อินโดนีเซียตั้งเป้า 15 โรงงานน้ำตาลในอีก 5 ปี เพื่อตอบสนองความต้องการน้ำตาลในประเทศ
ในอีก 5 ปีข้างหน้า อินโดนีเซียมีความจำเป็นต้องสร้างโรงงานน้ำตาลใหม่ถึง 15 แห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของน้ำตาลทรายบริสุทธิ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ และตั้งเป้าการผลิตน้ำตาลถึง 3,800,000 ตันภายในปีพ.ศ. 2563
มีรายงานจากกระทรวงเกษตร คาดการณ์ถึงการบริโภคภายในประเทศ 6,500,000 ล้านตันน้ำตาลในปีนี้ ซึ่งประกอบด้วย 2,800,000 ถึง 3,000,000 ล้านตันในการบริโภคของครัวเรือน และอีก 3,700,000 ล้านตัน เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
ก่อนหน้านี้ การผลิตน้ำตาลของประเทศได้ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่น้อยลง ซึ่งลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 3.42 ต่อปีจาก 477,123 เฮกตาร์ในปีพ.ศ. 2558 เป็น 414,847 เฮกตาร์ในปีพ.ศ. 2561 ในขณะที่การผลิตลดลงจาก 2,580,000 ล้านตันในปีพ.ศ. 2558 เป็น 2,170,000 ล้าน ตันในปี 2561
แอนดิ แอมราน สุไลมาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียกล่าวว่า “เราต้องสร้างโรงงานน้ำตาลใหม่ 10 ถึง 15 แห่งในอีกห้าปีข้างหน้า หากสิ่งนี้เป็นจริง เราจะบรรลุความเพียงพอในการผลิต รวมถึงเป็นการเพิ่มผลผลิตน้ำตาลในประเทศด้วย เพราะเป็นโครงการสำคัญของรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้น โจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้กระตุ้นให้ภาคเอกชนสร้างโรงงานน้ำตาลใหม่ 10 แห่งในระยะแรกที่ดำรงตำแหน่งอีกด้วย ”
เขาเสริมว่า แผนการสร้างโรงงาน 10 แห่งนี้ได้รับการตระหนัก เพราะก่อนหน้านี้ผลิตน้ำตาลได้เพียงแค่ 2,500,000 ล้านตัน และอย่างต่ำคือคือ 300,000 ถึง 500,000 ตัน ซึ่งโรงงานใหม่จะผลิตได้เพิ่มอีก 1 ล้านตัน
โรงงานน้ำตาลใหม่ 10 แห่งนี้ จะสร้างอยู่ในเกาะชวาตะวันออก เกาะสุมาตราใต้ เกาะซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ ซาเติงการาตะวันออกและจังหวัดอื่นๆ โดยกระทรวงตั้งเป้าที่จะผลิตน้ำตาล 3,800,000 ล้านตันในปีพ.ศ. 2563 โดยการดำเนินการโรงงานใหม่ 10 แห่ง คิดเป็น 72.73% เพิ่มขึ้นจาก 2,200,000 ล้านตันในปีนี้
โดยโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ จะอยู่ในพื้นที่ของเมืองบลิต้าร์ ซึ่งต้องการเงินลงทุน 3 ล้านล้านรูเปียห์ (212.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการสร้าง เป็นที่แรกในภูมิภาค และเป็นอยู่ภายใต้การดูแลของ PT Rejoso Manis Indo (RMI)
Syukur Iwantoro ประธานกรรมการของ IRM กล่าวว่า โรงงานจะมีกำลังการผลิต 10,000 ตันอ้อยต่อวัน และสามารถเพิ่มกำลังหีบอ้อยสูงสุดเป็นสองเท่าถึง 20,000 ตันอ้อยต่อวัน
การดำเนินการในการหีบอ้อยถึง 10,000 ตันอ้อย โรงงานในเมืองบลิต้าร์ สามารถผลิตน้ำตาลได้ 800 ถึง 1,000 ตันต่อวัน เพื่อสนับสนุนการผลิตน้ำตาลระดับชาติ 120,000 ถึง 150,000 ตันต่อปี โดยคิดเป็น 150 วันทำการต่อปี
“กำลังการผลิตของเครื่องจักรในโรงงานของเราสามารถเพิ่มเป็นสองเท่าถึง 20,000 ตัน แต่เรายังคงมุ่งเน้นผลลัพธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 10,000 ตันในปีพ.ศ. 2563”
เขาให้ข้อมูลว่า บริษัทจะใช้อุปกรณ์นำเข้า รวมไปถึงเครื่องบดน้ำตาลจากออสเตรเลีย หม้อต้มน้ำตาลจากอินเดีย และต้องการพื้นที่ปลูกอ้อยอย่างน้อย 20,000 เฮกตาร์เพื่อตอบสนองความต้องการวัตถุดิบอีกด้วย
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมมือกับกลุ่มชุมชนป่าท้องถิ่น (LMDH) อีกหลายแห่ง เพื่อเข้าจัดการพื้นที่ป่าที่ไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากกลุ่ม LMDH หลายแห่งมีพื้นที่ป่ามากกว่า 12,000 เฮกตาร์ที่อยู่ในสถานะที่พร้อมจะใช้ในการเพาะปลูกอ้อย และพร้อมดำเนินการที่จะจัดหาอ้อยพันธุ์ดีจากประเทศไทยอีกด้วย
ดังนั้น การผลิตน้ำตาลในอินโดนีเซียจะดำเนินการผลิตโดยโรงงาน 48 แห่ง ซึ่งเป็นของรัฐวิสาหกิจ และผู้ผลิตน้ำตาลเอกชนอีก 17 ราย อีกทั้งกระทรวงการค้ายังได้กำหนดโควตานำเข้าน้ำตาลทรายดิบ 2,800,000 ล้านตันเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมอีกด้วย