อินโดนีเซียกำลังเป็น “โอกาสทอง” ของผู้ส่งออกน้ำตาลระดับโลก
อินโดนีเซียต้องการน้ำตาลทรายดิบอย่างน้อย 3,500,000 ตัน (สามล้านห้าแสนตัน)ในฤดูกาลนี้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการบริโภคภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งอาจสร้างโอกาสใหม่ๆ และสร้างตลาดส่งออกที่น่าจับตามองสำหรับโรงงานน้ำตาลในอินเดียที่มีสต็อกน้ำตาลในประเทศจำนวนมหาศาล
โอกาสในการส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปยังอินโดนีเซียมีแนวโน้มที่จะเปิดกว้างให้แก่ผู้ผลิตน้ำตาลของอินเดียมากขึ้น ผู้อาวุโสในแวดวงอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า นับเป็นครั้งแรกที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนมาตรฐานด้านคุณภาพเพื่อให้สามารถนำเข้าน้ำตาลทรายดิบจากอินเดียได้ อินโดนีเซียนำเข้าเฉพาะน้ำตาลทรายดิบที่มีคุณภาพจากการวิเคราะห์น้ำตาลทรายตามมาตรฐาน (International Commission for Uniform Methods of Sugar Analysis-ICUMSA) ที่อยู่ในระดับ 1,200 ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าเป็นระดับ ICUMSA ที่สูงมาก และแม้แต่น้ำตาลทรายดิบที่มีคุณภาพดีที่สุดของอินเดียก็ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการนำเข้านี้ แต่แหล่งข้อมูลเชื่อว่าจะมีการผ่อนปรนคุณภาพของน้ำตาลทรายดิบในระดับนี้ให้เหลือประมาน 500-600 ICUMSA ซึ่งคาดว่าน่าจะประกาศอย่างเป็นทางการในไม่ช้านี้
อินโดนีเซียนำเข้าน้ำตาลส่วนใหญ่จากประเทศไทยซึ่งมีค่าระดับ ICUMSA สูง แต่อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนักและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการภายในประเทศของตนได้ และในส่วนของบราซิลยังไม่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลผลิตน้ำตาล ทำให้อินเดียเป็นซัพพลายเออร์รายเดียวที่พอจะสามารถส่งออกน้ำตาลได้ในขณะนี้ นายปราคาช นายนาวาร์ (Prakash Naiknavare) กรรมการผู้จัดการสหพันธ์สหกรณ์โรงงานน้ำตาลแห่งชาติอินเดีย (National Federation of Cooperative Sugar Factories Federation: NFCSFF) ระบุว่าเมื่อปีที่แล้วรัฐบาลอินเดียได้ส่งคณะผู้แทนซึ่งนำโดยเลขาธิการร่วม รัฐบาลอินเดีย พร้อมด้วยตัวแทนจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งออกน้ำตาล และอินโดนีเซียได้แสดงท่าทีการตอบสนองในเชิงเชิงบวกต่อกัน
นายอภินาช เวอร์มา (AbinashVerma) ผู้อำนวยการสมาคมโรงงานน้ำตาลแห่งอินเดียกล่าวว่า “สัญญาการส่งออกจะต้องมีการลงนามกับโรงงานในรัฐมหาราษฏระและรัฐกรณาฏกะทันทีเพื่อผลิตน้ำตาลทรายดิบก่อนที่การหีบอ้อยจะสิ้นสุดลงในประมาณอีกหนึ่งเดือนนี้” นอกจากนี้เขายังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า “การจัดสรรโควต้าการส่งออกให้กับโรงงานน้ำตาลทางตอนเหนือของอินเดียที่รวดเร็วจะช่วยให้สามารถเพิ่มอัตราการผลิตน้ำตาลทรายดิบได้มากขึ้นก่อนที่การหีบอ้อยจะสิ้นสุดสุดลงในเดือนพฤษภาคมนี้”
คณะผู้แทนได้พบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล โรงงานน้ำตาลในอินโดนีเซีย และสมาคมน้ำตาลท้องถิ่น และได้ยื่นข้อเรียกร้องสองประการ คือ การลดภาษีจากร้อยละ 15 ให้เหลือร้อยละ 5 และผ่อนปรนมาตรฐาน ICUMSA ให้กับน้ำตาลของอินเดีย ซึ่งน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ของอินเดียถือเป็นน้ำตาลที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก โดยมีระดับ ICUMSA อยู่ที่ 45 น้ำตาลทรายขาวที่มีคุณภาพต่ำจะมีคุณภาพอยู่ที่ 150-200 และน้ำตาลทรายดิบมีระดับ ICUMSA อยู่ที่ 600-1,000 นายปราคาช นายนาวาร์ (Prakash Naiknavare) กล่าวว่าน้ำตาลของอินเดียจัดอยู่ในประเภท VVHP (Very Very Highly Polarized) ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของโรงงานน้ำตาลเนื่องจากน้ำตาลชนิดนี้ให้ผลผลิตน้ำตาลที่มีคุณภาพดีกว่า ทำให้สามารถขายได้ในราคาที่ดีกว่ามาก
