โรงงานน้ำตาลไทย ดันแผนเพิ่มโควตาส่งออกน้ำตาล สู่ตลาดโลก
3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เผยว่าผลผลิตอ้อยในฤดูหีบอ้อยปี 2563-2564 โรงงานน้ำตาลได้ผลผลิตอ้อยเข้าหีบอยู่ที่ 66.67 ล้านตันอ้อย ซึ่งตอบสนองต่อผู้บริโภคและรวมไปถึงการส่งออกน้ำตาลไปยังต่างประเทศด้วย แต่ปัจจุบันผลผลิตอ้อยในฤดูหีบปี 2564/2565 ได้คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น หลังจากที่ได้ประกาศว่าจะปรับขึ้นของราคารับซื้ออ้อย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรและได้มั่นใจที่จะขยายการปลูกอ้อย เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ส่งผลให้การบริโภคน้ำตาลภายในประเทศได้หดตัวลง ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบไปถึงโรงงานน้ำตาล
นายปราโมทย์ วิทยาสุข ประธาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้เปิดเผยว่าโรงานน้ำตาลทั่วประเทศในประเทศไทย ที่มีโรงงานทั่วประเทศอยู่ที่ 57 โรงงาน ซึ่งได้ทำการสำรวจปริมาณผลการผลิตน้ำตาลในช่วงขั้นต้นฤดูกาลเพาะปลูกปี 2564-2565 ที่คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นจากฤดูกาลที่แล้วอยู่ที่ 66.67 ล้านตันอ้อย เป็น 90 ล้านตันอ้อย ซึ่งปัจจัยหลักๆ คือสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งประกอบกับการที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ส่งอ้อยในราคา 1,000 บาทต่อตัน ณ ค่าความหวานต้องอยู่ที่ 10 ซีซีเอส ซึ่งนั่นเป็นราคาที่ได้รับการประกันราคาแล้ว นอกจากนี้การส่งเสริมของภาครัฐยังได้มีมาตรการที่ให้ความสำคัญในด้านการตัดอ้อยสดเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ชาวไร่อ้อยได้มีรายได้จากการเพาะปลูกอ้อยส่งมอบให้แก่โรงงาน ซึ่งทางสมาคมได้ให้การรับรองว่าการบริโภคน้ำตาลจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากสถาการณ์โควิด–19 ได้คลี่คลายลงไป ซึ่งผลกระทบจากสถาการณ์โควิด-19 ส่งผลให้โรงงานน้ำตาลได้มีการปรับแผนที่จะส่งออกน้ำตาลไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากโควตาที่กำหนด เพราะเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศชะลอตัวลง ส่งผลให้ความต้องการซื้อลดลงแต่กลับกันในด้านของความต้องการกลับเพิ่มขึ้น
ในด้านของแนวโน้มราคาน้ำตาลตลาดโลกยังคงมีโอกาสที่ปรับตัวที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งได้คาดการณ์ว่าสถาการณ์ปริมาณอ้อยจะเพิ่มขึ้น เพราะเนื่องด้วยในประเทศบราซิล ที่เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 1 ของโลกกำลังประสบปัญหาในเรื่องของสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตอ้อย และทั้งนี้บราซิลยังมีแผนที่จะนำผลผลิตจากอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้น ซึ่งเหตุผลนี้จะส่งผลสะท้อนต่อสภาวะของราคาน้ำตาลโลกในทิศทางที่ดีขึ้น
การชะลอตัวลงของการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศลดลงเหลือ 2.2 ล้านตัน ในรอบการผลิตปี 2563-2564 (ช่วงเดือนตุลาคม 2563- เดือนกันยายน 2564) จากเดิมที่คาดว่าการบริโภคจะอยู่ที่ 2.4 ล้านตัน หลังจากสถาการณ์โควิด-19 ในระลอกที่ 2 และ 3 โดยจะพบว่าในช่วงเดือน 8 เดือน (ตุลาคม 2563 – พฤษภาคม2546) ซึ่งในความเป็นจริงมีปริมาณการขายน้ำตาลภายในประเทศได้แค่ 1.5 ล้านตันเท่านั้น นายปราโมทย์ วิทยาสุข ได้กล่าวสรุปทิ้งท้ายไว้ว่า “โรงงานน้ำตาลได้จัดสรรปริมาณน้ำตาลไว้สูงเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค เพื่อที่จะไม่ให้เกิดสภาวะการขาดน้ำตาลภายในประเทศ แต่เนื่องจากเหตุการณ์สถานการณ์โควิด-19 ได้ระบาด จึงส่งผลให้การบริโภคลดลงมากและจากปริมาณการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ ส่วนปริมาณน้ำตาลที่เหลือจากการขายภายในประเทศ จะนำไปส่งออกในตลาดตต่างประเทศแทน เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย”