กองทุน Bonsucro Impact Fund ได้รับรางวัลในโครงการสิทธิมนุษยชนเป็นครั้งแรก
เป็นครั้งแรกที่มีการมอบรางวัลใหญ่ให้กับสองโครงการผ่านกองทุน Bonsucro Impact Fund (BIF) ภายใต้การเรียกร้องสิทธิมนุษยชน โครงการเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาบางอย่างที่พืชอ้อยกําลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะสิทธิมนุษยชนและงานที่มีคุณค่า
โครงการที่ประสบความสําเร็จได้แก่
- เครื่องมือประเมินผลสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในโรงงานน้ำตาล – ประเทศบราซิลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้
- การใช้เครื่องมือดิจิทัลและการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการยกระดับสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านและส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ – ในอินเดียและไทย
เครื่องมือประเมินผลสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในโรงงานน้ำตาล – ประเทศบราซิล (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้)
หัวหน้าโครงการ: Proforest Brazil
ผู้ร่วมโครงการ: Imaflora Nestlé General Mills Barry Callebaut
Proforest และผู้ร่วมโครงการจะพัฒนาแนวทางและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตีความหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs) และแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ในส่วนของไร่อ้อยบราซิล ส่วนนี้เป็นงานต่อยอดจากที่คณะทำงานกำลังดำเนินการอยู่
โครงการนี้จะยกระดับเครื่องมือตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) เกี่ยวกับน้ำตาล และเป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินงานของ HRDD ในพื้นที่ โดยเน้นไปที่ภาคส่วนบราซิล ซึ่งจะช่วยติดตามและสร้างความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ยังเพิ่มขีดความสามารถในภาคส่วนนี้ ด้วยการฝึกอบรมโรงงาน ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ นําร่องไปสู่แนวทางและเครื่องมือในการพัฒนา สิ่งนี้ต่อยอดจากงานที่ Proforest และ Imaflora ได้ทําร่วมกับ Nestle ในกรอบและโรดแมพของสิทธิมนุษยชน ตลอดจนชุดเครื่องมือที่อยู่ในความรับผิดชอบของ Proforest ซึ่งจัดทำขึ้นสำหรับถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม และเนื้อวัว
โครงการนี้จะใช้แนวทางที่เป็นระบบซึ่งเชื่อมโยงกับต้นเหตุของความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชน กลไก HRDD ไม่เพียงเปิดโอกาสให้โรงงานได้ระบุวิธีการโดยไม่เจาะจง หรือเมื่อใดที่พวกเขาจําเป็นต้องดําเนินการโดยตรงแล้ว แต่ยังรวมไปถึงการริเริ่มมีส่วนร่วมกับผู้อื่นในวงกว้างเพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ ในส่วนของโรงงานและบริษัทในห่วงโซ่อุปทานยังคงสามารถระบุการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อันเป็นส่วนหนึ่งของ HRDD
การใช้เครื่องมือดิจิทัลและการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการยกระดับสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านและส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ – ในอินเดียและไทย
หัวหน้าโครงการ: Unilever
ผู้ร่วมโครงการ: International Organization for Migration (IOM) Coca Cola Diginex
โครงการนี้มุ่งเน้นการจัดการปัญหาการบังคับใช้แรงงานอย่างแพร่หลาย และช่องว่างในการเคารพสิทธิแรงงานข้ามชาติ รวมถึงการเลือกปฏิบัติทางเพศ เช่น ค่าจ้างที่ไม่เท่าเทียม มีสิทธิ์มีเสียงไม่เท่ากัน ขาดสิทธิการเข้าถึงประกันสังคม และปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ ที่ส่งผลกระทบถึงแรงงานชายหญิงข้ามชาติทั้งในประเทศ หรือระหว่างประเทศในห่วงโซ่คุณค่าของน้ำตาล