“อินโดนีเซียนำเข้าน้ำตาล 35 – 45 แสนตัน (สามล้านห้าแสนตันถึงสี่ล้านห้าแสนตัน) ต่อปี และเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากจีน ตามปกติแล้วประเทศไทยถือเป็นผู้จัดหาน้ำตาลรายใหญ่ให้แก่ประเทศอินโดนีเซีย แต่เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำตาล ส่งผลให้ราคาน้ำตาลภายในประเทศสูงขึ้นและกดดันให้รัฐบาลไทยต้องนำเข้าน้ำตาล ซึ่งสภาวะดังกล่าวถือว่าเป็นประโยชน์กับประเทศของเรา” นายปราคาช นายนาวาร์ (Prakash Naiknavare) กล่าว
แม้ว่าฤดูกาลผลิตน้ำตาลของอินเดียจะลดน้อยลง แต่ยังคงมีโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศอยู่ถึง 400 แห่ง แม้รัฐรัฐมหาราษฏระและรัฐกรณาฏกะ ฤดูกาลผลิตน้ำตาลกำลังจะสิ้นสุดลง แต่โรงงานน้ำตาลในรัฐอุตตรประเทศ แคว้นปัญจาบ และรัฐหรยาณา ฤดูกาลผลิตน้ำตาลนี้น่าจะขยายออกไปได้จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ภายใต้โควตาการส่งออกสูงสุด (Maximum Admissible Export Quota-MAEQs) จำนวน 60 ล้านตันที่ออกโดยรัฐบาล มีประมาณ 35 แสนตัน (สามล้านห้าแสนตัน) ที่พร้อมที่จะทำสัญญาซื้อขาย และยังคงเหลืออีก 25 ล้านตัน ที่พร้อมจะทำการส่งออก เขากล่าว
นายปราคาช นายนาวาร์ (Prakash Naiknavare) กล่าวว่า นี่ถือเป็นโอกาสทองสำหรับผู้ผลิตน้ำตาลของอินเดียเนื่องจากไม่มีประเทศอื่นในตลาดโลกที่มีน้ำตาลอยู่ในมือและอินเดียอาจกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดในปีนี้หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เมื่อฤดูกาลผลิตน้ำตาลเริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคม การส่งออกน้ำตาลทรายดิบรอบแรกจะมีมูลค่าอยู่ที่ 21,000 รูปีต่อตัน เมื่อเทียบกับราคาขายขั้นต่ำในตลาดภายในประเทศที่อยู่ที่ 31,000 รูปีต่อตัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ส่งออกมีผลกำไรจาการการผลิตน้ำตาลอยู่ที่ 24,000 รูปี ต่อตัน และสามารถขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลได้ถึง 10,480 รูปี ต่อตัน ซึ่งหมายความว่าโรงงานน้ำตาลในรัฐมหาราษฏระขายน้ำตาลภายในประเทศอยู่ที่ราคา 31-32 รูปี ต่อกิโลกรัม และมูลค่าการส่งออกเฉลี่ย 34 รูปี ต่อกิโลกรัม รวมถึงได้รับเงินอุดหนุนด้วย เขากล่าวว่า “การเปลี่ยนมาผลิตน้ำตาลทรายดิบช่วยปรับปรุงสภาพคล่องของโรงงานน้ำตาลได้ ดังนั้นผมจึงขอให้โรงงานน้ำตาลทั้งหมดใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้”
ในการเปลี่ยนมาผลิตน้ำตาลทรายดิบนั้น ผู้ผลิตน้ำตาลจำเป็นต้องปิดโรงงานเป็นเวลาหนึ่งวันและทำความสะอาดเครื่องจักรทั้งหมด เราต้องตระหนักว่าฤดูกาลผลิตน้ำตาลของบราซิลจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน และคาดว่าประเทศดังกล่าวจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ถึง 32 ล้านตัน และในช่วงเวลานี้พวกเขาจะหันไปผลิตอ้อยกันเป็นจำนวนมากซึ่งจะทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลง ส่วนฤดูกาลผลิตน้ำตาลของออสเตรเลียจะเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ดังนั้นในช่วงเวลานี้อินเดียจึงอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบอย่างมาก เขากล่าวทิ้งท้าย
ประเทศซึ่งกำลังแข่งกับบราซิลในการเป็นผู้ผลิตรายต้นๆ อาจขายน้ำตาลทรายดิบจำนวน 250,000 ตัน ให้กับอินโดนีเซียเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการหีบอ้อยในเดือนพฤษภาคม ภายหลังจากที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านคุณภาพน้ำตาล อินโดนีเซียอาจซื้อน้ำตาลจากอินเดียถึง 300,000 ตันในปีนี้