ศรีลังกาเล็งพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศให้มีความเพียงพอ
โรงงานน้ำตาล Kantale ในประเทศศรีลังกา กำลังจะเปิดทำการอีกครั้งหลังจากปิดตัวลงกว่าสามสิบปี เพราะเมื่อมีการเริ่มต้นเดินเครื่องผลิต จะทำให้การหมุนเวียนแลกเปลี่ยนเงินจำนวนสองหมื่นล้านรูปีศรีลังกาเพื่อนำเข้าน้ำตาลในต่างประเทศ สิ้นสุดลงในอีกสองปีข้างหน้า และทำให้ศรีลังกาพึ่งตนเองได้ในเรื่องน้ำตาล โดยโรงงานดังกล่าวจะนำเข้าเครื่องจักรชิ้นใหม่จากอิสราเอล เพราะในแต่ละปี ศรีลังกามีค่าใช้จ่ายเงินสามหมื่นห้าพันล้านรูปีเพื่อนำเข้าน้ำตาลจำนวน 644,000 เมตริกตันจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ ชาวศรีลังกาจะสามารถซื้อน้ำตาลที่ผลิตเองภายในประเทศในราคาถูกลง
นายรวิ กรุนะนายาเก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของศรีลังกากล่าวในแถลงการณ์ว่า ประเทศศรีลังกาจะดำเนินโครงการใหม่เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในการผลิตน้ำตาล แผนนี้กำลังดำเนินการเพื่อเพิ่มการเพาะปลูกอ้อย และจะดำเนินโครงการในสองขั้นตอน ระยะแรกคาดว่าจะผลิตน้ำตาลได้ 50% ของความต้องการน้ำตาลในประเทศภายในปี 2563 เขากล่าวว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการพัฒนาการผลิตน้ำตาลใหม่และกรอบนโยบายที่เสนอแล้ว ส่วนระยะที่สองยังอยู่ในระยะยาว แต่จะดำเนินงานโดยมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเพื่อให้ประเทศมีความพอเพียงในปี 2568
โครงการแรกของโรงงานน้ำตาล Kantale จะผลิตน้ำตาลเพื่อการบริโภคในท้องถิ่น จากนั้นจะพิจารณาเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ไปยังส่วนการส่งออกของศรีลังกา และขยะอ้อยจะถูกนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งจะมีการเพิ่มในวาระแห่งชาติต่อไป
นอกจากนี้ จะมีการผลิตเอทานอลที่โรงงานแห่งนี้อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าเอทานอลและช่วยประหยัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โครงการดังกล่าวจะได้รับทุนจากกลุ่มนักลงทุนอิสราเอล สิงคโปร์และศรีลังกา ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาล แม้ว่าคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะอนุมัติโครงการแล้วก็ตาม
ระยะเวลาหนึ่งโครงการ จะมีมูลค่าประมาณ 400 ล้านรูปี และเป็นโครงการแรกหลังวิกฤติการระบาดของเชื้อ Covid-19 ในศรีลังกา “คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกสองประการของการลงทุนนี้คือ จะสร้างโอกาสการจ้างงานใหม่กว่า 4,500 ตำแหน่งและยังช่วยให้ชาวนาปลูกอ้อยกว่า 7,500 เอเคอร์ได้ โรงงานจะมีข้อตกลงการซื้อล่วงหน้ากับเกษตรกรเพื่อให้มั่นใจว่ามีรายได้ที่มั่นคงขึ้น” เจ้าหน้าที่จากโครงการคนหนึ่งแถลงขึ้น
มีโรงงานน้ำตาลหลายแห่งในศรีลังกา ทำงานเกี่ยวกับการผลิตและอยู่ภายใต้ขอบเขตของกระทรวงที่หลากหลาย นอกเหนือจากพื้นที่ 26,000 เฮกตาร์ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในความดูแลของโรงงานผลิตน้ำตาล 4 แห่ง และพื้นที่เพาะปลูกอีก 31,000 เฮกตาร์ควรได้รับการทำการเกษตรในปี 2563 ด้วย
มีการคำนวณแล้วว่าพื้นที่จำนวน 102,000 เฮกตาร์ควรมีการทำเกษตรกรรมเพื่อให้ประเทศมีความพอเพียงในการผลิตน้ำตาล นอกจากนี้ ยังมีการตัดสินใจที่จะนำระบบการเพาะปลูกเพื่อช่วยสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากโครงการผลิตน้ำตาลดังกล่าว ครอบครัวเกษตรกรทุกครัวเรือนที่เข้าร่วมระบบ จะสามารถรับรายได้ขั้นต่ำ 30,000 รูปีต่อเดือนภายใต้โครงการนี้
แถลงการณ์ดังกล่าวยังเน้นว่า แผนพัฒนาการผลิตน้ำตาลของประเทศศรีลังกา และกรอบการสนับสนุนระบบการเพาะปลูกอ้อยที่มีคุณภาพ จะทำให้เกิดการรักษาราคาน้ำตาลที่สมเหตุผลแก่ผู้บริโภค และยังเสริมโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อปรับปรุงการชลประทานในการเกษตรกรรม รวมทั้งเกิดนโยบายการพัฒนากลไกแรงงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย