Evolve™ แพลตฟอร์มใหม่ สู่แผนพัฒนาตลาดเอทานอลไทยเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ
เมื่อไม่นานมานี้ Leaf by Lesaffre ได้เปิดตัว Evolve™ แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์ยีสต์ขั้นสูงสำหรับการผลิตเอทานอล โดยวิเวียน เซอร์ปา มูลเลอร์ ผู้จัดการนวัตกรรมสำหรับตลาดโลกแนะนำว่า “Evolve™ Evergreen เป็นสินค้าตัวแรกที่มาจากแพลตฟอร์ม Evolve™ ได้รับการออกแบบมาเพื่อการหมักวัตถุดิบที่เป็นแป้ง” มีวางจำหน่ายในประเทศไทยราว 2 – 3 เดือนและได้พิสูจน์ให้เห็นคุณค่าและความสามารถของตัวเองในโรงงานเอทานอล PSC Starch Products
คริสโตเฟอร์ เทสเต ผู้จัดการฝ่ายบริการด้านเทคนิคประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแสดงความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ใหม่นี้จะเข้ามาช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตเอทานอลของประเทศไทยได้ “Evolve™ Evergreen แสดงให้เห็นว่าสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแป้งมันสำปะหลังผ่านการปรับปรุงผลผลิตและการลดกลูโคอะไมเลสจากภายนอกทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับอุตสาหกรรมได้”
สำรวจตลาด สร้างนวัตกรรมใหม่
ด้วยประสบการณ์ที่ทำตลาดในประเทศไทยมามากกว่า 10 ปี ทีมงาน Leaf by Lesaffre ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของตลาดเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากความต้องการเอทานอลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงเหลือ 3.7 ล้านลิตรต่อวัน (MLPD) ซึ่งต่ำกว่ากำลังการผลิตปัจจุบันที่ 6 ล้านลิตรต่อวัน จากการที่รัฐบาลไทยประกาศจะเลิกใช้ E85 ผู้ผลิตเอทานอลจึงถูกกดดันให้คงความสามารถในการแข่งขันขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม E20 มีการแข่งขันด้านราคามากกว่า E85 สำหรับผู้ใช้งานและยังใช้ได้กับยานพาหนะหลากหลายประเภท ความต้องการเชื้อเพลิงเอทานอลน่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใช้งาน E20 มากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น มีโอกาสที่ความต้องการเอทานอลไทยจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องด้วยรัฐบาลประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) อุตสาหกรรมใหม่ ๆ อาจได้รับการจูงใจให้ประยุกต์ใช้เอทานอลเพิ่มขึ้น เช่น พลาสติกชีวภาพและการผลิตเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน
Leaf by Lesaffre เป็นธุรกิจหนึ่งของ Lesaffre และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรมระดับโลกที่มุ่งสร้างอนาคตที่ดีขึ้น
Leaf เผยให้เห็นศักยภาพสูงสุดในด้านการหมักและพัฒนาจุลินทรีย์ รวมถึงกระบวนการทางอุตสาหกรรมเพื่อทำให้เกิดการผลิตหมุนเวียน ด้วยความร่วมมือกับผู้เล่นที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างการเปลี่ยนแปลง พวกเขาจึงได้ออกแบบและพัฒนาโซลูชันทางชีวภาพประสิทธิภาพสูง
จากการดำเนินธุรกิจ Lesaffre ที่กระจายอยู่ทั่วโลกและความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการหมักที่สั่งสมมาเป็นเวลานานถึง 170 ปี Leaf จึงนำเสนอผลิตภัณฑ์ชีวมวลและผลิตภัณฑ์ชีวภาพคุณภาพสูงและผลิตในท้องถิ่น โดยมีเครือข่ายห้องปฏิบัติการด้านการหมักของ Leaf และ Lesaffre (ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาและห้องปฏิบัติการการประยุกต์ใช้งาน) ให้ทั้งสองบริษัทร่วมมือกันเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เอาชนะความท้าทาย และแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ด้วยทีมงานที่มุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน ความพึงพอใจของลูกค้า และนวัตกรรมที่ก้าวล้ำ ทำให้ Leaf by Lesaffre เป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีการหมักเชิงอุตสาหกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดเอทานอลไทยและรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ ผู้ผลิตเอทานอลจึงมองหาแนวทางที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของโรงงานที่มีอยู่ ในขณะที่นักลงทุนก็กำลังมองหาวิธีการผลิตที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำกว่าวิธีการผลิตเดิม เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร ตัวชี้วัดสำคัญที่ต้องพิจารณาจึงเป็นมูลค่าโดยรวมที่สร้างขึ้นระหว่างการผลิต โดยคริสโตเฟอร์ เทสเต กล่าวไว้ว่า “การเพิ่มความสามารถในการทำกำไรจากการผลิตเอทานอลสามารถเกิดขึ้นได้จากการลดต้นทุนการผลิตหรือการเพิ่มผลผลิต” ความสามารถในการทำกำไรนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้นเนื่องจากราคาเอทานอลในไทยมาจากความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานโดยตรง ทำให้ในตลาดนี้มีค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (OPEX) ที่ต่ำกว่าจึงทำให้อัตรากำไรสูงยิ่งขึ้น
