ปรับใช้มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารรายงานของเอกสารของสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Proceedings of the National Academy of Sciences: PNAS)
ที่นำโดยมหาวิทยาลัยมินนิโซตาร่วมกับบริษัทโคคา-โคลาและอีกหลายองค์กร เผยว่า การที่ทั่วโลกปรับใช้มาตรฐานโดยสมัครใจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (voluntary sustainability standard: VSS) ของ Bonsucro นี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตอ้อยลงได้ครึ่งหนึ่ง (51%) ด้วยอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในประวัติศาสตร์ รายงานชิ้นนี้เน้นย้ำถึงความสามารถของ Bonsucro ที่เป็นโซลูชั่นที่ยืดหยุ่นในการต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
บทความวิชาการที่มีคณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบนี้จำลองผลของการปรับใช้มาตรฐาน Bonsucro ตลอดทั้งอุตสาหกรรมอ้อยซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงว่าการปรับใช้มาตรฐานนี้ทั่วโลกจะช่วยเพิ่มผลผลิตในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลกในขณะที่ลดพื้นที่การผลิต (24%) การใช้น้ำ (65%) และการขับสารอาหารลงสู่แหล่งน้ำ (34%)
รางานฉบับนี้ได้ใช้ Bonsucro เป็นกรณีศึกษา โดยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศและความต้องการอ้อยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณนั้น การศึกษาทางวิทยาศาสตร์นี้ได้ชี้แนะว่าการปรับใช้มาตรฐานเพื่อความยั่งยืนในทิศทางเดียวกันทั่วโลกอย่าง Bonsucro เป็นโรดแมปที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยลดผลกระทบจากการผลิตอ้อยได้
“งานวิจัยระดับโลกนี้แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานของ Bonsucro เป็นเฟรมเวิร์กที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” แดเนียล มอร์เลย์ ซีอีโอของ Bonsucro กล่าว “มันสำคัญมากที่แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานของ Bonsucro นำไปสู่ผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานให้กับผู้ผลิตและผู้ซื้อผลิตภัณฑ์จากอ้อยแล้วน้ำตาล เอทานอล และกากน้ำตาล ในฐานะที่เป็นมาตรฐานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ Bonsucro มุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และจะใช้การศึกษานี้เพื่อปรับปรุงมาตรฐานในปีนี้ต่อไป”
ผู้เขียนงานวิจัยนี้หวังว่างานของพวกเขาจะเป็นที่รู้จักในบรรดาผู้บริโภครายย่อย ผู้ซื้อรายใหญ่ และอุตสาหกรรมการเกษตร ทั้งนี้ ดร. เดอร์ริก เพนนิงตัน ซึ่งเป็นนักวิจัยของสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยมินนิโซตาและเป็นผู้รับผิดชอบบทความของการศึกษานี้กล่าวได้เสริมว่า “การวิเคราะห์ประเภทนี้จำเป็นต่อการพัฒนาการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืนโดยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เราได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมสากลที่เป็นไปได้จากมาตรฐานเพื่อความยั่งยืนและเกณฑ์การรับรองบนพื้นฐานของความเป็นจริงและความครอบคลุม”
หนึ่งในผู้ซื้อรายใหญ่คือบริษัทโคคา-โคลา ซึ่งให้ทุนสนับสนุนงานส่วนหนึ่งแก่วิจัยนี้ โดย อูลรีเก้ ซาปิโร ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการดูแลทรัพยากรน้ำและการเกษตรแบบยั่งยืนของบริษัทโคคา-โคลาแสดงความคิดเห็นว่า “บริษัทโคคา-โคลามุ่งมั่นที่จะจัดหาส่วนผสมทางการเกษตรอย่างยั่งยืน และเรากำลังทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ของเราเพื่อผลักดันวาระดังกล่าวโดยใช้มาตรฐานโดยสมัครใจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่าง Bonsucro ในการจัดหาอ้อย เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Bonsucro ในการส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและระบบโดยรวม ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการทำให้เกษตรกรและอุตสาหกรรมมาปรับใช้มาตรฐานดังกล่าวต่อไป”
งานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการให้การสนับสนุนจากภาคประชาสังคมด้วย โดย อเล็กซ์ บียอร์ก ผู้อำนวยการด้านการให้เอกชนมีส่วนร่วมประจำองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ในสหรัฐฯ กล่าวว่า “รายงานนี้แสดงให้เห็นว่ามาตรฐาน Bonsucro สามารถส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมได้หากมีการปรับใช้อย่างกว้างขวางขึ้น และมาตรฐานเพื่อความยั่งยืนสามารถมีบทบาทในการช่วยให้สังคมและธุรกิจได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องการโดยไม่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพไป”
วิลเลียมส์ สมิธ ผู้เขียนนำของงานวิจัยนี้และเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการสอน การเรียนรู้ และการศึกษาเชิงสังคมและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแอริโซนาได้กล่าวเสริมว่า “เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการกระทำของมนุษย์ต่อความสำเร็จของการปรับใช้มาตรฐานโดยสมัครใจแล้ว การบังคับใช้กฎระเบียบจะเป็นขั้นตอนถัดไปที่สำคัญยิ่ง เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการกระทำของมนุษย์เป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยหลักการแล้ว มาตรฐานโดยสมัครใจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนควรเพิ่มความยืดหยุ่นใจการจัดการกับภัยคุกคามดังกล่าวด้วย”
หมายเหตุ
รายงานฉบับนี้ถือว่าสอดคล้องกับหลักเกณฑ์มาตรฐาน Bonsucro ทั้งหมด การรับรอง Bonsucro ช่วยให้สมาชิกปฏิบัติตามเกณฑ์ความยั่งยืนที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักถึง 80% ดังนั้นผลลัพธ์เหล่านี้เน้นย้ำถึงการส่งเสริมในอุดมคติที่การรับรอง Bonsucro จะช่วยสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตตลอดทั้งอุตสาหกรรมอ้อยทั่วโลกได้
ด้วยความร่วมมือกับวิทยาลัยโบดอยน์ มหาวิทยาลัยแอริโซนา มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน มหาวิทยาลัยฮาวาย โครงการทุนธรรมชาติ (Natural Capital Project) พันธมิตรแห่งป่าสายฝน (Rainforest Alliance) องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และบริษัทโคคา-โคลา