ผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 2 ของโลก ประเทศอินเดียคาดว่าต้องนำเข้าน้ำตาลในปี 68
อินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 2 เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลเพียงรายเดียวในช่วงเวลา 6 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม มีการกำหนดห้ามทำการส่งออกในปีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เริ่มในเดือนตุลาคมและอาจจะต้องนำเข้าในปีถัดไป เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่น ตามการให้สัมภาษณ์ของผู้ค้า เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรม และเกษตรกร
การลดลงของผลผลิตมีสาเหตุมาจากสภาวะที่แห้งแล้งผิดปกติซึ่งได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญ ในทางตะวันตกของรัฐมหาราชและรัฐใกล้เคียงที่อยู่ทางตอนใต้อย่างคาร์นาตากา รวมไปถึงอุตตรประเทศที่เป็นรัฐทางตอนเหนือ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของผลผลิตน้ำตาลของอินเดีย
รอยเตอร์ได้สัมภาษณ์เกษตรกรมากกว่า 200 ราย ในระหว่างการลงพื้นที่ในรัฐมหาราชและรัฐคาร์นาตากาครั้งล่าสุด
ข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับผลผลิตน้ำตาลของอินเดีย รวมไปถึงข้อมูลที่ได้รับระหว่างการเดินทางไปยังพื้นที่เพาะปลูกสำคัญในทั้งสองรัฐ
อินเดียผลิตน้ำตาลได้ 33.1 ล้านเมตริกตันในปีที่สิ้นสุดในเดือนกันยายน ซึ่งตามหลังบราซิลตามที่คาดการณ์ไว้เพียง 46.9 ล้านตันและถือเป็นผู้จำหน่ายน้ำตาล 12% ของการซื้อขายทั่วโลก โดยส่งออกน้ำตาลโดยเฉลี่ย 6.8 ล้านตันในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้เป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ในช่วงเวลาดังกล่าว แซงหน้าไทยไปเมื่อปีที่แล้ว สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียกล่าวว่าการผลิตสุทธิในเดือนสิงหาคมอาจลดลงเหลือ 31.7 ล้านตันในปีที่เริ่มต้นในเดือนตุลาคม
เหล่าเกษตรกรในรัฐมหาราชและรัฐคาร์นาตากาม ากกว่า 180 รายจาก 11 เขตที่เพาะปลูกอ้อยของรัฐมหาราชและเกษตรกรอีก 49 รายจากรัฐคาร์นาตากาต่างบอกกับรอยเตอร์ว่าปริมาณฝนตกในช่วงมรสุมที่ลดลงในช่วงการเจริญเติบโตที่มีความสำคัญ ทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชผลหยุดชะงัก รอยเตอร์ได้สัมภาษณ์เกษตรกรอย่างน้อย 10 รายในแต่ละเขตที่มีผลผลิตอ้อยมากที่สุดในทั้งสองรัฐ อินเดียถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยราว 50 ล้านคน
ผู้สื่อข่าวคำนวณการลดลงของผลผลิตอ้อยต่อเอเคอร์ มีแนวโน้มลดลงของพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในปีถัดไปโดยใช้ค่าเฉลี่ยจากข้อมูลที่ได้รับจากเกษตรกรที่กระจัดกระจายไปตามเขตเพาะปลูกสำคัญที่ทำการเพาะปลูกอ้อยสายพันธุ์ต่างกันไป บางสายพันธุ์ครบกำหนดเก็บเกี่ยวใน 10 เดือน ในขณะที่บางพันธุ์อาจใช้เวลาถึง 18 เดือน การคาดการณ์ภายในจากบริษัทการค้า 5 แห่งสำหรับผลผลิตปีนี้อยู่ระหว่าง 29 – 30 ล้านตัน การคำนวณของรอยเตอร์จากการสัมภาษณ์เกษตรกรพบว่าผลผลิตอาจลดลง 12.2% ในปีนี้เหลือ 29.05 ล้านตัน ผลผลิตอาจลดลงอีกในปีถัดไป โดยบริษัทการค้า 3 แห่งคาดการณ์ว่าผลผลิตอ้อยจะอยู่ในช่วง 25 – 26.9 ล้านตัน ซึ่งสอดคล้องกับการคำนวณของรอยเตอร์สำหรับผลผลิตอ้อยที่ 26.6 ล้านตัน
