“High Climber” รถเก็บเกี่ยวอ้อยรุ่นใหม่ ตอบโจทย์การใช้งานบนที่ราบสูงจาก Samart
ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านของอุตหสากรรมน้ำตาล ยุคที่ครั้งหนึ่งคนที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ออกไปทำไร่อ้อยและเก็บเกี่ยวพืชผลด้วยมือเปล่าได้หมดลงแล้ว ด้วยเหตุผลหลายประการ แรงงานคนที่รับจ้างตัดอ้อยมีจำนวนลดลงจนถึงจุดที่เกษตรกรไม่สามารถพึ่งพา “คนตัดอ้อย” ได้อีกต่อไป ความท้าทายสำหรับเกษตรกรจำนวนมากในขณะนี้คือการเปลี่ยนไปใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวจะเกิดขึ้นได้เร็วแค่ไหน? สำหรับบางคน การเปลี่ยนแปลงไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่าการเลือกใช้เครื่องจักร การฝึกอบรมพนักงาน และการจัดการการขนส่งอ้อยที่ตัดเป็นท่อน ๆ แล้วแทนที่จะใช้อ้อยทั้งต้น
เดิมทีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถปลูกอ้อยได้ทุก ๆ ที่ที่มีดิน สุดท้ายแล้ว “คนตัดอ้อย” สามารถทำงานได้ทุกที่ใช่ไหม แน่นอนว่าพวกเขาสามารถทำงานบนพื้นที่ราบได้อย่างง่ายดาย หรือบนเนินเขา ทางลาดชัน และยังสามารถเข้าไปในพื้นที่เล็ก ๆ ที่มีจำกัดได้ แม้จะ “ไม่สะดวกคล่องแคล่ว” ไปบ้างแต่ยังคงทำงานได้ดี
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ดังกล่าวถือเป็นความท้าทายสำหรับการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรหลายชนิด เนื่องจากเครื่องจักรมีขนาดใหญ่และขาดความคล่องตัว อีกทั้งความจริงที่ว่าในการเก็บเกี่ยวจำต้องมีรถบรรทุกและรถพ่วง “ติดตาม” อยู่เสมอเพื่อเก็บอ้อยที่ตัดแล้ว เครื่องจักรเหล่านี้ทำงานไม่ได้ในพื้นที่ดังกล่าว การออกแบบที่ล้าสมัยและมีน้ำหนักมากส่งผลต่อความสามารถในการผลิต อีกทั้งรถบรรทุก “ที่ตามมา” ทำให้ต้นอ้อยที่ถูกตัดและ “อ้อยราทูน” เกิดความเสียหาย
เช่นเดียวกับความท้าทายต่าง ๆ มากมาย ทุกอย่างสามารถเอาชนะได้ด้วยอุปกรณ์ที่ใช่และเหมาะสม เพียงแต่ต้องการข้อมูลจากบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจเรื่องการเก็บเกี่ยวอ้อย โชคดีที่มีวิศวกรออกแบบและผู้ผลิตที่เข้าใจว่าเกษตรกรชาวเอเชียมีจุดยืนในเรื่องนี้อย่างไร ตัวอย่างเช่น Samart เคยเป็นโรงงานผลิตเครื่องจักรที่รับมือกับความท้าทายในชีวิตประจำวันที่เกษตรกรชาวเอเชียต้องเผชิญกับสภาพภูมิประเทศที่ยากลำบากมาระยะหนึ่งแล้ว
จุดเด่นประการหนึ่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้คือ Samart เคยผลิตเฉพาะเครื่องจักร “ชุดสะพานลำเลียงท่อนอ้อยอัตโนมัติ” เท่านั้น หมายความว่าอย่างไร? นั่นหมายความว่ารถตัดอ้อยของ Samart ทุกคันสามารถเก็บอ้อยไว้ “บนรถ” จนกว่าจะถึงขั้นตอนการขนส่งได้อย่างสะดวก
ตัวอย่างเช่น เครื่องจักรรุ่น SM200C “ตัวรถ” รับน้ำหนักได้เกือบ 2 ตัน สามารถทำงานได้อย่างเป็นระเบียบและอยู่ในพื้นที่ที่มีจำกัด หรือทำงานบนทางลาดได้โดยไม่ต้องกังวลว่ารถบรรทุกที่ตามมาขนอ้อยจะติดปัญหาตรงเฮดแลนด์ (Headland) หรือตกลงไปในร่องระบายน้ำ มีระบบขับเคลื่อนแทร็คยางสำหรับงานที่หนักมากช่วยให้ทำงานได้บนทางลาดสูงถึง 40 องศา ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานเกือบทุกประเภท เครื่องจักรยังเหนือกว่าด้วยการเก็บเกี่ยวพืชผลที่เสียหาย เช่น อ้อยที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงหรืออ้อยไฟไหม้ ก็สามารถคีบขึ้นมาได้อย่างง่ายดายด้วยชุดเกลียวเก็บอ้อยของเครื่องจักรรุ่น SM200C
นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด 19 มีเกษตรกรรายใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ต่างเริ่มยอมรับว่าเครื่องจักรรุ่น SM200C เป็นการลงทุนที่ดี “อย่างครบครัน” สำหรับไร่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง เพราะถึงแม้เครื่องจักรจะมีขนาดกะทัดรัดและคล่องตัว แต่มีความสามารถในการตัด 20 ตันต่อชั่วโมง นับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับแปลงที่ใหญ่กว่านี้อีกด้วย สำหรับเกษตรกรที่เพิ่งเริ่มใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว เครื่องจักรรุ่น SM200C ยังใช้งานและบำรุงรักษาได้ง่ายมาก ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งแก่มือใหม่ที่ต้องการใช้เครื่องจักร
ด้วยความสนใจที่แพร่หลายจากประเทศอื่น ๆ วิศวกรของ Samart ตระหนักดีถึงการเน้นย้ำถึงความสามารถของเครื่องจักรในการทำงานบนทางลาด แม้แต่พื้นที่เพาะปลูกเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่กว่าซึ่งก่อนหน้านี้ได้ตัดพื้นที่อันกว้างใหญ่ของไร่ของตนเองออกไปเนื่องจากไม่เหมาะสมสำหรับการใช้เครื่องจักร ขณะนี้เริ่มมุ่งเน้นไปที่เครื่องจักรรุ่น SM200C เนื่องจากความสามารถในการปีนและเลี้ยวที่ตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ ตอนนี้ Samart เปิดตัวเครื่องจักรรุ่น SM200C “High Climber” เจเนอเรชันใหม่ได้แล้ว
ดังนั้น นอกเหนือจากสติกเกอร์ “High Climber” ที่สว่างบนชุดเกลียวเก็บอ้อยของเครื่องจักรรุ่น SM200C แล้ว ฉันจะคาดหวังอะไรได้บ้างเมื่อดูการต่อยอดใหม่นี้ แม้ว่าชื่ออาจจะคาดเดาได้พอสมควร แต่รายละเอียดกลับไม่ใช่
โมเดลนี้ยังคงใช้ระบบขับเคลื่อนแทร็คยางของเครื่องจักรรุ่น SM200C ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วเป็นอย่างดีที่มี “การบังคับเลี้ยวแบบลื่นไถล” ที่ช่วยลดการบดอัดของพื้นดิน ส่วนด้านหน้าแทร็คเตอร์เป็นสกรูเกลียวเก็บอ้อยจากเครื่องจักรรุ่น SM200 Predator ช่วยให้เครื่องจักรรุ่น SM200C คีบจับได้ดีเป็นพิเศษ แม้จะคีบอ้อยที่ “ล้ม” หรือคีบอ้อยไฟไหม้ก็ทำได้ง่าย ใบมีดตัดโคนอ้อยยังมีระบบขับเคลื่อนด้วยเฟืองเสียงรบกวนต่ำใหม่ล่าสุด และการตัดอย่างประณีตโดยไม่มีความเสี่ยงต่อการลากไปบนลำต้นของอ้อย
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็คือเครื่องยนต์ โดยกำลังมาจากเครื่องยนต์ดีเซล 6 สูบแรงบิดสูง Volvo Penta 140 กิโลวัตต์ (แหล่งที่มาจากยุโรป) ควบคุมผ่านระบบควบคุม ETec เครื่องยนต์ที่ยอดเยี่ยมนี้ให้แรงบิดสูงถึง 1,060 นิวตันเมตรเข้าสู่ระบบขับเคลื่อนไฮโดรสแตกติก (Hydrostatic) ดังนั้นจึงมั่นใจได้ไม่ว่าอ้อยจะอยู่ในสภาพไหนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้อย่าง่ายดาย
