อินโดนีเซียผงาดเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลรายใหญ่สุดของอินเดีย
อินโดนีเซีย กลายเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลทรายดิบรายใหญ่ที่สุดของผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับสองของโลกอย่างอินเดีย ซึ่งช่วยชดเชยการชะลอส่งออกน้ำตาลไปยังอิหร่าน ที่กำลังประสบปัญหาการชำระเงิน ทั้งนี้ ข้อมูลจากสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดีย (Indian Sugar Mills Association: ISMA) นายอะบินาส เวอร์มา ผู้อำนวยการสมาคมฯ เปิดเผยว่า อินโดนีเซียนำเข้าน้ำตาลจากอินเดียถึง 20 แสนตัน ปัจจุบันราคาน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ทำให้มีโอกาสในการเร่งส่งออกน้ำตาล
นายเวอร์มา กล่าวว่า โอกาสของอินเดียในการส่งออกน้ำตาลไปยังอินโดนีเซียนั้น ถือว่ามีความสดใสเนื่องจากประเทศไทย ที่นำเข้าน้ำตาลไปยังจาการ์ตา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80-85 ของการนำเข้าทั้งหมด กำลังประสบปัญหาผลผลิตลดลงติดต่อกันเป็นปีที่สอง “สิ่งนี้ทำให้อินเดียมีความได้เปรียบ นอกจากนี้ อินเดียยังได้รับอนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลไปอินโดนีเซียได้โดยมีภาษีนำเข้าในอัตราพิเศษเช่นเดียวกับไทยและออสเตรเลียซึ่งจะช่วยให้การส่งออกน้ำตาลของอินเดียเติบโตมากขึ้น” เจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับสูงสุดของโรงงานน้ำตาลเอกชนในอินเดียกล่าว
ราฮิล เสคห์ กรรมการผู้จัดการของเอ็มอีไออาร์ คอมโมดิตี้ส์ อินเดีย (MEIR Commodities India) กล่าวว่า “บทบาทของอินโดนีเซียและอิหร่านที่มีต่อการส่งออกน้ำตาลของอินเดียเปลี่ยนไปโดยจาการ์ตามีแนวโน้มที่จะนำเข้าน้ำตาลกว่า 10 แสนตัน เมื่อเทียบกับฤดูกาลที่แล้วที่นำเข้าเพียง 3 แสนตันเท่านั้น (ตุลาคม พ.ศ. 2562 – กันยายน พ.ศ. 2563)” เขากล่าวว่า มีการทำสัญญาส่งออกน้ำตาลอย่างน้อย 16 แสนตัน นับตั้งแต่รัฐบาลสหภาพ (Union government) ประกาศให้เงินอุดหนุนการส่งสินค้าจำนวน 6,000 รูปีต่อตันในเดือนธันวาคม
ภายใต้ระบบค่าแรงจูงใจที่รัฐบาลสหภาพจะต้องจ่ายจำนวน 3,500 รูปี ทำให้สามารถส่งออกน้ำตาลได้ถึง 6 ล้านตัน ศูนย์ฯ ประกาศค่าแรงจูงใจที่จะช่วยโรงงานน้ำตาลในการเคลียร์สินค้าคงเหลือส่วนหนึ่งและจ่ายเงินค้างชำระค่าอ้อยให้กับเกษตรกรเป็นเงินประมาณตันละ 13,000 รูปี สำหรับอ้อยในฤดูกาลที่แล้ว
เขาให้ข้อมูลว่า การส่งออกเริ่มดีตามราคาน้ำตาลทรายดิบที่ดี “เราไม่อาจแข่งกับบราซิลในตลาดได้ แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เราอยู่ในจุดที่ดีกว่า” อย่างไรก็ตามอินเดียมีโอกาสที่จะส่งออกได้ในปริมาณที่ดีไปจนถึงเดือนมีนาคม เมื่ออ้อยจากบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลกเข้าสู่ตลาด และสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน อินเดียจะส่งออกน้ำตาลทรายขาวได้ยาก แต่เราสามารถที่จะผลักดันการส่งออกน้ำตาลทรายดิบได้ในแง่ของข้อจำกัดด้านท่าเรือ การเคลื่อนย้าย และตู้คอนเทนเนอร์
เขากล่าวว่า “น้ำตาลที่ส่งออกมีการเสนอราคาอยู่ที่ 26,000 รูปี ในเดือนธันวาคม และขณะนี้อยู่ที่ 27,000-27,500 รูปี” และเสริมว่าส่วนสำคัญของการส่งออกคือน้ำตาลทรายดิบ ราคาน้ำตาลปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง” กรรมการผู้จัดการของเอ็มอีไออาร์ คอมโมดิตี้ส์ อินเดีย กล่าว
เปาโล โรเบอร์โต เดอร์ ซัวซา (Paulo Roberto de Souza) ประธานบริษัทแอลเวียน ผู้ค้าน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลกบอกกับสื่อบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ว่า ตลาดทั่วโลกจะเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำตาลเป็นเวลาสองปีอันเนื่องมาจากผลผลิตที่ลดลงถึง 50 แสนตันในฤดูกาลนี้ และ 60 แสนตันในฤดูกาลหน้า
ด้านนายเวอร์มา กล่าวว่า ความต้องการน้ำตาลทรายดิบอยู่ในเกณฑ์ดี ประเทศส่วนใหญ่ต่างมีการตั้งโรงงานหรือโรงกลั่นน้ำตาลทรายดิบ หากอินโดนีเซียกลายเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลอินเดียรายใหญ่ที่สุด น้ำตาลทรายดิบก็จะมีบทบาทสำคัญ” ประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย บังกลาเทศ และประเทศในแถบอ่าวนั้นล้วนมีโรงกลั่นน้ำตาลทรายดิบ “แต่จะยังคงมีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น ศรีลังกา อัฟกานิสถาน และแอฟริกาตะวันออกเป็นจำนวนมาก” เขากล่าว
อินเดียจำเป็นต้องส่งออกน้ำตาลอย่างน้อย 50 แสนตันในฤดูกาลนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าโรงงานน้ำตาลจะไม่ต้องแบกรับภาระในการสต๊อกสินค้าไว้เป็นจำนวนมาก อุตสาหกรรมน้ำตาลมีสต็อกน้ำตาลกว่า 10.7 ล้านตัน ตั้งแต่ฤดูกาลที่แล้วจนถึงฤดูกาลนี้ แม้ว่าจะมีการส่งออกน้ำตาลมากถึง 57 แสนตัน แต่ยังคงมีสต็อกคงค้างอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ยังถือว่าสูงเป็นประวัติการณ์อยู่ดี
สต็อกคงค้างคาดว่าจะสูงถึง 9.6 ล้านตันในฤดูกาลนี้เนื่องจากมีการผลิตน้ำตาลอยู่ในระดับที่สูง โดยการผลิตน้ำตาลของอินเดียอยู่ที่ประมาณ 31 ล้านตัน เมื่อเทียบกับฤดูกาลที่แล้วที่มีการผลิตเพียง 27.42 ล้านตัน อย่างไรก็ตามแหล่งอุตสาหกรรมบางแห่งในปัจจุบันมีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากผลผลิตที่ลดลงในรัฐต่างๆ เช่น รัฐอุตตรประเทศ และการหันไปใช้อ้อยในการผลิตน้ำตาลแคนซารี