จีนหวนคืนสู่ตลาดเอทานอลของสหรัฐฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 64
จากข้อมูลการค้าของสำนักงาน สำมะโนแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Census Bureau) ระบุว่า จีนซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้เชื้อเพลิงเอทานอลเป็นอันดับสามของโลก ได้สั่งซื้อเอทานอลของสหรัฐประมาณ 200 ล้านแกลลอนในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2564 การนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้ถึงสัญญาณเชิงบวกหลายประการสำหรับภาคเอทานอลซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่อุปทานล้นตลาดเป็นเวลาหลายปี และอุปสงค์ที่ลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อไม่นานมานี้ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้การใช้เชื้อเพลิงลดลง การนำเข้าเอทานอล 200 ล้านแกลลอน ได้ทุบสถิติการนำเข้าของจีนก่อนหน้านี้อยู่ที่ 198.1 ล้านแกลลอน (750 ล้านลิตร) เมื่อปี พ.ศ. 2559 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าปกติถึงร้อยละ 17 ของการขนส่งทั้งหมด ซึ่งในปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 8
นักวิเคราะห์กล่าวว่า “จีนได้สั่งซื้อเอทานอลจากสหรัฐฯ จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา โดยมองว่าอุตสาหกรรมเอทานอล กำลังมีสัญญานการฟื้นตัวที่ดีขึ้นใน ปี พ.ศ. 2564 นี้” เขากล่าวหลังจากรายงานผลกำไรไตรมาสที่สี่ที่สูงเกินคาด
เดิมทีประเทศจีนไม่ได้เป็นผู้นำเข้าเอทานอลรายใหญ่ แต่ด้วยอุปทานข้าวโพดในประเทศที่ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่ตึงตัว เมื่อเทียบกับราคาของสหรัฐแล้ว ได้กระตุ้นให้มีความจำเป็นในการนำเข้า “ราคาข้าวโพดในประเทศยังคงพุ่งสูงขึ้น และราคาเอทานอลในตลาดยังคงอยู่ในระดับสูง” แหล่งข่าวจากจีนที่มีความรู้ด้านการซื้อขาย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่ามีสินค้าบางส่วนได้ทยอยเข้ามาแล้ว
นอกจากนี้ อุปสงค์เอทานอลก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากสามารถใช้เป็นแอลกอฮอล์ในสารฆ่าเชื้อโรค ซึ่งปริมาณการใช้เอทานอลได้พุ่งทะยานสูงขึ้นท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา “ช่องว่างระหว่างอุปสงค์กับอุปทานนั้นค่อนข้างกว้าง เพราะการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งสามารถลดช่องว่างลงได้ด้วยการนำเข้าเท่านั้น” ซึ่งส่วนใหญ่ประเทศจีน จะผลิตเอทานอลจากข้าวโพดและใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ และเชื้อเพลิงเอทานอล ราคาข้าวโพดของจีนจึงพุ่งขึ้นกว่าร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2563 และพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ โดยที่บริษัท ADM ไม่ได้เปิดเผยว่าเป็นซัพพลายเออร์ของจีนหรือไม่
การส่งออกเอทานอลของสหรัฐฯ ไปยังจีน ได้ลดลงในปี พ.ศ. 2560 เมื่ออัตราภาษีนำเข้าเอทานอลเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 จากร้อยละ 5 หลังจากปีนั้นจีนได้ประกาศแผนการที่จะใช้เชื้อเพลิง E10 ทั่วประเทศภายในสิ้นปี พ.ศ. 2563 ซึ่งจะต้องมีการขยายกำลังการผลิตให้มากขึ้น เป้าหมายดังกล่าวถูกระงับไปเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางสถานการณ์ที่สต็อกข้าวโพดลดลงอย่างรวดเร็วและกำลังการผลิตที่จำกัด แม้ว่าการผลิตเอทานอลเชื้อเพลิงยังคงเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยสูงถึง 4.3 พันล้านลิตรในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 จากปี พ.ศ. 2560
ช่วงครึ่งแรกของปีในการตลาดการค้าข้าวโพด พ.ศ. 2562-2563 การส่งออกเอทานอลของสหรัฐอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ แต่การแพร่ระบาดของโรคในช่วงครึ่งปีหลังนับตั้งแต่สิ้นเดือนสิงหาคม การส่งออกรวมลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี อยู่ที่ 5.1 พันล้านลิตร (1.3 พันล้านแกลลอน) การส่งออกกลับสู่ระดับเฉลี่ยในช่วงไม่กี่เดือนของปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากมีแคนาดาเป็นประเทศปลายทางอันดับต้นๆ ในการส่งออกเอทานอลของสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นเกือบหนึ่งในสี่ของการส่งออกทั้งหมด ส่วนบราซิลนั้นครองตำแหน่งสูงสุดในการส่งออกเอทานอลอยู่แล้ว แต่ในอนาคตของการค้ากับประเทศในแถบอเมริกาใต้ ก็ยังคงมีความไม่แน่นอนเนื่องจากระยะเวลาของโควต้าการนำเข้าแบบปลอดภาษีกำลังจะสิ้นสุดลง
จีนไม่ได้นำเข้าเอทานอลเชื้อเพลิงใดๆ ในปี พ.ศ. 2562 แม้ว่าจะมีการนำเข้าสูงสุดในปี พ.ศ. 2559 แต่ก็มีสัดส่วนการใช้เอทานอลเชื้อเพลิงเพียงประมาณหนึ่งในสี่ต่อปีเท่านั้น ซึ่งถือเป็นส่วนแบ่งรายปีที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์และการนำเข้าในปี พ.ศ. 2559 เกือบทั้งหมดนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา อัตราภาษีเอทานอลของสหรัฐฯ ของจีนยังคงอยู่ในระดับสูงแม้ว่าเมื่อต้นปีที่แล้วจะลดลงจากอัตราร้อยละ 70 เหลือร้อยละ 45 สำหรับผู้นำเข้าที่ยื่นขอยกเว้นภาษีก็ตาม ไม่แน่ว่าข้อตกลงล่าสุดจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ภาษีนำเข้าที่สูงประกอบกับราคาเอทานอลของสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้นทำให้เชื้อเพลิงชีวภาพมีราคาแพงมากสำหรับผู้ซื้อชาวจีน
ถึงแม้ว่าจีนจะเพิ่มกำลังการซื้อ แต่กำลังการผลิตเอทานอลของสหรัฐฯ กลับหายไปประมาณร้อยละ 10 ถึง 15 เนื่องจากอัตราผลตอบแทนที่ไม่ดีรวมไปถึงโรงงานข้าวโพดสองแห่งที่บริษัท ADM เป็นเจ้าของ โดยโรงสีทั้งสองแห่งนี้สามารถเริ่มผลิตใหม่ได้ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หากอัตราผลตอบแทนดีขึ้น ปักกิ่งจะระงับการใช้เอทานอลในน้ำมันเบนซินทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากสต็อกข้าวโพดลดลงอย่างรวดเร็ว โดยในเดือนธันวาคม หน่วยงานกำกับดูแลด้านพลังงานของจีนได้เรียกร้องให้บริษัทน้ำมันและก๊าซเร่งฟื้นฟูอุปทานน้ำมันเบนซินผสมเอทานอล ภายหลังจากที่มีรายงานว่าบริษัทต่างๆ ได้ตัดการขายน้ำมันเบนซินผสมเอทานอลในประเทศออก