ในระหว่างการทำงาน ระบบ ETec จะตรวจสอบการตอบสนองของเครื่องยนต์ในระดับมิลลิวินาที และปรับแรงบิดของเครื่องยนต์ให้เหมาะสม หมายความว่ามีเพียงความต้องการที่แน่นอนสำหรับกำลังและแรงบิดเท่านั้นที่ถูกส่งไปยังเครื่องยนต์ตลอดรอบการเก็บเกี่ยว การกำหนดค่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถคืนอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่น้อยกว่า 1 ลิตรต่อตันในการตัดในโมเดลอื่น ๆ ซึ่งอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับ “High Climber” ใหม่นี้คาดว่าจะดีพอ ๆ กัน
“คืนอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่น้อยกว่า 1 ลิตรต่อตัน“
ในด้านการประมวลผล ลูกกลิ้งในการตัดอ้อยจะเป็นยาง ซึ่งแตกต่างจากลูกกลิ้งหน้าโลหะ ทำให้แท่งอ้อยที่ตัดเสร็จแล้วสะอาดมากกว่า ไม่มีดินและได้ลำต้นอ้อยที่เกลี้ยงเกลา ในการตรวจสอบเหล็กแท่งยาวที่ใช้ตัด จะเห็นว่ากระบวนการนี้ทำให้ “ตาอ้อย” ไม่เสียหาย ท่อนอ้อยที่ผ่านกระบวนการตัดด้วยเครื่องของ Samart สามารถนำอ้อยไปปลูกใหม่ได้ทันที ด้านหลังของตัวเครื่องเป็นเครื่องชุดสะพานลำเลียงท่อนอ้อยอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่ามันสามารถทำงานได้อย่างอิสระในขณะที่ตัดอ้อย จากนั้นจึงขนถ่ายไปยังเฮดแลนด์ของท้ายไร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในด้านการบริการ การบำรุงรักษารายวันก็ง่ายขึ้น และระยะเวลาการให้บริการของเครื่องยนต์ก็ขยายออกไป ขณะนี้เครื่องยนต์ทั้งหมดมีการกรองน้ำมันเชื้อเพลิงขั้นสูง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งสกปรกเจือปนเข้าไปในเครื่องยนต์จนทำให้เกิดความเสียหาย ในขณะที่ความสามารถของ ETec ในการหาต้นตอของปัญหา จึงช่วยให้มั่นใจได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะถูกจัดการได้อย่างรวดเร็ว ลดการสูญเสียจากการหยุดเดินเครื่องจักร และรักษาประสิทธิภาพในการลงทุน
ลูกค้าปัจจุบันส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับความจริงที่ว่า เครื่องจักรมีจำหน่ายอย่างเสรีทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีราคาที่เหมาะสม ต่างจากผลิตภัณฑ์คู่แข่งบางรายการ เครื่องจักรของ Samart ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้งานจริง ไม่ใช่ “บุคคลไร้ตัวตน” อย่างไลน์ AI หรือเว็บไซต์ที่ไม่มีรายละเอียดการติดต่อ เกษตรกรที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Samart หลายคนกำลังสร้างรายได้จากน้ำตาลเป็นครั้งแรกในชีวิต และเราอยากให้สิ่งนี้ดำเนินต่อไป นั่นคือเหตุผลว่าทำไมจึงมีการเปิดตัวเครื่องจักรรุ่นใหม่ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของไร่จริงและเกษตรกรที่แท้จริง
มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับ Samart ได้ที่สำนักงานใน อ.หันคา จ.ชัยนาท หรือร่วมพบปะกันในงาน Customer Days และไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน เราพร้อมให้คำแนะนำและตอบสนองทุกความต้องการ เพราะคุณคู่ควรกับมัน