โครงการนี้เริ่มใช้นวัตกรรมแอปมือถือในการเก็บรวบรวมและจับภาพส่งกลับมาแจ้งปัญหาสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ผ่านการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ได้ปรับปรุงแบบสอบถามที่มีอยู่ให้เข้ากับคนงานไร่อ้อย จะเปิดตัวแอปนี้ให้กับโรงหีบอ้อยหลาย ๆ แห่งทั้งในอินเดียและไทย โดยเข้าถึงแรงงานไร่อ้อยข้ามชาติได้ถึง 250 คนในแต่ละพื้นที่ ข้อมูลที่รวบรวมผ่านแอปจะไปสนับสนุนการพัฒนาแผนปฏิบัติการให้กับโรงงานและผู้ใช้ปลายทางที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขเป้าหมายซึ่งได้กำหนดไว้ รวมถึงการสนับสนุนโมเดลการมีส่วนร่วมของแรงงานเกษตรกรข้ามชาติ (ในไทย) ตาม HRDD
กระบวนการนี้จะได้รับการสนับสนุนจากการประเมินชนบท โดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) จะเข้ามามีส่วนร่วม ถือเป็นตัวเพิ่มพลังให้เกษตรกรสามารถสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็นในการวางแผน หรือสำหรับการมีส่วนร่วมตามที่พวกเขาต้องการ สิ่งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาโมเดลการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชากรกลุ่มเปราะบางในชนบท
โครงการเหล่านี้แสดงความมุ่งมั่นของกองทุน Bonsucro Impact Fund ผ่านพันธสัญญาในการทำงานร่วมกันและการสมาคมของผู้ปฏิบัติการตลอดห่วงโซ่อุปทานของพืชอ้อย พันธมิตรที่มีส่วนร่วมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานจะให้การสนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้
ทั้งสองโครงการผ่านกระบวนการคัดสรรสองขั้นตอน และถูกเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือกโครงการ – ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระ ตัวแทนสามท่านจากสภาสมาชิก เจ้าหน้าที่สองท่านจากสำนักเลขาธิการ Bonsucro ผู้ได้รับทุนบางรายแสดงความภาคภูมิใจที่ได้รับทุน Impact Fund
“การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นรากฐานความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายทั้งปวงของ Unilever ซึ่งรวมถึงห่วงโซ่คุณค่าของพืชอ้อยของพวกเราด้วย ที่เชื่อมโยงเรากับผู้คนหลายแสนคน เราต้องการสร้างความมั่นใจว่าสิทธิของบุคคลและของชุมชนจะได้รับการยอมรับและส่งเสริมผ่านกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านอย่างแข็งขัน
การทำงานร่วมกันเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวก และนั่นเป็นเหตุผลที่เราร่วมมือกับ Coca-Cola IOM และ Diginex ในการนำปัญหามาขับเคลื่อนเทคโนโลยี การมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และโมเดลการมีส่วนร่วมโดยตรงจากแรงงานอพยพผู้เปราะบางอีกราว 500 คน
กองทุน Bonsucro Impact ให้การสนับสนุนโครงการ และคาดว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคนงานได้มากกว่า 1000 คน ในขณะเดียวกันก็ปลูกฝังการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบในอุตสาหกรรมอ้อยด้วยการมีส่วนร่วมจากผู้กำหนดนโยบายโดยตรง”
นายเอริค ซูเบรัน รองประธานฝ่ายดำเนินงานธุรกิจและกรรมการผู้จัดการกองทุน Climate and Nature Fund ของ Unilever กล่าว
กองทุน Bonsucro Impact ให้เงินช่วยเหลือจากการขาย Bonsucro Credits การค้าทั้งหมดจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมธุรการ โดยประมาณ 50% ของรายได้ทั้งหมดจะนำมาลงทุนในกองทุน ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนสมาชิกและหุ้นส่วนให้เจริญก้าวหน้าในพื้นที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ อันมีความสำคัญต่อ Bonsucro และการผลิตอ้อยที่ยั่งยืน
หลังการประกาศ นายดันแคน ไรด์กล่าวว่า “Bonsucro มีความยินดีที่จะสนับสนุนโครงการนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงเงื่อนไขการทำงานและสิทธิมนุษยชนของคนงานไร่อ้อย เราต่างเฝ้ารอผลจากโครงการเหล่านี้”