มาเลเซียตั้งเป้าเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมรายใหญ่สุดในเอเชีย
บริษัท MSM Malaysia Holdings Bhd ผู้ผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ชั้นนำของมาเลเซีย ที่มีกำลังการผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์สูงถึง 2.25 ล้านตันต่อปี มีเป้าหมายเป็นผู้ผลิตน้ำเชื่อมรายใหญ่สุดในเอเชีย โดยกลุ่มบริษัทตั้งเป้าทำการตลาดผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมนอกเหนือจากภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย ไปยังตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ และคาดการณ์ว่า ความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมทั่วโลกจะสูงกว่า 50,000 ตันในปีนี้ สามารถสร้างรายได้หลักเป็นจำนวนเงินถึง 100 ล้านริงกิตสำหรับงบการเงินประจำปี พ.ศ.2563
“ นี่เป็นครั้งแรกที่เราผลิตน้ำตาลชนิดนี้ วิศวกรของเราได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้เมื่อปีที่แล้ว และเริ่มทำการส่งออกไปแล้วประมาณ 300 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อเดือนตั้งแต่ต้นปี จากโรงงานที่รัฐยะโฮร์โดยเร่งอัตราการใช้กำลังการผลิตระดับสูงสุดที่ 34% และในปีนี้เราตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจนถึงจุดคุ้มทุนที่ 48-50%” Datuk Khairil Anuar Aziz ประธานกรรมการบริหาร กล่าวกับสื่อในงานแถลงข่าวเสมือนจริง หลังเสร็จสิ้นการประชุมสามัญประจำปีของกลุ่มบริษัท เขาเปิดเผยว่าน้ำเชื่อมที่ผลิตในโรงงานที่ยะโฮร์ ได้รับการตอบรับอย่างกระตือรือร้นอย่างมากในช่วงห้าเดือนที่ผ่านมา
“บริษัท MSM Malaysia รับการประกันการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมจำนวน 200,000 ตัน ไปถึงสิ้นปีนี้ มีข้อมูลว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทางบริษัทได้ส่งออกน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ น้ำเชื่อม และไซรัปอย่างดีไปกว่า73,000 ตัน มีรายได้ประมาณ 157 ล้านริงกิต เรามุ่งเป้าในการเพิ่มยอดขายและการส่งออกผลิตภัณฑ์ให้มากถึงประมาณ 350,000 ตันในปีงบประมาณปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างรายได้ให้ประมาน 600 ล้านริงกิต” เขากล่าวว่ากลุ่มต้องการขยายตลาดผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมไปยังตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ นอกเหนือจากภูมิภาคเอเชีย
นอกจากนี้ ทางบริษัทกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่ม และผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลายทาง เช่น น้ำเชื่อมและนมข้นหวาน เขากล่าวว่า อุตสาหกรรมน้ำตาลมีการขาดดุล 5-6 ล้านตันในปีพ.ศ.2563 แต่ก็ได้ลดลงเป็น 500,000 ตัน ซึ่งเป็นผลลัพธ์มาจากปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น วิกฤตการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน เช่นเดียวกับวิกฤติราคาน้ำมันซึ่งทำให้ บราซิล ผู้ผลิตน้ำตาลทรายดิบที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้เบนการผลิตจากเอทานอลไปเป็นน้ำตาล รวมไปถึงการปิดตัวลงของภาคอาหารและเครื่องดื่มเนื่องจากการระบาดใหญ่ Covid-19
อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่า ยังคงมีความต้องการยังคงเป็นไปในทิศทางบวก เมื่อมาเลเซียเข้าสู่มาตรการควบคุมการสัญจรในระยะฟื้นฟู (Recovery Movement Control Order – RMCO) ทำให้อุปสงค์ภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น2,500-2,700 ตันต่อวัน “เส้นกราฟได้พุ่งขึ้น ตอนนี้ธุรกิจต่างๆ ที่มีบทบาทในอุตสาหกรรม ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเริ่มกลับมาเปิด ทำให้ความต้องการน้ำตาลในประเทศเพิ่มขึ้น การสร้างความมั่นคงจากรัฐปะลิสและรัฐยะโฮร์จะช่วยลดความเสี่ยงของโซ่อุปทานอย่างมีนัยสำคัญ และลดต้นทุนการดำเนินงานและการผลิต” Khairil กล่าว
ในขณะเดียวกัน บริษัทมีการทำงานใกล้ชิดกับบริษัทหลัก นั่นคือบริษัท FGV Holdings ในการเพิ่มกำไรของกลุ่ม MSM Malaysia ในเมืองจูปิง รัฐปะลิส ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการเกษตรและอาหารของ FGV Holdings คาดว่าจะมีส่วนร่วมในภาคเกษตรอาหารของประเทศ และมีการสนับสนุนเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นให้เกิดโอกาสทางธุรกิจและการจ้างงาน ในส่วนการรวมกิจการกลุ่มบริษัทนั้น Khairil กล่าวว่า เขาได้รับข้อเสนอหลายข้อในปีนี้ แต่ก็ยังไม่ได้มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากบริษัทจำเป็นต้องไตร่ตรองถึงคุณสมบัติของพันธมิตรที่เข้ามาร่วม
เขากล่าวว่า หนึ่งในเกณฑ์คุณสมบัติของพันธมิตรคือ ต้องมีเครือข่ายที่กว้างขวางในด้านอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งในและต่างประเทศ และมีน้ำตาลเป็นส่วนหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซึ่งจะทำให้บริษัทดำเนินการต่อไป “ในแง่ของโอกาสสำหรับการเติบโตของธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการ เป็นสิ่งที่ทางบริษัทกำลังมองอย่างกว้างขวาง แต่ในขณะนี้เรายังไม่เจอผู้ที่มีความเหมาะสม แต่เรายังคงเปิดกว้างในแง่ของการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานที่รัฐยะโฮร์”
ปัจจุบันโรงงานที่รัฐยะโฮร์ของบริษัท MSM Malaysia ได้ใช้อัตรากำลังการผลิตที่ 34% แต่มีการวางแผนที่จะเพิ่มอัตราขึ้นมาเป็น 48% จนถึง 50% ในปีนี้ Khairil กล่าวว่า การรวมบริษัทเข้าด้วยกัน จะช่วยลดการผลิตส่วนเกินในปัจจุบันและพยายามเพิ่มปริมาณการส่งออก “ความต้องการจากตลาดในประเทศนั้นไม่สูงมากนัก โดยอยู่ที่ระหว่าง 1.5 ล้านตันและ 1.6 ล้านตันต่อปี และเรากำลังแข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นๆอีก เช่น กลุ่มเทรดวินด์ส (Tradewinds)
บริษัท MSM Malaysia มีกำลังการผลิตส่วนเกินเพื่อใช้ผลิตส่งออกไปยังตลาดใหม่ เช่น จีน ไต้หวัน เวียดนาม สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ Khairil กล่าวว่า การผลิตน้ำเชื่อมยังไม่สามารถเทียบได้กับน้ำตาลทราย แต่ผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมมีแนวโน้มที่ “ค่อนข้างสดใส” เนื่องจากผู้ซื้อเปลี่ยนมาบริโภคผลิตภัณฑ์นี้มากขึ้น “เราต้องการขยายธุรกิจนี้ และเป้าหมายของเราคือการเป็นผู้ผลิตน้ำเชื่อมรายใหญ่ที่สุดในเอเชีย ถึงจะมีอุปสรรคบ้าง แต่เราเห็นระดับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น เพราะเป็นการเริ่มต้นส่งออกผลิตภัณฑ์ ดังนั้นเราจึงต้องรักษาเป้าหมายผลิตภัณฑ์ของเราในปีนี้ และคาดว่าผลิตภัณฑ์น้ำเชื่อมจะผลิตประมาน 50,000 ตันในปลายปีนี้