มิตรผล ร่วมพัฒนา ‘คาร์บอนเครดิต’ เปิดตัวแพลทฟอร์มการซื้อ-ขาย เพื่อสิ่งแวดล้อม
กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยหรือ ส.อ.ท. ร่วมจับมือกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) อีก 53 องค์กร เพื่อเปิดตัว Thailand Carbon Credit Exchange Platform ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มหลัก เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของไทย สู่การใช้พลังงานทดแทนพลังงานเดิมที่เป็นมลภาวะต่อโลก โดยจัดตั้งโครงการที่มีชื่อว่า RE100 Thailand Club.
การพัฒนาคาร์บอนเครดิตมีจุดเริ่มต้นจากการตื่นตัวในการสร้างสมดุลให้ชั้นบรรยากาศของโลกของนานาประเทศผ่านพิธีสารโตเกียว (Kyoto Protocol) ในปี 1997 ให้ประเทศพัฒนาแล้ว 37 ประเทศจะต้องลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกลงโดยจะมีการออกกฎหมาย กำหนดระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปี และเริ่มใช้มาตรการทางภาษีกับผู้ที่ปล่อยก๊าชเรือนกระจกเกินระดับที่กำหนด ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ร่วมลงนามรวมถึงประเทศไทยจะต้องใช้ความพยายามในการลดก๊าชเรือนกระจก
ซึ่งต่อมาในปี 2015 ได้มีการประชุม ณ กรุงปารีส (Paris Agreement) นานาชาติได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ในการรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มก่อนยุคก่อนอุตสาหกรรมอย่างน้อย 1.5 องศาเซลเซียล และยังกำหนดหลักการซื้อขาย ก๊าชเรือนกระจก (Emission Trading System: ETS) ซึ่งสามารถขายสิทธิ์การปล่อยก๊าชเรือนกระจกที่เหลือให้แก่ผู้อื่นได้ หรือ “คาร์บอนเครดิต” ซึ่งหลักการนี้ เป็นจุดกำเนิดของการประเมินมูลค่าของคาร์บอนเครดิตที่มีหน่วยเทียบเท่ากับการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) จำนวน 1 ตัน เป็นตัวเงินเพื่อซื้อขายระหว่างบริษัท จนเกิดเป็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตทั่วโลก
เมื่อกรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา องค์กรบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากองค์กรต่างๆ อีก 53 องค์กร อาทิ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ) บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีพิธีลงนามข้อตกลงร่วมมือ การส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินงานพัฒนาตลาดคาร์บอนภายในประเทศ ได้มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกของภาคเอชน ซึ่งได้เปิดตัวแพลทฟอร์ม Thailand Carbon Cradit Exchange ที่จะเป็นตัวกลางตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนออนไลน์ครั้งแรกของประเทศไทย ในปัจจุบันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนทั่วโลก และรวมทั้งอุตสาหกรรมน้ำตาลและอ้อยของประเทศไทย ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ตามหลัก Environmental, Social, and Govenance หรือ ESG เป็นอย่างมากหลายประเทศได้พลักดันนโยบายหรือออกกฎหมายที่จะลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน
ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เครือข่าย Thailand Carbon Neutral Network มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมาย การรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 – 2 องศาเซลเซียส โดยมีสมาชิกของเครือข่ายนี้ เป็นส่วนสำคัญในการสร้างระบบนิเวศน์ สำหรับการใช้กำหนดราคาคาร์บอน เพื่อสร้างความโปร่งใสและยุติธรรมในตลาดคาร์บอน รวมทั้งร่วมสนับสนุนโครงการภาคป่าไม้ประเภท ต่าง ๆ ตามนโยบายของประเทศไทย โดยผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต (Thailand Carbon Credit Exchange Platform) ที่อบก. และส.อ.ท.ร่วมกันพัฒนา เพื่อส่งเสริมแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก สร้างผลประโยชน์ให้แก่ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และนำไปสู่การลดต้นทุนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศโดยรวมให้ต่ำที่สุด
ผู้อำนวยการ อบก. นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ กล่าวเสริมว่า การจัดตั้งเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ TCNN นั้นเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่นในการร่วมรับผิดชอบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สุทธิเป็นศูนย์ Net zero ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยภายในปี 2573 และยังสอดคล้องกับการขับเคลื่อนของกลุ่มองค์กรระดับโลกตามข้อ ตกลงปารีสอย่าง Race To Zero อีกด้วย เครือข่าย TCNN 53 องค์กร และ อบก.ได้ร่วมมือกับส.อ.ท.พัฒนาแพลตฟอร์ม Thailand Carbon Credit Exchange Platform สามารถรายงานระดับราคาที่ยุติธรรม นำไปสู่การลดต้นทุนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศโดยรวมให้ต่ำ ที่สุด และในอนาคตจะพัฒนาไปสู่การซื้อขายในระดับสากล
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมน้ำตาลและอ้อยของไทย อย่าง บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ได้ร่วมเป็นหนึ่งในองค์กรธุรกิจของไทย ที่จะขับเคลื่อนไปกับภาครัฐในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรเครือข่ายที่มีกว่า 53 องค์กร เป็นองค์กรมีศักยภาพและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นแนวร่วมสำคัญในการช่วยการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย
ขณะเดียวกันการผนึกกำลังสร้างเครือข่ายนี้ยังนำไปสู่การผลักดันให้ตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยเติบโต ซึ่งจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มธุรกิจ องค์กร และหน่วยงานต่างๆทุกภาคส่วนหันมาใช้เรื่องตลาดคาร์บอนเครดิตลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สร้างสังคม Net Zero ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีแนวโน้ม ที่จะได้รับความสำคัญมากขึ้นในอนาคต หลังจากที่ทางสหรัฐอเมริกาได้ประกาศจุดยืนทางสิ่งแวดล้อมว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่ยุคไร้มลพิษ ภายในปี 2050 รวมถึงมีการสนับสนุนเงินทุน 2 ล้านล้านดอลลาร์ ในโครงการพลังงานสะอาด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้น่าจะมีส่วนสำคัญ ในการส่งเสริมธุรกรรมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตทั่วโลก การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยังต้องการการสนับสนุนด้านนโยบาย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การพัฒนาตลาดกลางเพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ในอนาคต