เกษตรกรรุ่นใหม่เลือกสามารถ
นับตั้งแต่ที่มีการระบาดของโควิด-19 ภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ลูกหลานของชาวเกษตรกรที่วาดฝันไว้ว่าจะก่อร่างสร้างตัวด้วยการเปิดธุรกิจในเมืองใหญ่จำต้องหวนกลับคืนสู่อ้อมกอดของบ้านเกิดในชนบทที่ตนเติบโตมา ขณะที่เฝ้ารอให้โรคระบาดคลี่คลายความรุนแรงลงนั้น คนวัยหนุ่มสาวหล่านี้ได้เริ่มหันมาให้ความสนใจกับธุรกิจเกษตรกรรมที่ครอบครัวของตัวเองได้สืบทอดกิจการกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
เมื่อนักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเหล่านี้ได้ลองศึกษากระบวนการทำมาหากินของพ่อแม่พร้อมกับตกผลึกทางความคิดว่าชีวิตในเมืองใหญ่อาจไม่ใช่เส้นทางที่ตอบโจทย์อีกต่อไป จึงได้ตัดสินใจว่าจะสร้างอนาคตใหม่บนไร่นาที่พ่อแม่ได้ลงหลักปักฐานไว้ให้ หากแต่จะเปลี่ยนมาใช้วิธีการทำเกษตรกรรมยุคใหม่แทน
ตัวอย่างของเกษตรกรป้ายแดงกลุ่มนี้คือคุณคเณศ ผู้ตัดสินใจเดินทางกลับมาสู่ผืนไร่ของคุณพ่อในจังหวัดนครราชสีมา (หรือที่รู้จักในชื่อ โคราช) หลังจากที่ธุรกิจหลายแห่งในกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบจากมาตรการสั่งปิดกั้นพื้นที่ ก่อนหน้านี้ในปีที่ผ่านมาเราได้พูดคุยกับคุณคเณศในประเด็นของการตัดสินใจเข้ามาช่วยพลิกโฉมกิจการครอบครัวและปัจจัยที่ดึงดูดให้เขาหันกลับมาสู่วิถีชาวเกษตรกร โดยคุณคเณศได้เล่าให้ฟังว่า
“ผมต้องปลุกใจตัวเองให้ลองดูสักตั้ง และผมก็ตัดสินใจแน่วแน่ว่าเราจะต้องบริหารจัดการพืชพันธุ์ในไร่ให้เหมาะสม แม้ว่าราคาของน้ำตาลจะค่อนข้างตกต่ำตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา แต่เมื่อลองคำนวณดูแล้วผมคิดว่าน้ำตาลยังเป็นตัวเลือกที่น่าลงทุนเพราะราคาจะอิงอยู่กับตลาดโลกครับ และกำลังมีการพัฒนาต่อยอดเพื่อนำน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย”
คุณคเนศ เกษตรกรรุ่นใหม่ จากจ.นครราชสีมา ถ่ายกับทีมงานเครื่องยนต์ของสามารถเกษตรยนต์
ด้วยสายเลือดของเกษตรกรที่มีอยู่เต็มตัว คุณคเณศจึงได้ทุ่มเวลาในการศึกษาเรื่องกระบวนการเก็บเกี่ยวอ้อยที่มีการผสมผสานระหว่างการใช้แรงงานคนและการเช่าเครื่องจักรทางการเกษตร โดยได้กล่าวไว้ว่า
“ผมมองออกตั้งแต่แรกเลยว่าเราต้องเอาเครื่องจักรเข้ามาใช้งานในทุกขั้นตอนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ
มีปัจจัยอยู่หลายประการที่ผลักดันให้ผมต้องหันมาใช้รถตัดอ้อย แต่สาเหตุหลัก ๆ ก็คือเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและลดการพึ่งพาแรงงานคนครับ แม้ว่าเราจะยังเห็นภาพที่พี่น้องเกษตรกรลงเก็บเกี่ยวพืชผลด้วยมือ แต่การใช้รถตัดอ้อยจะทำให้งานเสร็จได้รวดเร็วขึ้นหลายเท่า ผมจึงได้ข้อสรุปว่าการฝึกฝนแรงงานคนให้สามารถใช้งานรถตัดอ้อยเป็นนั้นมีความเหมาะสมกว่าการไปเร่งให้เกษตรกรรีบลงมือเก็บเกี่ยวไว ๆ ครับ
รัฐบาลได้ออกคำสั่งห้ามเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว แม้จะฟังดูสมเหตุสมผล แต่พี่น้องเกตรกรจำนวนมากกลับไม่เห็นด้วยกับมาตรการนี้ครับ ส่วนตัวผมก็เห็นด้วยกับรัฐบาลและไม่อยากสร้างภาระตกทอดไปถึงลูกหลาน อ้อยกำลังกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ ถ้าผมสามารถทำไร่อ้อยด้วยความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่กระทบกับรายได้ที่เข้ามา ผมก็จะเดินหน้าต่อในเส้นทางนี้ครับ การตัดอ้อยตอนที่ต้นยังอ่อนอยู่ทำให้ได้อ้อยในสภาพดีที่สุดเข้ามาสู่โรงหีบ ซึ่งจริง ๆ แล้วมาตรการนี้ก็เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย แต่ว่าบางคนยังไม่เข้าใจครับ”
