ลูกค้าของ Case IH พบกับผู้เชี่ยวชาญระดับชั้นนำของอุตสาหกรรมอ้อยในประเทศไทย
อุตสาหกรรมอ้อยต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากๆ ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอ้อยกลายเป็นพืชเพาะปลูกที่สำคัญใน 10 อันดับแรกทั่วโลก
และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% ของการใช้ผลิตน้ำตาลของโลก จากรายงานที่เผยแพร่ขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า การเพิ่มผลผลิตน้ำตาลทั่วโลกนั้น 83% จะมาจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการผลิตทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ประเทศอินเดีย (+20%) ตามมาด้วยจีน (+11%), บราซิล (+11%), ไทย (+9%) และสหภาพยุโรป (+5%) การผลิตน้ำตาลคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตลดลง 1.5% ต่อปีภายในช่วงเวลาเทียบเท่ากันเมื่อเปรียบเทียบกับที่อัตรา 2.0% ต่อปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่อัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะมีการผลิตน้ำตาลคิดเป็นสัดส่วน 77% ของการผลิตทั่วโลกในปี 2027 (เปรียบเทียบกับที่สัดส่วน 76% ในช่วงเวลาเทียบเท่ากัน)
Case IH ตระหนักถึงวิธีการเพิ่มผลผลิตด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมอ้อยที่สำคัญทั้งหมด และได้จัดกิจกรรม การประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมอ้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2019 ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งจะนำผู้เพาะปลูกอ้อย โรงหีบอ้อย และตัวแทนส่วนอื่นๆ ในภาคอุตสาหกรรมจากทั่วโลกมารวมตัวกันในกิจกรรมริเริ่มที่สำคัญครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้นี้
การประชุมสุดยอดจะนำผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอ้อยทั่วโลกมากกว่า 130 ท่านมาถกอภิปรายในหัวข้อนวัตกรรมใหม่ ความยั่งยืน และอัตราการทำกำไรในอุตสาหกรรมอ้อย กิจกรรมนี้ยังถือเป็นการเฉลิมฉลองวันเกิดครบรอบ 75 ปีของผลิตภัณฑ์รถตัดอ้อย Austoft® ของ Case IH ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญและช่วงเวลาแห่งความภาคภูมิใจสำหรับแบรนด์ Case IH
ความต้องการพืชเพื่อผลิตน้ำตาลอาจมีผลมาจากปริมาณการบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นในการควบคุมอาหารของผู้คนทั่วโลกและกระบวนการเพิ่มมูลค่าสำหรับผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ของพืช เช่น ชานอ้อย กากน้ำตาล และเอธานอล
ภายใต้อัตราการเติบโตทั่วโลกนี้ Case IH ต้องการอยู่เคียงข้างผู้เพาะปลูกอ้อยและโรงหีบอ้อย ไม่เพียงแค่การจัดส่งเครื่องจักรอุปกรณ์เทคโนโลยีสูงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการให้คำแนะนำในภาคสนามเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยว การส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน คุณภาพของอ้อยที่เป็นเลิศและตัวอย่างที่มีความสะอาดสูง
ในช่วงเวลาของการประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมอ้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2019 นี้ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศออสเตรเลีย บราซิล จีน ไทย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมถกอภิปรายในหัวข้อที่มีความสำคัญสูงภายในอุตสาหกรรม ได้แก่ วิธีการเพิ่มอัตราผลผลิตด้วยวิธีการทำไร่แบบทางเลือกใหม่ แนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการใช้ทรัพยากรน้ำ การปรับปรุงกระแสของเสียในการผลิตอ้อย และการปรับปรุงสุขภาพของคนงานตัดอ้อย วิธีการเพาะปลูกอ้อยสมัยใหม่สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประโยชน์ของรถตัดอ้อยของ Case IH ระบบเทเลเมติกส์และระบบนำทางที่แม่นยำพร้อมด้วยการสาธิตภาคปฏิบัติจากผู้เข้าร่วม และประวัติศาสตร์อันยาวนานมากกว่า 75 ปีของผลิตภัณฑ์ Austoft
