ไทยอาจได้ประโยชน์จากการนำเข้าเอทานอล
เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานทูตเกษตรภายใต้กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA FAS) ได้ออกรายงานนำเสนอว่าในขณะที่ประเทศไทยยังคงพึ่งพิงการผลิตเอทานอลในประเทศ แต่ไทยอาจได้ประโยชน์จากการนำเข้าเอทานอลเพิ่มและเชื้อเพลิงชีวภาพประเภทอื่นๆจากต่างประเทศ
แม้ว่าประเทศไทยนำเข้าเอทานอลเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม แต่ไม่ได้มีการนำเข้าเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการขนส่ง เนื่องจากผู้ค้าเอทานอลในไทยต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพลังงานก่อน ซึ่งมีรายงานว่า “จนถึงบัดนี้ ยังคงไม่อนุมัติการนำเข้าเอทานอลเชื้อเพลิงเนื่องจากมีจำนวนเอทานอลพอเพียงอยู่แล้วที่ผลิตได้ภายในประเทศ”
การจำหน่ายเอทานอลในประเทศไทยยังคงจำกัดอยู่ที่ภาครัฐสู่ผู้ค้าน้ำมันเท่านั้น (ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการค้าเชื้อเพลิง) และการใช้เอทานอลในอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆยังคงมีข้อจำกัดเช่นกัน เนื่องจากจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากองค์การสุรา กรมสรรพสามิตก่อน
ประเทศไทยมีการส่งออกสู่ตลาดโลกตั้งแต่ปี 2550โดยส่งออกไปยังตลาดสำคัญๆในประเทศฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และอังกฤษ การส่งออกเอทานอลต้องได้รับการอนุมัติเป็นพิเศษจากอธิบดีของกรมสรรพสามิต ต่อมา เมื่อรัฐบาลไทยหยุดการค้าน้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม 2556 ทำให้อุปสงค์ของเอธานอลเพิ่มสูงขึ้น
เจ้าหน้าที่ภาครัฐตอบสนองความต้องการนี้โดยการระงับการส่งออกเอทานอลเพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีจำนวนสินค้าพอเพียงสำหรับตลาดในประเทศ และด้วยเหตุนี้จึงยังไม่มีการส่งออกเอทานอลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556
แต่มีรายงานว่าประเทศไทยอาจได้รับผลดีจากการนำเข้าเอทานอล การผลิตเอทานอลในประเทศใช้อ้อย กากน้ำตาลและมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากเกิดความขาดแคลนวัตถุดิบดังกล่าว ประเทศไทย “จำต้องลดจำนวนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพลงชั่วคราวเมื่อเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อป้อนสู่การผลิต” และการขาดการนำเข้าเอทานอลของไทยอาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการใช้เอทานอลที่สูงขึ้นได้
มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้นกว่าเดิม จากความเปลี่ยนแปลงในการใช้ที่ดิน มีรายงานว่า “การให้บทบาทนำเข้าเอทานอลจะสร้างศักยภาพของเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย”
ประเทศไทยลดการบริโภคเอทานอลลงในปี 2580 รายงานดังกล่าวชี้ว่า แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 20 ปีแผนใหม่ได้รับการอนุมัติแล้วในเดือนเมษายนปีที่แล้ว และ “รัฐบาลกำลังอยู่ในช่วงทบทวนเป้าหมายการบริโภคเอทานอลและไบโอดีเซล” ซึ่งเป้าหมายนี้คาดว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ในแผนของปี 2558 เนื่องจากเกิดความกังวลเรื่องปริมาณวัตถุดิบ โดยคาดว่าเป้าหมายใหม่นี้จะลดการบริโภคในปี 2580 ลงอยู่ที่ 2.4 พันล้านลิตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 41 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อปี 2558
จากรายงานดังกล่าว อัตราของเอทานอลและการผลิตในประเทศไทยยังคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปี 2562 แต่ไม่รวดเร็วเท่ากับที่เคยเป็น ในปี 2560 ประเทศไทยมีอัตราการบริโภคเอทานอลสูงที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 12 ส่วนในปี 2562 การบริโภคเอทานอลยังคงคาดว่าจะเพิ่มถึงร้อยละ 6 จากระดับในปี 2561 มีรายงานว่าอัตราการผลิตและการใช้เอธานอลที่ลดลง เนื่องมาจากการระงับการจำหน่ายออคเทน 91E10 ที่ล่าช้า ซึ่งมีผลในวันที่ 1มกราคม 2561
แม้จะเกิดความล่าช้าดังกล่าวขึ้น แต่ระดับการผสมเอทานอลในประเทศไทยได้เพิ่มถึงร้อยละ 13.5 ในปีนี้เนื่องจากยอดขายของ E20 ที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม การนำเข้าเอทานอลจะทำให้ไทยบรรลุเป้าหมายของการใช้พลังงานนี้ในประเทศได้ในที่สุด.