนมากขึ้น
บทความเกี่ยวกับความท้าทายของภาคการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ที่เขียนโดย ธนาคารรีเซิร์ฟ แบงค์ของประเทศอินเดียชี้ให้เห็นว่า อินเดียจำเป็นต้องมีการปฏิวัติทางการเกษตรกรรมครั้งที่สองไปพร้อมกับการปฏิรูปทางการเกษตรรุ่นต่อไป เพื่อให้การทำการเกษตรทนต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบที่ยั่งยืนมากขึ้น จากการสังเกตว่าการเกษตรของอินเดียสามารถฟื้นตัวได้อย่างน่าทึ่งในช่วงระยะเวลาของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งบทความดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า “เป็นที่แน่นอนยิ่งว่าจะเกิดความท้าทายใหม่เกี่ยวกับการปฏิวัติทางการเกษตรกรรมครั้งที่สองพร้อมๆ กับการปฏิรูปรุ่นต่อไป”
จากบทความเรื่อง “การเกษตรแบบอินเดีย: ความสำเร็จและความท้าทาย” ยังอธิบายว่า แม้จะประสบความสำเร็จในด้านการผลิตที่มีความมั่นคงด้านอาหารในประเทศอินเดีย แต่อัตราเงินเฟ้อและความผันผวนของอาหารยังคงเป็นความท้าทาย ซึ่งอาจต้องมีการแทรกแซงจากฝั่งอุปทาน เช่น การลงทุนภาครัฐที่สูงขึ้น โครงสร้างพื้นฐานในการจัดเก็บอาหาร และการส่งเสริมการแปรรูปอาหาร เป็นต้น
บทความดังกล่าวยังระบุว่า การทำการเกษตรของอินเดียเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ในการผลิตธัญพืชอาหาร พืชผลทางการค้าและพืชสวนต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความยืดหยุ่นและรับประกันความมั่นคงด้านอาหารในช่วงระยะเวลาของการระบาดโควิด-19
และบทความนี้ยังระบุว่า “อย่างไรก็ตาม ทุกภาคส่วนต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ซึ่งในการบรรเทาผลกระทบต้องใช้แนวทางนโยบายแบบองค์รวม”
ตัวอย่างเช่น ผลผลิตพืชผลในอินเดียต่ำกว่าประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าและตลาดใหม่อื่นๆ อย่างมาก เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น การจัดสรรแบ่งส่วนที่ดิน การใช้เครื่องจักรในฟาร์มน้อย และการลงทุนภาครัฐและเอกชนในด้านการเกษตรที่ลดลง
อีกประการหนึ่ง บทความนี้ยังกล่าวว่าการผลิตพืชผลมากเกินไปในปัจจุบัน เช่น ข้าว ข้าวสาลี และอ้อย ได้ทำให้น้ำใต้ดินหมดลงอย่างรวดเร็ว ความเสื่อมโทรมของดิน และมลพิษทางอากาศจำนวนมาก จนทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของการทำการเกษตรในปัจจุบันของอินเดีย
นอกจากนั้น แม้ว่าจะมีการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์เกินเป็นจำนวนมาก แต่อัตราเงินเฟ้อของอาหารและความผันผวนของราคายังคงสูง ทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้บริโภคและรายได้สำหรับเกษตรกรยังคงต่ำและผันผวน
ซึ่งการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้จำเป็นต้องมีการปฏิวัติธรรมชาติครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นที่การเชื่อมโยงพลังงานน้ำเพื่อการเกษตร (water-energy nexus) ทำให้การเกษตรทนต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและการปรับปรุงพันธุ์จะมีความสำคัญในการพัฒนาพันธุ์พืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้านทานโรค ทนต่อสภาพอากาศ มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น และมีความหลากหลาย
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและบริการเพิ่มเติมอื่นๆ ในวงกว้างจะเป็นประโยชน์ในการแบ่งปันข้อมูลและสร้างความตระหนักในหมู่เกษตรกร
นอกจากนี้ บทความดังกล่าวยังเน้นว่า การจัดการความเสียหายหลังการเก็บเกี่ยวที่ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นและปรับกระบวนการสหกรณ์ด้วยการจัดตั้งองค์กรเกษตรกรและผู้ผลิต (FPO) ที่สามารถตรวจสอบความผันผวนของราคาอาหารและรายได้ของเกษตรกร และช่วยควบคุมศักยภาพที่แท้จริงของการเกษตรในอินเดียได้ในที่สุด