E10 อาจช่วยการผลิตเอทานอลในอินเดีย ท่ามกลางวิกฤตสภาพอากาศ
นายนเรนธรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย กล่าวแถลงในวันรำลึกการประกาศอิสรภาพของอินเดียว่า อินเดียใช้จ่ายเงินมากกว่า 12 แสนล้านรูปีในการนำเข้าพลังงาน และการผลิตพลังงานในประเทศจะเป็นนโยบายที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับประเทศ ซึ่งการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและกลยุทธการลดก๊าซคาร์บอนจะต้องให้ความสำคัญในทันที ดังที่เน้นไว้ในรายงานการประเมินครั้งที่หก (AR6) ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไอพีซีซี รายงาน AR6 ได้ชี้แนะว่ากลยุทธ์การบรรเทาผลกระทบนั้นสามารถป้องกันความเสี่ยงได้และจะไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในกลยุทธ์ดังกล่าวที่มักได้รับการพิจารณาในอินเดียเพื่อบรรลุความมั่นคงด้านพลังงานและการลดก๊าซคาร์บอนคือการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ อย่างไรก็ตาม ควรมีการประเมินอย่างรอบคอบเพื่อให้แน่ใจว่าผลดีมีมากกว่าผลเสียที่ตามมา
เชื้อเพลิงชีวภาพสามารถผลิตได้จากพืชผลที่ปลูกโดยเฉพาะในไร่นา (เรียกว่า เชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นแรกหรือเชื้อเพลิงชีวภาพ 1G) หรือจากซากพืชและของเสีย (เรียกว่า เชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สองหรือเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง 2G) นโยบายระดับชาติว่าด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพปี 2561 ของอินเดียมีการอ้างอิงถึงเชื้อเพลิงชีวภาพหลายประเภทรวมถึงเป้าหมายการผสมไบโอดีเซลด้วย อย่างไรก็ตาม จุดเน้นของการดำเนินการคือการผสมเอทานอลกับน้ำมันเบนซิน ประมาณการแนะนำว่าการผสมเอทานอลเพิ่มขึ้นเป็น 5% ในปี 2562 และประมาณ 8% ในปี 2563-2564 อุปทานส่วนใหญ่มาจากอ้อย ดังนั้น ในอินเดีย เชื้อเพลิงชีวภาพจึงมีความหมายเดียวกันกับเอทานอล 1G
แผนการดำเนินงานของรัฐบาลอินเดียในการผสมเอทานอลในปี 2563-2568 ซึ่งเปิดตัวในวันสิ่งแวดล้อมโลก (5 มิถุนายนที่ผ่านมา) มีแผนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผสมเอทานอล 20% (หรือ E20) ภายในปี 2568 โดยใช้อ้อยและอาหารจำพวกธัญพืช ในขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพ 1G ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาว่า เป็นคู่แข่งพืชอาหารสำหรับที่ดินและแหล่งน้ำที่เหมาะแก่การเพาะปลูก เนื่องจากในอินเดีย อ้อยไม่ได้ปลูกเพื่อผลิตเอทานอลเป็นหลัก เฉพาะผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาล (กากน้ำตาล) และน้ำอ้อยในปีที่เกินดุลเท่านั้นที่ใช้ในการผลิตเอทานอล การเปลี่ยนน้ำตาลที่เป็นส่วนเกิน ไปสู่การผลิตเอทานอลได้คุ้มครองเกษตรกรและโรงงานน้ำตาลจากความผันผวนของราคาน้ำตาล และอาจเป็นประโยชน์ต่อไปในปีที่น้ำตาลเกินดุล ความท้าทายในการบรรลุเป้าหมาย E20 สำหรับปี 2568 (เอทานอลประมาณ 1,000 ล้านลิตร) คืออ้อยจำนวนหนึ่งจะต้องปลูกเพื่อการผลิตเอทานอลเพียงอย่างเดียว ที่แย่ไปกว่านั้นคือต้องใช้อาหารจำพวกธัญพืชหรือผักเข้าร่วมด้วย ทั้งสองตัวเลือกดังกล่าวไม่เหมาะสม เพราะแบบแรกจะนำไปสู่การใช้น้ำมากเกินไปในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำอยู่แล้ว และแบบหลังจะทำลายความมั่นคงด้านอาหาร แม้ว่าจะมีการใช้ธัญพืชที่เกินหรือไม่ใช้แล้ว แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในฐานะประเทศหนึ่งอยู่ที่การลดของเสียให้น้อยที่สุดด้วยการใช้สถานที่จัดเก็บที่ดีขึ้น นอกจากนั้น เทคโนโลยียานยนต์ยังเป็นปัญหาอีกประการหนึ่งสำหรับเป้าหมาย