ภาษีน้ำตาลส่งผลกับผู้บริโภคเอเชียอย่างไร?
ปัจจุบัน รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้ต่อสู้กับของโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้นด้วยการจัดเก็บภาษีน้ำตาล และกำหนดข้อจำกัดกับการตลาดสินค้าที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูงต่างๆ ดังนั้น ผู้บริโภคชาวเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชื่นชอบความหวานจะต้องรับภาระภาษีที่สูงขึ้น
เวียดนามกำลังพิจารณาจัดเก็บภาษีน้ำตาล ในขณะที่มาเลเซียเป็นประเทศล่าสุดในเอเชียที่จะจัดเก็บภาษีดังกล่าวตั้งแต่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นไป โดยจัดเก็บที่อัตรา 40 เซนต์มาเลเซีย (9 เซนต์สหรัฐ) ต่อเครื่องดื่มหนึ่งลิตรที่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือสารให้ความหวานมากกว่า 5 กรัม ส่วนอินเดีย ประเทศไทย บรูไน และฟิลิปปินส์ได้เริ่มบังคับเก็บภาษีน้ำตาลแล้ว ในขณะที่เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม สิงคโปร์ได้ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูงซึ่งเป็นประเทศแรกที่บังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าว
ตามข้อมูลของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADBI) ประเทศในเอเชียแปซิฟิกมีคนที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนจำนวนมาก โดยมีผู้ใหญ่คิดเป็นอัตราส่วนสองคนในห้าคนหรือราว 1 พันล้านคนอยู่ในกลุ่มนี้
หม่า กวง เฉิง ผู้จัดทำรายงานซึ่งเป็นผู้บริหารคณะโภชนาการและสุขลักษณะอาหารที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งกล่าวว่าสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เด็กจีนหันมาบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น
คริสเตียน รูเดน ที่ปรึกษาด้านโภชนาการประจำภูมิภาคของยูนิเซฟเปิดเผยว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกซึ่งรวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียเหนือ และหมู่เกาะแปซิฟิกมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนเด็กอ้วนเร็วที่สุดในโลก รูเดนเปิดเผยว่า จำนวนเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 ขวบถึง 19 ปีที่มีน้ำหนักเกินได้เพิ่มสูงขึ้นเท่าตัวระหว่างปี 2543 จนถึงปัจจุบัน และในภูมิภาคนี้มีคนกว่า 80 ล้านคนที่มีน้ำหนักเกินโดยเกินครึ่งอาศัยอยู่ในประเทศจีนและอีกจำนวนมากในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
ประเทศจีนและอินเดียมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากที่สุดในโลก โดยมีประมาณ 180 ล้านคนเป็นโรคเบาหวานประเภทสอง เนื่องมาจากความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในเอเชียได้ทำให้ชุมชนต่างๆ มีลักษณะความเป็นเมืองและผู้คนมีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น โดยปัจจุบันผู้คนส่วนมากทำงานตามสำนักงาน ออกกำลังกายน้อยมากหรือไม่ออกกำลังกายเลย ไม่ทำอาหารเอง และเลือกรับประทานอาหารแปรรูปหรืออาหารในร้านฟาสต์ฟู้ดเพื่อความสะดวก
หยิก หยิง เตียว คณบดีวิทยาลัยสาธารณสุข ซอว์ สวีต ฮอก แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์กล่าวว่า การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลสูงในเอเชียที่เพิ่มมากขึ้นเป็น “ผลมาจากสังคมทันสมัยที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว” ยิ่งความต้องการอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานในเอเชียเพิ่มสูงขึ้นเท่าใด อันตรายจากปริมาณน้ำตาลที่สูงก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นนั้น โดยมันไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงการคลังภาครัฐและการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย โดยสถาบันดังกล่าวให้ข้อมูลว่าโรคเรื้อรังนี้ส่งผลกระทบต่อคนจนมากที่สุด เนื่องจากแต่ละครอบครัวต้องกันรายได้ไว้ถึงร้อยละ 25 ไปกับค่ารักษาพยาบาล
แต่การจัดเก็บภาษีน้ำตาลที่ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ได้เป็น “กระสุนนัดเดียว” ที่สามารถแก้ปัญหาโรคอ้วนของภูมิภาคให้หมดไปได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับเด็ก อย่างการจัดอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน การห้ามขายอาหารขยะใกล้กับโรงเรียน และการบังคับให้ติดฉลากโภชนาการหน้าบรรจุภัณฑ์ทุกครั้ง
มหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong) มีข้อมูลว่า “โรคอ้วนเป็นผลจากปัจจัยต่างๆ ที่ซับซ้อนหลายปัจจัยทั้งรูปแบบการดำเนินชีวิตและการรับประทานอาการ” เขาเสนอแนะ “การผสมผสานนโยบายอย่างสร้างสรรค์” อย่างโครงการให้การอบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพนอกเหนือจากภาษีน้ำตาล เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันกำหนดนโยบายได้ตระหนักในเรื่องนี้และได้ริเริ่มโครงการต่างๆ นอกเหนือจากการจัดเก็บภาษีแล้ว
เพราะฉะนั้น ต้นทุนกับการต่อสู้กับโรคเรื้อรังเป็นเหตุผลที่ทำให้การจัดเก็บภาษีน้ำตาลมีน้ำหนัก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่าการจัดเก็บภาษีดังกล่าวเป็น “การแทรกแซงที่มีประสิทธิภาพ” โดยราคาที่เพิ่มขึ้นจะช่วยลดการบริโภคเครื่องดื่มหวานลงได้.