IEA เริ่มแผนโครงการชีวอนาคต พร้อมเร่งขับดันเศรษฐกิจชีวภาพหลังโควิด 19
องค์กรพลังงานระหว่างประเทศหรือ IEA เป็นหน่วยงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่ายที่นำโดยรัฐบาลได้ริเริ่ม “โครงการชีวอนาคต” เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยส่งเสริมการประสานงานระหว่างประเทศด้านชีวนิเวศน์คาร์บอนต่ำที่มีความยั่งยืนสำหรับการฟื้นตัวหลังเชื้อไวรัสโควิด ปัจจุบัน โครงการดังกล่าวประกอบด้วยสมาชิกยี่สิบประเทศเพื่อแบ่งปันวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจชีวภาพคาร์บอนต่ำแบบยั่งยืน และในขณะนี้ยังมีการตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการสนับสนุนทุกภาคส่วนในระยะสั้น รวมถึงการปลูกฝังความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ชีวภาพคาร์บอนต่ำเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในวงกว้างสำหรับการเติบโตและความสำเร็จในระยะยาว
ฝ่ายตลาดพลังงานหมุนเวียนของ IEA ได้วิเคราะห์พลังงานหมุนเวียนในปี 2563 พบว่า การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพลดลงเกือบร้อยละ 12 ในปีดังกล่าว การดำเนินนโยบายเร่งด่วนจึงมีความจำเป็นเพื่อสนับสนุนภาคพลังงานชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตไวรัสโคโรนา ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ ดังนั้น องค์การ IEA ได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ รวมพลังงานชีวภาพไว้ในแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและนำหลักการของโครงการชีวอนาคตมาใช้ ก่อนหน้านี้ การวิเคราะห์ขององค์กรฯ ประเมินว่าสำหรับการลงทุนทุกๆ ล้านดอลลาร์ในภาคพลังงานชีวภาพสามารถสร้างงานได้ถึง 30 ตำแหน่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
‘โครงการชีวอนาคต’ คือกุญแจสำคัญของการฟื้นตัวหลังโควิด-19
หัวหน้าฝ่ายพลังงานหมุนเวียน นายเปาโล มาร์เคิล กล่าวว่า โครงการชีวอนาคตเปิดตัวครั้งแรกในมาร์ราเกชในการเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศของการประชุมภาคี ครั้งที่ 22 ขององค์การสหประชาชาติเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 เพื่อช่วยขยายและปรับปรุงการใช้พลังงานชีวภาพให้ทันสมัย โครงการดังกล่าว ได้รวบรวมกลุ่มประเทศที่มีแนวคิดเดียวกันที่ค่อนข้างจำกัดแต่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นผู้นำด้านเศรษฐศาสตร์ชีวภาพขั้นสูงแนวใหม่อยู่แล้วหรือมีความสนใจในการพัฒนานี้
20 ประเทศที่เป็นสมาชิกผู้ริเริ่มโครงการฯ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล แคนาดา จีน เดนมาร์ก อียิปต์ ฟินแลนด์ฝรั่งเศส อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี โมร็อกโก โมซัมบิก เนเธอร์แลนด์ ปารากวัย ฟิลิปปินส์ สวีเดน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและอุรุกวัย ส่วนโครงการและลำดับความสำคัญของงานได้รับการหารือ และเสนอโดยกลุ่มประเทศหลักซึ่ง ปัจจุบันคือบราซิล จีน อินเดีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
สมาชิกมีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์สำหรับเศรษฐกิจชีวภาพที่มีคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน และในขณะนี้ ยังตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการสนับสนุนทุกภาคส่วนในระยะสั้น รวมถึงการรวมประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพคาร์บอนต่ำไว้ในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจในวงกว้าง เพื่อการเติบโตในระยะยาวและประสบความสำเร็จอีกด้วย
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 โครงการชีวอนาคตได้เปิดตัวหลักการสำคัญอย่างเป็นทางการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอแนวทางแก่รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกเกี่ยวกับความจำเป็นในการส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพที่ยั่งยืน ทั้งในเรื่องการบรรเทาทุกข์ระยะสั้นและโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิดที่กว้างขึ้น หลักการนี้ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกโครงการฯ และได้รับการพัฒนาตามการปรึกษาหารือกับผู้กำหนดนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และองค์กรระหว่างประเทศ
หลักการห้าประการสำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจชีวภาพหลังโควิด ได้กระตุ้นให้ผู้กำหนดนโยบายรักษานโยบายที่มีอยู่ และไม่ลดความทะเยอทะยานของนโยบายใหม่ๆ รวมทั้งการพิจารณาการสนับสนุนระยะสั้นสำหรับผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและประเมินการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกครั้ง นอกจากนั้น ยังมีการแนะนำให้เสริมสร้างความมุ่งมั่นด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น การนำข้อบังคับสำหรับเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนมาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเพื่อการฟื้นตัวสำหรับสายการบิน และให้รางวัลกับความยั่งยืนโดยรวมข้อกำหนดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดอายุการทำการบิน และบูรณาการมาตรการความยั่งยืนเข้ากับนโยบายเชื้อเพลิงชีวภาพ
หลักการทางชีวภาพ 5 ประการสำหรับการกู้คืนชีวนิเวศหลังโควิด-19
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบราซิล นายเอร์เนชตุ อะราอุฌุอธิบายว่า โครงการชีวอนาคตมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเติมเต็มช่องว่างเมื่อเกิดการอภิปรายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งบทบาทและความจำเป็นในการใช้พลังงานชีวภาพที่ยั่งยืนส่วนใหญ่ถูกละเลยไป นับตั้งแต่การเปิดตัวโครงการนี้ ประเทศสมาชิกได้ประกาศและดำเนินการตามนโยบาย รวมทั้งมีโครงการใหม่ที่สำคัญสำหรับพลังงานชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและเศรษฐกิจชีวภาพอีกด้วย
วิกฤตที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกส่งผลกระทบอย่างมากต่อพลังงานชีวภาพ แต่ปัญหาดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในหลายภาคส่วน หลายประเทศกำลังพิจารณาโอกาสที่จะสร้างตัวให้ดีขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการพิจารณานโยบายและแผนงาน จึงได้หยิบยกหลักการทางชีวอนาคตหลัก 5 ประการที่ไม่มีข้อผูกมัดนี้สำหรับการกู้คืนและการเร่งเศรษฐกิจชีวภาพหลังโควิด ดังต่อไปนี้
1) อย่าย้อนกลับหลัง (Do not backtrack) ให้ตรวจสอบความต่อเนื่องและความสามารถในการคาดการณ์ในระยะยาวของพลังงานชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพและเป้าหมายวัสดุชีวภาพ รวมทั้งกลไกนโยบายที่มีอยู่ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จ
2) พิจารณาการช่วยผู้ผลิตในระยะสั้น (Consider short-term COVID support for producers) หากมีความเหมาะสม ให้จัดการกับความท้าทายระยะสั้นสำหรับอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพและวัสดุชีวภาพในรูปแบบชุดบรรเทาทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากเชื้อไวรัสนี้
3) ประเมินการสนับสนุนด้านเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกครั้ง (Reassess fossil fuel subsidies) โดยใช้ประโยชน์จากสภาพราคาน้ำมันที่ต่ำเพื่อประเมินการสนับสนุนด้านเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่อีกครั้งสำหรับการแข่งขันที่เป็นธรรม
4) พัฒนาให้ดีขึ้นด้วยชีวภาพ (Build Back Better with Bio) ด้วยการรวมภาคเศรษฐกิจชีวภาพให้เข้ากันตามความเหมาะสมและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฟื้นฟูที่กว้างขึ้น เช่น โดยกำหนดให้การลงทุนหรือเป้าหมายด้านเศรษฐกิจชีวภาพเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือและการฟื้นฟูภาคส่วนเฉพาะ เช่น การขนส่งและสารเคมี เป็นต้น
5) ให้รางวัลกับความยั่งยืน (Reward sustainability) ด้วยการรวมกลไกดังกล่าวเข้ากับกรอบนโยบายส่งเสริมการสร้างและใช้เชื้อเพลิงสารเคมีและวัสดุจากฐานชีวภาพ
ผลักดันการบริโภคเชื้อเพลิงชีวภาพของสหภาพยุโรปด้วยบทบาทโครงการชีวอนาคต
สหภาพยุโรปเป็นตลาดที่สำคัญมากสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพ หกประเทศในสหภาพยุโรป รวมทั้งสหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งโครงการชีวอนาคตและโปรตุเกสกำลังเข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย วิสัยทัศน์หลักประการหนึ่งและเหตุผลของการอยู่ในกลุ่มดังกล่าว คือการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนสำหรับการผลิตชีวมวลตลอดชีวิต องค์กรอื่นๆ ที่สนับสนุนโครงการนี้ ได้แก่ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (Irena) และ ภาคีพลังงานชีวภาพโลก (GBEP) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 มีการบังคับใช้เกณฑ์แห่งความยั่งยืนที่เน้นว่า ควรใช้กับชีวมวลทั้งหมดโดยไม่จำกัดเพียงแค่ส่วนที่ใช้ในการขนส่งเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือพลังงานชีวภาพเท่านั้น
ในปีหน้านี้ ตลาดการขนส่งในยุโรปสามารถเปลี่ยนส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ของเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วไปให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงได้มากขึ้น ประเทศสมาชิกจะต้องวางนโยบายเพื่อปรับใช้เทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงที่พร้อมช่วยในเชิงพาณิชย์ที่มีแนวโน้ม และมีข้อกำหนดด้านความยั่งยืนอันชัดเจนในระยะยาว แต่เทคโนโลยีจำนวนมากเหล่านี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการสาธิตนโยบาย แต่การลงทุนในประเทศสามารถช่วยในเชิงพาณิชย์ให้เทคโนโลยีเหล่านี้ปรับใช้ในขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้
ในปี พ.ศ. 2564 นี้ โครงการชีวอนาคตจะเปิดตัวการวิเคราะห์นโยบายพิมพ์เขียวด้านการประเมินประสิทธิผลของนโยบายการสนับสนุนพลังงานชีวภาพ โดยมีการทบทวนนโยบายอย่างมีวิจารณญาณ ให้ตัวอย่างแนวปฏิบัติที่ดี แต่ยังเน้นถึงจุดอ่อนซึ่งระบุขอบเขตสำหรับการดำเนินนโยบายในประเทศเพิ่มเติม โดยไม่มีการชี้ว่าใครดีหรือไม่ดี แต่ต้องร่วมมือปรับปรุงด้วยกันทั้งหมด