E20 ยานพาหนะที่มีอยู่ในอินเดียไม่สามารถใช้งานร่วมกับเอทานอล E20 ได้ ประเด็นดังกล่าวจึงแย้งแนวคิดที่ว่าเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถนำมาใช้ในรถยนต์ที่มีอยู่ในขณะนี้ได้ และทำให้ความได้เปรียบของเชื้อเพลิงชีวภาพที่มักพูดถึงกันบ่อยครั้งกลายเป็นโมฆะที่ทำให้การเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้านั้นดูเหมาะสมกว่าในทันที การผลิตรถสองล้อและรถยนต์ใหม่ที่เข้ากันได้กับเอทานอล E20 อาจนำไปสู่ทางตันด้านสินทรัพย์และการใช้ก๊าซคาร์บอนในกรณีที่สมมติกันว่ากลุ่มการผลิตเหล่านี้จะมีพาหนะที่ใช้กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ ในทางกลับกัน รถยนต์ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินเดียในปัจจุบันมีเครื่องยนต์กลไกที่เข้ากันได้กับเอทานอล E10 อย่างมาก นั่นคือเชื้อเพลิงที่เป็นน้ำมัน 90% และเอทานอล 10% ในแง่ของอุปทาน เป้าหมายเอทานอล E10 ภายในปี 2568 จะต้องใช้เอทานอลประมาณ 550 ล้านลิตร ซึ่งสามารถผลิตได้จากอ้อยที่มีอยู่ทั้งหมดโดยไม่ต้องเพาะปลูกอ้อยเพิ่มแต่อย่างใด
ข้อเสียประการหนึ่งของเอทานอล E10 คือ เนื่องจาก E10 จะใช้แทนน้ำมันได้น้อยกว่า E20 จึงช่วยลดการประหยัดการนำเข้าน้ำมันดิบและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้น้อยเมื่อเทียบกับ E20 อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้เอทานอล E10 อาจลดความเสี่ยงบางอย่างได้ เช่น ลมมรสุมที่แปรปรวนและผลกระทบอื่นๆ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ตามที่อธิบายไว้ในรายงาน AR6) เป็นต้น หากไม่สามารถปลูกอ้อยได้เพียงพอในปีใดปีหนึ่งและยานพาหนะทั้งหมดได้รับการปรับให้ใช้แต่เอทานอล E20 การนำเข้าเอทานอลอาจเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้
กรณีที่กล่าวมาอาจขัดต่อจุดประสงค์หลักประการหนึ่งของแผนการผสมเอทานอล นั่นคือ ความมั่นคงด้านพลังงาน เอทานอล 2G เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับเอทานอล 1G ได้ อุปสรรคสำคัญในการผลิตเอทานอล 2G และเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงได้แก่ห่วงโซ่อุปทานของการจัดสรรวัตถุดิบชีวมวล โดยปกติ เพื่อให้เกิดการประหยัดขนาด จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีไปใช้ในระดับที่ใหญ่ขึ้น แต่ในอินเดีย เรื่องนี้อาจไม่เป็นความจริง เนื่องจากจะต้องเก็บสารเคมีชีวมวลที่ตกค้างจากฟาร์มขนาดเล็กจำนวนมากเพื่อส่งไปยังโรงงานเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งวิธีดังกล่าวอาจไม่มีประสิทธิภาพพอเพียง
โรงงานชีวมวลขนาดเล็กที่กระจายตัวออกไปใกล้ไร่นาหรือโรงงานชีวมวลแบบเคลื่อนที่ได้อาจเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดี เนื่องจากชีวมวลที่ถูกเผาไหม้ด้วยความร้อนสามารถขนส่งได้ง่ายกว่าและยั่งยืนกว่าชีวมวลดิบ ความกังวลอีกประการหนึ่งคือกระบวนการผลิตเอทานอล 2G นั้นใช้ปริมาณน้ำมาก ทำให้การเพาะปลูก (อ้อย) แบบใช้น้ำเปลี่ยนไปเป็นการผลิตเอทานอลแบบใช้น้ำตามไปด้วย
โดยสรุป เอทานอล E10 มาถึงจุดที่น่าสนใจ ซึ่งทำให้มนุษย์เราต้องตระหนักถึงประโยชน์ของการผสมเชื้อเพลิงเอทานอลจากอ้อยและหลีกเลี่ยงปัญหาความไม่ยั่งยืนเนื่องมาจากการขาดแคลนน้ำ ความมั่นคงด้านอาหาร ความเข้ากันไม่ได้ของรูปแบบยานพาหนะที่มีอยู่ รวมทั้งการพึ่งพาเอทานอล 2G เป็นต้น นอกจากการจำกัดการผสมเอทานอลไว้ที่ระดับ E10 แล้ว อินเดียยังต้องเปลี่ยนจุดเน้นและให้การสนับสนุนเชื้อเพลิงชีวภาพที่สามารถใช้ได้ในภาคการขนส่งที่หาพลังงานมาใช้ได้ยาก เช่น การบินและการขนส่งสินค้าทางไกลอีกด้วย