คาดการณ์การผลิตน้าตาลและอ้อยของอินโดนีเชีย ปี 62
พัฒนาการของอ้อยในอินโดนีเซียรวมถึงอุตสาหกรรมอ้อย
มีแนวโน้มซบเซาหรือไม่มีการพัฒนาเลย ตั้งแต่จำนวนไร่อ้อยไปจนถึงการผลิตอ้อยและผลผลิตที่มีแนวโน้มลดลง
การผลิตและผลผลิตอ้อยในอินโดนีเซียได้รับอิทธิพลอย่างมากมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากแทบจะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานใดที่ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและยังขึ้นอยู่กับปริมาณนํ้าฝนโดย เฉพาะอย่างยิ่งความเพียงพอของปริมาณนํ้าฝน เป็นอย่างมากอีกด้วย (การชลประทานและการระบายนํ้า) เมื่อฝนตกชุก นํ้าไม่สามารถไหลออกจากพื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์ (ส่งผลให้เกิดสภาพนํ้าขังใต้ผิวดิน) ในขณะที่เมื่อฝนตกน้อยก็ไม่มีน้ำที่จะไหลเข้าสู่ไร่ อันเนื่องจากความเสียหายในระบบการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางการเกษตรจำนวนมาก (กล่าวคือการเปลี่ยนเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย) จึงก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบการชลประทานและการระบายนํ้าที่มีอยู่ (ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม) ในสภาพเช่นนี้ แน่นอนว่าผลผลิตพืชย่อมมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นและลดลง (ผันผวน)
เท่าที่ทราบนอกเหนือจากปัจจัยอื่นๆ (เช่น พันธุ์อ้อยปัจจัยการผลิต ฯลฯ) แล้วประสิทธิภาพของอ้อยทั้งนํ้าหนักและผลผลิตของอ้อยยังได้รับอิทธิพลจากปริมาณนํ้าฝน (ความต้องการนํ้า) อุณหภูมิ ความชื้น และแสงแดด อีกด้วย
ปริมาณนํ้าฝนที่เหมาะสมสำหรับอ้อยอยู่ในช่วง 1,500 – 2500 มม. ต่อปี โดยมีการกระจายของปริมาณนํ้าฝนตามระยะการเจริญเติบโตของอ้อย โดยต้นอ้อยจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีเป็นปกติ หากในช่วงที่ลำต้นของอ้อยกำลังเจริญเติบโตนั้นต้นอ้อยได้รับนํ้าในปริมาณที่เพียงพอจนกระทั่งอ้อยมีอายุ 7 เดือน และในช่วงที่ทำการเก็บเกี่ยวเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศแห้งแล้งเป็นเวลาประมาณ 2-4 เดือน
ในภูมิภาคหรือประเทศที่ไม่มีระบบชลประทานและการระบายน้าที่ดี อิทธิพลของปริมาณน้าฝนจะมีความสาคัญเป็นอย่างมาก หากปริมาณน้าฝนสูงการผลิตอ้อยจะเพิ่มขึ้นแต่ผลผลิตจะลดลง และหากปริมาณฝนน้อยการผลิตอ้อยจะลดลงและผลผลิต (ระวางน้าหนักอ้อยเป็นตัน) จะเพิ่มขึ้น
อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตและการสร้างซูโครส โดยที่มีการสร้างซูโครสในช่วงกลางวันและฝังลงในลำต้นของอ้อยในตอนกลางคืนโดยเริ่มจากที่โคนต้น ความแตกต่างของอุณหภูมิที่ดีที่สุดระหว่างกลางวันกับกลางคืนอยู่ในช่วง 100 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิสูงจะลดการผลิตน้ำตาลและเพิ่มผลผลิต (ระวางนํ้าหนักอ้อยเป็นตัน) และอีกนัยหนึ่งที่อุณหภูมิต่าจะเพิ่มการผลิตนํ้าตาลและลดผลผลิต (ระวางนํ้าหนักอ้อยเป็นตัน)
ความชื้นในอากาศเกี่ยวข้องกับไอนํ้าในอากาศ บริเวณที่มีความชื้นสูงหรือมากกว่า 70% ไม่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของอ้อยเนื่องจากความชื้นจะกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ง่าย ซึ่งจะลดผลผลิตและกำลังการผลิตอ้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อรา Sporisorium scitamineum (สปอไรโซเรียม สคิทามิเนียม) ที่ทาให้เกิดโรคสมัทหรือโรคเขม่าดำ ความชื้นในอากาศมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณนํ้าฝน หากมีปริมาณนํ้าฝนที่สูงขึ้น ความชื้นในอากาศจะลดลง
แสงอาทิตย์เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์แสง แสงอาทิตย์ได้รับผลกระทบมาจากปริมาณนํ้าฝนและการแพร่กระจายของปริมาณนํ้าฝน (อย่างน้อยที่สุดก็คือมีเมฆมาก) ความสัมพันธ์ระหว่างแสงอาทิตย์กับการผลิต (นํ้าหนัก) เป็นสัดส่วนที่ผกผันกันแต่มีสัดส่วนโดยตรงกับผลผลิต ปริมาณแสงอาทิตย์มีหน่วยเป็น Kal / ตร.ซม. โดยมีค่าอยู่ในช่วง +/- 350 Kal /ตร.ซม.
การประมาณการณ์การผลิตนํ้าตาลและอ้อยในปี 2562 มีแนวโน้มเป็นอย่างไร?
ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น พื้นที่ของประเทศอินโดนีเซียโดยเฉพาะชาวตะวันออกได้รับอิทธิพลอย่างมากมาจากสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งไม่มีความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในท้ายที่สุดทำให้กำลังการผลิตไม่มีเสถียรภาพและมีแนวโน้มผันผวน (ขึ้นๆลงๆ) รวมถึงองค์ประกอบด้านพันธุ์อ้อยที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ดี โดยพันธุ์ที่มีอยู่ เช่น พีเอส 862, พีเอส 851,พีเอส 881, พีเอส เจเค 922, พีเอสดีเต 923 และ บีแอล มักจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศได้เพียงสภาพใดสภาพหนึ่งเท่านั้น (เช่น ปริมาณนํ้าตาลของพันธุ์บีแอลจะอยู่ในระดับที่ดีในสภาพอากาศที่แห้งแล้ง แต่จะมีปริมาณนํ้าตาลอยู่ในระดับที่ไม่ดีในสภาพอากาศที่เปียกชื้น)
การผลิตอ้อยในปี 2562 ได้รับผลกระทบมาจากสภาพอากาศในปีนี้และปีที่กำลังจะมาถึง ปีนี้ (2562) เมื่อเข้าสู่ระยะที่ลำต้นอ้อยกำลังเจริญเติบโต ปริมาณฝนที่ตกน้อยมากและอุณหภูมิสูงมากในพื้นที่บริเวณที่อาศัยปริมาณนํ้าฝนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการผลิต เนื่องจากพบว่าความยาวของลำต้นของอ้อยจะไม่เพิ่มขึ้น ทำให้ความยาวของลำต้นของอ้อยไม่เหมาะสม ในขณะที่เมื่อเข้าสู่ช่วงการสร้างอาหาร (มิถุนายนถึงกันยายน) ประมาณการณ์ไว้ว่าจะยังคงมีปริมาณน้าฝนหลงเหลืออยู่และคาดว่าจะเท่ากับปี 2559 คือ +/- 110 มม./เดือน และส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในต้นอ้อยโดยทาให้อ้อยมีน้ำหนักที่เหมาะสม แต่ปริมาณน้ำตาลไม่เพิ่มขึ้น
เมื่อพิจารณาที่กำลังการผลิตนํ้าตาลและผลผลิต (ระวางนํ้าหนักอ้อยเป็นตัน) ในหน่วยตัน/เฮกตาร์ โดยในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่มีฤดูฝนมากเกินเป็นระยะเวลา4 ปี (2550, 2553, 2556 และ 2559) และไม่มีแผนรับมือและการดาเนินการในคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ประมาณการณ์ได้ว่ากาลังการผลิตอ้อยจะอยู่ในช่วง +/- 85 ตัน/เฮกตาร์ โดยมีปริมาณนํ้าตาลอยู่ในช่วงร้อยละ +/- 6.5
นอกจากนี้โดยรวมแล้วการผลิตอ้อยยังได้รับอิทธิพลอย่างมากมาจากพื้นที่การผลิตทั้งหมดอีกด้วย โดยคาดการณ์ว่านอกจากพื้นที่การผลิตอ้อยจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วยังมีแนวโน้มลดลงอีกด้วย เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ความไม่สอดคล้องกันในการขายน้าตาลของเกษตรกร ราคานํ้าตาลที่ต่ากว่าต้นทุนประกอบการ การโอนโควต้าเงินอุดหนุนปุ๋ยบางส่วนไปยังพืชชนิดอื่นๆ และการปิดโรงงานนํ้าตาลบางแห่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ และการหันไปปลูกพืชผลทางการเกษตรที่ให้ผลกำไรชนิดอื่น แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่จะหันไปปลูกพืชผลชนิดอื่นอันเนื่องมาจากความเคยชินและความจำยอมของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในการเริ่มลงมือเพาะปลูกพืชชนิดใหม่ก็ตาม การคาดการณ์กาลังการผลิตและผลผลิตข้างต้นเป็นการประมาณถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2562 หากว่าไม่มีการปรับปรุงรูปแบบการเพาะปลูกอย่างจริงจัง แน่นอนว่าการสูญเสียจะสามารถลดลงได้โดยกิจกรรมหลายๆ กิจกรรม ได้แก่ การปลูกอ้อยพันธุ์ที่สามารถทนต่อสภาพต่างๆ ได้ (สภาพต่างๆ ที่ปัจจุบันยังไม่มี) สิ่งที่สามารถทำได้คือการจัดโครงสร้างองค์ประกอบของพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรักษาเสถียรภาพของการผลิตได้ (เนื่องจากในปี 2562 จะเป็นปีที่ฤดูฝนมีปริมาณฝนชุก การปลูกอ้อยพันธุ์โตเร็วจึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ) การให้นํ้าในปี 2561 (ภาวะแห้งแล้งในช่วงที่มีการสร้างอาหารของอ้อยลดลง ไร่อ้อยจึงจำเป็นต้องทำโคราห์/การระบายนํ้าใต้ผิวดินเพื่อให้สามารถบำบัดนํ้าได้อย่างเหมาะสมและทำให้ไร่อ้อยแห้งอยู่เสมอเพื่อให้ต้นอ้อยสามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และหากจาเป็นยังสามารถใช้แซดพีเค (ZPK) (ตัวบ่ม) (การเติมสาร) เพื่อกระตุ้นให้อ้อยเจริญเติบโตเร็วขึ้นได้ด้วยนอกจากนี้ยังมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมสิ่งอนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานในการเก็บเกี่ยว เช่น การตัดและการขนส่งที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงอัตราการสูญเสียในไร่อ้อยและสามารถเก็บเกี่ยวอ้อยได้ในเวลาที่เหมาะสมอีกด้วย