เพิ่มภาษีเครื่องดื่มผสมน้ำตาล จะทำกำไรให้รัฐบาลอินโดนีเซียอย่างไร
เอมิลี่ เบิร์ก จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ทำการศึกษาโมเดลภาษีของอินโดนีเซีย ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ Global Health ซึ่งชี้ว่าภาษีเครื่องดื่มสามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วนและลดโรคเรื้อรังได้ รวมถึงการที่รัฐบาลจะได้รับกำไรจำนวนมหาศาลจากภาษีนี้เนื่องจากการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มชูกำลัง
ในกรณีของชาวอินโดนีเซีย พบว่าปัญหาโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาด้านสุขภาพหลักในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
อย่างในปี 2018 พบชาวอินโดนีเซีย 35.4% มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ มีชาวอินโดนีเซียมากกว่า 5% ที่เป็นโรคเบาหวานเพราะมีการบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นและสาเหตุหลักเชื่อมโยงกับเครื่องดื่มผสมน้ำตาล
ดูเหมือนว่าตลาดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มชูกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดกันว่ายอดขายรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 12.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2019 หรือเฉลี่ย 39 ลิตรต่อคน และเติบโตประมาณ 8-10% ในแต่ละปี
รัฐบาลอินโดนีเซียจึงพิจารณาการเก็บภาษีเครื่องดื่มผสมน้ำตาลเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น และการก็บภาษีดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลได้รับประโยชน์เต็มๆ
ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ Global Health ได้ประเมินถึงจำนวนกำไรที่รัฐบาลอินโดนีเซียจะได้รับจากการเก็บภาษีเครื่องดื่มผสมน้ำตาล โดยหาผลลัพธ์นี้ได้จากการประเมินตามกลุ่มรายได้ ตั้งแต่กลุ่มที่มีรายได้น้อยที่สุด 20% ไปจนถึงกลุ่มที่มีรายได้มากที่สุด 20% และผลลัพธ์ชี้ว่าหลังจาก 25 ปี ภาษีที่คนที่มีรายได้น้อยที่สุดจ่ายจะอยู่ที่ 0.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ และภาษีที่คนที่มีรายได้มากที่สุดจ่ายจะอยู่ที่ 15.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าภาษีเครื่องดื่มผสมน้ำตาลสามารถช่วยลดจำนวนคนที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน โดยป้องกันไม่ให้คนนับล้านในอินโดนีเซียเป็นโรคเบาหวาน โดยภาษีดังกล่าวจะสูงถึง 920 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปีแรก และหลังจาก 25 ปี จะกลายเป็น 27.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