ฟิลิปปินส์ยกระดับอุตสาหกรรมน้ำตาลเพื่อแข่งขันในระดับโลก
ฟิลิปปินส์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมน้ำตาลโลกโดยใช้พระราชบัญญัติการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาล (Sugar Industry Development Act: SIDA) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อย เพิ่มขีดความสามารถในการใช้ทรัพยากรอ้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานน้ำตาล อันเนื่องมาจากการเปิดเสรีการนำเข้า
ผู้ช่วยเลขานุการ อันโตนิโอ โจเซลิโต ลัมบิโน (Antonio Joselito Lambino II) กล่าวว่า “กระทรวงการคลัง (Department of Finance: DOF) ต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมและทำความเข้าใจถึงประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมน้ำตาลเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกได้ เป้าหมายก็คือเราสามารถแข่งขันกับเพื่อนบ้านของเราได้” เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างการเยี่ยมชมโรงงานน้ำตาลพร้อมกับวุฒิสมาชิก ซินเทีย วิลลาร์ (Cynthia Villar) เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่ทั้งสองรายได้รับมอบหมายจากเอมิลิโอ ยูโล (Emilio Yulo III) สมาชิกคณะกรรมการองค์กรบริหารจัดการน้ำตาล (Sugar Regulatory Administration: SRA) และเจ้าหน้าที่ของสมาคม Asociacion de Agricultores de La Carlota y Pontevedra Inc. (AALCPI) (แอสโซซิเอชั่น เดอ อะกริคัลเจอร์ เดอ ลา การ์โลต้า วาย พอนเตเวดร้า อินซ์) นำโดยประธานาธิบดีโรเบอร์โต้ คูเอนก้า (Roberto Cuenca) โดยซินเทีย วิลลาร์ (Cynthia Villar) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภาด้านการเกษตร กล่าวย้ำถึงความจำเป็นที่อุตสาหกรรมน้ำตาลจะต้องมีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกเนื่องจากการเปิดเสรีการนำเข้าจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้านี้ เธอกล่าวว่า นอกจากการแข่งขันในระดับโลกแล้ว ภาคอุตสาหกรรมควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้พระราชบัญญัติการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาล (Sugar Industry Development Act: SIDA) ด้วย
วิลลาร์ระบุว่า เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณจำนวน 2 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ภายใต้กฎหมาย ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จึงทำให้ในปีนี้กรมงบประมาณและการบริหารจัดการลดงบประมาณลงเหลือ 500,000 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ แต่เธอได้พยายามผลักดันให้มีการสร้างโครงการน้ำตาลแห่งชาติเพื่อให้กรมวิชาการเกษตรเข้ามากำกับดูแล ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าเงินจากกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมจะถูกนำไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
จากเงินกองทุนประจำปีจำนวน 2 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ ได้ถูกจัดสรรให้กับโครงสร้างพื้นฐานจำพวกถนนจากฟาร์มสู่โรงงานน้ำตาลจำนวน 1 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ สำหรับเป็นสินเชื่อ จำนวน 300 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ สำหรับเป็นทุนการศึกษาจำนวน 100 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ สำหรับการบล็อกฟาร์มของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปที่ดินจำนวน 300 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ และสำหรับโครงการสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ร่วมกันจำนวน 300 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ แม้ว่าในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ววุฒิสภาจะมีมติเป็นเอกฉันท์อนุมัติมติข้อ 213 ที่สนับสนุนให้ฝ่ายบริหารไม่เปิดเสรีอุตสาหกรรมน้ำตาลตามแผนที่วางไว้ เพื่อป้องกันสวัสดิภาพของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและแรงงานในภาคอุตสาหกรรมในกว่า 20 จังหวัดของประเทศก็ตาม
ปีที่แล้วรัฐบาลถูกผลักดันให้นำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จำนวน 250,000 เมตริกตัน เพื่อเพิ่มอุปทานภายในประเทศเนื่องจากผลผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น ผู้ส่งออกอาหารและผู้ผลิตเครื่องดื่ม ตามข้อมูลขององค์กรบริหารจัดการน้ำตาล (Sugar Regulatory Administration: SRA) ระบุว่าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ที่นำเข้าบางส่วนประมาณ 170,000 ตันยังคงอยู่ในคลังสินค้าภายในประเทศ
ฟิลิปปินส์ไม่ได้ประเมินความต้องการน้ำตาลรวมของประเทศ แต่หน่วยงานต่างประเทศ เช่น กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การบริโภคของฟิลิปปินส์อยู่ที่ประมาณ 2.3 ล้านเมตริกตัน ในขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมบางรายระบุว่าอยู่ที่ 2.5 ล้านเมตริกตัน การผลิตน้ำตาลทรายดิบของภูมิภาควิสายาส์ตะวันออก (Eastern Visayas) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 หรือ 46,742 เมตริกตัน ในขณะที่ผลผลิตในเกาะปาไนย์ (Panay) อาจสูงถึง 136,547 เมตริกตัน ซึ่งสูงกว่าผลผลิตของปีที่แล้วถึงร้อยละ 3.04 ซึ่งมีปริมาณผลผลิตอยู่ที่ 132,515 เมตริกตัน อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวในแวดวงอุตสาหกรรมกล่าวว่าไม่ได้มีความต้องการน้ำตาลเพิ่มขึ้นมากนักเนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของ Covid-19
ซีด้า (SIDA) หรือรัฐบัญญัติ (Republic Act) 10659 ซึ่งประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2558 มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมน้ำตาลของฟิลิปปินส์ โดยช่วยส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อย ช่วยเพิ่มรายได้ของเกษตรกรและแรงงานในภาคการเกษตรโดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การกระจายผลผลิต การสร้างงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานน้ำตาล