มร. ไมเคิล มอนซิโอ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Austoft ประจำภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกาของ Case IH กล่าวว่า: “เราใช้ประสบการณ์มากกว่า 75 ปีของเราทำงานร่วมกับผู้ปลูกอ้อยและโรงงานหีบอ้อยในการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวอ้อย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พลิกเปลี่ยนวงการการทำไร่อ้อยทั่วโลก
ผู้เข้าร่วมในการประชุมสุดยอดของเราเป็นตัวแทนจากตลาดหลัก 8 แห่งในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งทั้งหมดได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี Austoft มาตั้งแต่ปี 2009 ซึ่งเป็นปีที่ผลิตภัณฑ์ Austoft 8000 ซีรีส์ออกวางตลาดครั้งแรก ปัจจุบันผลิตภัณฑ์รถตัดอ้อย Austoft ได้จำหน่ายรวมมากกว่า 750 เครื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน และเรามีความภาคภูมิใจในความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปลูกอ้อยและโรงงานหีบอ้อยในภูมิภาคนี้ด้วย”
มร. เคน ชมิดท์ ผู้จัดการฝ่ายประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Austoft ของ Case IH กล่าวว่า: นับตั้งแต่การผลิตเป็นครั้งแรกในยุคต้นทศวรรษ 1940 โดยบริษัท Toft Bros ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบันเครื่องจักรซีรีส์นี้ได้รับการพัฒนาเป็นเครื่องจักรที่มีรูปลักษณ์ทันสมัยที่ยังคงรักษาเทคโนโลยีอันก้าวล้ำอันบ่งบอกถึงประสบการณ์มากกว่า 75 ปีของเครื่องจักรซีรีส์นี้ได้
ปัจจุบัน มีการใช้รถตัดอ้อย Austoft สำหรับตัดอ้อยประมาณครึ่งพันล้านเมตริกตันต่อปีทั่วโลก ตั้งแต่ประเทศอินเดียและจีนจนถึงซูดาน ปาปัวนิวกินี ตลอดจนถึงในภูมิภาคอเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย”
มร. ชมิดท์ ทำงานกับบริษัทมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1970 ได้พบกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยจากทั่วโลกและได้พบเห็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากมายนับตั้งแต่ทำงานมา ซึ่งมีการจุดประกายมาจากปัจจัยภายนอกหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมือง การขาดแคลนแรงงาน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เป็นต้น
ในแง่ของผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่มีต่ออุตสาหกรรมอ้อยนั้น มร. โรเบิร์ต เควร์ค ทูตสากลขององค์กร Bonsucro และเป็นเจ้าของไร่ 106 เฮกตาร์ในประเทศออสเตรเลียได้อธิบายวิธีการที่เขาได้จัดการปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขด้านสภาพอากาศทำให้เกิดรูปแบบสภาพอากาศที่ขึ้นๆ ลงๆ ในภูมิภาคเพาะปลูกอ้อยที่สำคัญ และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของน้ำกลายเป็นแหล่งวัตถุดิบโภคภัณฑ์ที่น่าตระหนกอย่างรวดเร็ว ทำให้เขาได้ติดตั้งเทคโนโลยีการจัดการน้ำและปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสำหรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยทั้งหมดของเขา การลงทุนดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ในเวลาต่อมาว่าพื้นที่ไร่อ้อยของเขาสามารถลดต้นทุนและมีระบบการจัดการไร่ด้วยตัวเองสำหรับทุกฤดูกาล
มร. เจมี ฟินเกอรัต ผู้อำนวยการและสมาชิกคณะกรรมการบริการของ ITC – Instituto de Tecnologia Canavieira ได้กล่าวเสริมว่า อ้อยมีศักยภาพทางชีววิทยาที่จะให้ผลผลิตมากกว่า 330 ตันต่อเฮกตาร์ ซึ่งใช้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนได้ อีกทั้งเรื่องแหล่งพลังงานสีเขียวนั้นไม่สามารถรีรอได้แล้วภายใต้สภาพอากาศของโลกในปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกต่างก็มีเป้าหมายหลักในการลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล
Case IH ภาคภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าภาพงานกิจกรรมครั้งนี้ที่ก่อให้เกิดการถกอภิปรายที่มีประโยชน์มากมาย และที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในอุตสาหกรรมทั้งหมด แม้ว่าเกษตรกรผู้เพาะปลูก โรงงานหีบอ้อย และโรงงานแปรรูปน้ำตาลยังคงพบแรงกดดันจากหลายทิศทางอย่างต่อเนื่อง Case IH ก็ยังคงยืนหยัดเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งและสม่ำเสมอสำหรับเกษตรกรชาวไร่ออ้อยทั้งหมด