ด้วยพื้นเพของครอบครัวที่คลุกคลีอยู่กับวิถีเกษตรกรมาหลายชั่วอายุคน จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณคเณศจะรู้จักกับพี่น้องชาวไร่ชาวสวนอยู่เป็นจำนวนมาก และระหว่างที่กำลังเลือกหาเครื่องจักรที่เหมาะสมในการเข้ามาช่วยทุ่นแรง คุณคเณศก็ได้หันไปขอคำปรึกษาจากเพื่อนที่ใกล้ชิดกับครอบครัวอย่างคุณเกรียงศักดิ์ โดยคุณคเณศกล่าวว่า
“ลุงเกรียงศักดิ์เป็นเหมือนกับอาจารย์คนหนึ่งของผมครับ ผมรู้จักลุงเขาตั้งแต่ตอนที่ผมยังเด็ก ลุงเกรียงศักดิ์แนะนำให้ผมลองใช้รถตัดอ้อยรุ่น SM200 C ของสามารถเกษตรยนต์ดูก่อน ตอนนั้นผมรู้แค่ว่าลุงเกรียงศักดิ์มีรถตัดอ้อยอยู่คันหนึ่งที่เป็นรุ่นเก่ามาก ๆ แต่ผมไม่รู้ว่าเป็นรุ่นอะไรครับ”
รถตัดอ้อยที่คุณเกรียงศักดิ์เลือกใช้เป็นของหจก.สามารถเกษตรยนต์ ซึ่งมีอายุการใช้งานเกิน 20 ปีแล้ว และได้มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจนต่างไปจากสภาพเดิมมาก รถตัดอ้อยคันนี้เป็นรุ่น SM-200 TT ที่วางเครื่องยนต์เพิ่มเป็น 3 เครื่อง พร้อมติดตั้งพัดลมที่ผ่านการปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม เสริมด้วยเครื่องตัดโคนสมรรถนะสูงและเครื่องสับท่อนรุ่นใหม่ล่าสุด นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนห้องคนขับเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วย การปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนให้กับรถตัดอ้อยของคุณเกรียงศักดิ์คันนี้เป็นไปเพื่อการทดแทนชิ้นส่วนที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน แต่ก็มีบางจุดที่เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อเสริมสมรรถนะให้สูงขึ้น
คุณเกรียงศักดิ์เล่าให้ฟังว่า “รถตัดอ้อยสามารถฯ ของผมเป็นเครื่องจักรทำเงินของจริงครับ เพราะรถคันนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นอื่น ๆ ที่ผมเคยเห็นมา ผมขับเอง ซ่อมเอง แต่งเพิ่มเองได้ แล้วก็อุ่นใจเรื่องอะไหล่กับชิ้นส่วนที่หาง่าย เรียกได้วาเป็นเครื่องมือทำมาหากินคุณภาพสูง ถ้าดูแลรักษาให้ดีก็ใช้งานได้ไปยาว ๆ หลายสิบปีเลยครับ”
เมื่อเราลองถามคุณเกรียงศักดิ์ว่าเคยคิดเปลี่ยนรถตัดอ้อยเป็นคันใหม่บ้างหรือเปล่า เขาก็ถามกลับมาว่า
“ทำไมต้องเปลี่ยนด้วยล่ะครับ?”
ด้านคุณคเณศก็อธิบายเพิ่มเติมว่า “พอได้เห็นลุงเกรียศักดิ์ใช้รถตัดอ้อยของสามารถฯ มานานขนาดนี้ ทำให้ผมสนใจรถตัดอ้อยรุ่น SM200 C ขึ้นมาทันทีครับ รถรุ่นนี้มีข้อดีหลายอย่าง แต่การซื้อของที่มีราคาสูงย่อมตามมาด้วยภาระของการหาแหล่งเงินกู้ ซึ่งทางสามารถเกษตรยนต์เป็นผู้ประกอบการที่มีชื่อเสียงจึงสามารถจัดหาเงินกู้มาได้ไม่ยากครับ ชื่อเสียงของสามารถเกษตรยนต์มีที่มาจากความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและการเลือกใช้ชิ้นส่วนคุณภาพสูง นอกจากนี้ยังมีการกำหนดราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่จับต้องได้ การเลือกใช้ชิ้นส่วนก็มาจากผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ และยังประกอบด้วยฝีมือคนไทย สามารถเกษตรยนต์เป็นทั้งผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเอง จึงมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพครับ”
อยากจะแนะนำสำหรับเกษตรกร “หน้าใหม่” ว่าทางสามารถฯ มีความเป็นมืออาชีพทั้งการผลิตสินค้าและการให้บริการ ซึ่งจะช่วยให้งานของเกษตรกรกลายเป็นเรื่องง่าย ผมขอเชียร์สุดใจครับ ตั้งแต่ได้รถตัดอ้อยของสามารถฯ มาใช้งาน ผมกับพี่น้องเกษตรกรก็มั่นใจเต็มร้อยในเรื่องประสิทธิภาพครับ หลังจากที่ได้ลองเอามาใช้จริงก็ทำให้ผลผลิตของเราเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ แม้ว่าตอนแรกผมจะไม่ค่อยมั่นใจ แต่ตอนนี้ผมเห็นแล้วว่าน้ำตาลคือเส้นทางไปสู่อนาคตของเรา และเพื่อนแท้ที่จะเดินเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับเราก็คือสามารถฯ ครับ”