การบริโภคน้ำตาลของอินเดียมีการตั้งเป้าที่จะทำสถิติที่ 29.2 ล้านตันในปีนี้ และเพิ่มขึ้นประมาณ 30 ล้านตันในปีถัดไป ตามการคาดการณ์ของผู้ค้า ในรัฐมหาราช ปริมาณน้ำฝนที่ลดลงส่งผลให้ผลผลิตอ้อยโดยเฉลี่ยลดลง 16% โดยบางภูมิภาคประสบปัญหาการลดลงถึง 40% ตามข้อมูลจากเกษตรกร เจ้าหน้าที่ของรัฐระบุว่า พื้นที่เพาะปลูกอ้อยในรัฐมหาราชลดลง 10% ควบคู่ไปกับการเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่การผลิตอาหารสัตว์และน้ำตาลโตนดถึง 2% ของผลผลิตจากการเพาะปลูก ซึ่งจะนำไปสู่การลดลงถึง 28% ของการผลิตน้ำตาลสุทธิในรัฐเหลือเพียง 7.55 ล้าน ตันในปีนี้จากการคำนวณของรอยเตอร์
ตามข้อมูลจากการสำรวจเกษตรกร รัฐคาร์นาตากาเผชิญกับปัญหาพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่ลดลงถึง 13% และคาดว่าผลผลิตจะลดลง 25% ในปีนี้ นั่นบ่งชี้ว่าผลผลิตน้ำตาลอาจลดลงเหลือเพียง 3.7 ล้านตัน
อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลของบริษัทการค้าต่าง ๆ รัฐอุตตรประเทศที่มีการชลประทานที่ดีขึ้น คาดว่าจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 9.7% เป็น 11.5 ล้านตันในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็น 12.4 ล้านตันในปีหน้าเนื่องจากเปลี่ยนการผลิตน้ำตาลทรายไปเป็นเอทานอลลดลง เกษตรกรในพื้นเพาะปลูกสำคัญของทั้งสองรัฐที่กำลังต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนน้ำ บอกกับรอยเตอร์ว่าพวกเขาวางแผนที่จะลดการเพาะปลูกอ้อยหรือละทิ้งการเพาะปลูกอ้อยทั้งหมด
จากการคำนวณตามความคิดเห็นของเกษตรกรอาจมีความเป็นได้ที่พื้นที่เพาะปลูกอ้อยของรัฐมหาราชจะลดลงถึง 32% และพื้นที่เพาะปลูกอ้อยในรัฐคาร์นาตากาอาจลดลงถึง 29% สำหรับปีการตลาดที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2024 ปัจจัยหลายประการรวมไปถึงปริมาณน้ำฝนในช่วงมรสุมของปีหน้าจะเป็นตัวกำหนดปริมาณผลผลิตอ้อยในท้ายที่สุด การเพาะปลูกที่ลดลงอาจทำให้ผลผลิตของรัฐมหาราชในปีหน้าเหลือ 5.1 ล้านตันและผลผลิตของรัฐคาร์นาตากาลดลงเหลือ 2.6 ล้านตัน ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปีการเพาะปลูกปี 2559/2560
ความพร้อมของผลผลิตอ้อยแบบราทูนก็คาดว่าจะลดลงเช่นกัน เนื่องจากเกษตรกรจำนวนมากถูกบังคับให้ถอนรากต้นอ้อยเนื่องจากขาดแคลนน้ำ ราทูน คือ ต้นอ้อยหลังจากการเก็บเกี่ยวครั้งแรก ซึ่งจะคงอยู่ในดินสำหรับการเก็บเกี่ยวครั้งที่สอง โรงงานในรัฐมหาราชกล่าวว่าอัตราส่วนของน้ำตาลที่สกัดได้จากอ้อยระหว่างกระบวนการผลิตต่ำกว่าปกติ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น
ตัวเลขข้างต้นสำหรับปี 2565/66 มาจากข้อมูลอย่างเป็นทางการและการคาดการณ์ในอีก 2 ปีข้างหน้าเป็นการคำนวณจากผลการสำรวจเกษตรกรในรัฐมหาราชและรัฐคาร์นากาตาของรอยเตอร์ การประมาณการสำหรับรัฐอุตตรประเทศขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทการค้าต่าง ๆ
*สำหรับช่วงปี 2566/67 การตัดสินใจล่าสุดของรัฐบาลในการจำกัดการผันน้ำตาลไม่เกิน 1.7 ล้านตันสำหรับการผลิตเอทานอลได้นำมาพิจารณาด้วย
** สำหรับปี 2567/68 สันนิษฐานว่ารัฐบาลจะสั่งห้ามการผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลประเภทบีและน้ำอ้อยหรือน้ำเชื่อมจากอ้อย
รายงานโดย ราเชนทรา จาดาว์ เรียบเรียงโดยโทนี่ มันโร และโซนาลี พอล