ลีอา เจฟฟรอย ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของ Leaf กล่าวเสริม “เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านเอทานอลไทย เราได้ติดตามวิวัฒนาการของตลาดอย่างต่อเนื่อง และสร้างสมดุลระหว่างสิ่งที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มกับสิ่งที่สามารถส่งมอบได้ตรงเวลาตามความต้องการของตลาดในปัจจุบัน” Leaf ใช้ประโยชน์จากขีดความสามารถของ Lesaffre ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำ Evolve™ Evergreen และนวัตกรรมอื่น ๆ เข้าสู่ตลาด ด้วยความสามารถด้านพันธุวิศวกรรมและวิศวกรรมเมตาบอลิซึม การคัดกรองสมรรถนะสูง และยีสต์ แบคทีเรีย รวมถึงเชื้อราที่หลากหลาย ทำให้ Leaf และ Lesaffre มีความสามารถและความยืดหยุ่นในการปรับแต่งจุลินทรีย์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน สารตั้งต้น และสภาวะการหมักที่แตกต่างกัน “เรารู้ว่าการหมักไม่ได้มีรูปแบบเดียวที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์” วิเวียน เซอร์ปา มูลเลอร์ กล่าวว่า “ทีมงานของเราในเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างนวัตกรรมนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าเราสามารถตอบสนองต่อความต้องการและข้อจำกัดของลูกค้าได้ตลอดเวลา”
ในปี 2565 ทาง Lesaffre เปิดตัววิทยาเขตใหม่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ด้วยวิทยาเขตนี้จะจะมอบให้กับกลุ่มบริษัทเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายด้านการวิจัยและพัฒนา 60% ของพื้นที่ทั้งหมดมีไว้สำหรับห้องปฏิบัติการวิจัยที่ทันสมัย ซึ่งเป็นที่ตั้งของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการทำงานโดยอัตโนมัติและการวิเคราะห์เพื่อรองรับวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ และโครงการนำร่องอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป
Evolve™ Evergreen ผลิตภัณฑ์ยีสต์ขั้นสูงที่สำคัญกับตลาดเอทานอลไทย
.png)
Evolve™ Evergreen ได้รับการพัฒนาจาก Leaf โดยเฉพาะ เพื่อให้ตอบสนองต่อความท้าทายในการผลิตเอทานอล คือ การเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตให้สูง ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด วิเวียน เซอร์ปา มูลเลอร์ กล่าวว่า “เราได้ควบรวมความเชี่ยวชาญระหว่าง Leaf และ Green Lab เข้ากับสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Lesaffre และ Recombia Biosciences เพื่อพัฒนา Evolve™ Evergreen ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยีสต์ขั้นสูงสำหรับการผลิตเอทานอลรุ่นแรกจากแป้ง” การแบ่งปันองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญกับพันธมิตรภายในและภายนอกบริษัท ทำให้ Leaf พัฒนายีสต์ที่ยืดหยุ่นที่สามารถหลั่งกลูโคอะไมเลส (Glucoamylase) ได้และให้ผลผลิตที่สูงกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรมของการผลิตเอทานอล
ลีอา เจฟฟรอย กล่าว “ราคาในตลาดที่ไม่คงที่ ต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมากอาจส่งผลต่ออัตรากำไรได้อย่างรวดเร็ว มีหลายวิธีที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงตัวชี้วัดการผลิต ผลประโยชน์จากผลผลิต หรือไม่เพียงแต่สร้างมูลค่าเพิ่มผ่านผลผลิตเท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดต้นทุนของเอนไซม์ด้วยการทดแทนเอนไซม์จากภายนอกในหน่วยผลิต ด้วยผลิตภัณฑ์ Evolve™ Evergreen เราสามารถบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ และสามารถสร้างมูลค่าได้มากขึ้น”
Evolve™ Evergreen พิสูจน์ศักยภาพของตัวเองกับการใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ (Cassava mash) ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับอุตสาหกรรม ความน่าเชื่อถือแม้อยู่ภายใต้อุณหภูมิ 30-40°C ยังช่วยให้กระบวนการหมักเป็นไปได้อย่างราบรื่นและคงประสิทธิภาพของพืชไว้ได้ ด้วยผลิตภัณฑ์นี้ Leaf จะช่วยลดการผลิตกลีเซอรอลได้อย่างน้อย 30% ซึ่งให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นสูงถึง 2% และจากความสามารถในการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้น การหลั่งกลูโคอะไมเลสของ Evolve™ Evergreen สามารถลดกรดจิบเบอเรลลิก (GA) จากภายนอกได้อย่างน้อย 50% สิ่งนี้ช่วยให้จัดการกับปัจจัยการผลิตได้อย่างชาญฉลาดที่ส่งผลต่อการลดต้นทุนการดำเนินงานของโรงงานเอทานอลโดยรวมได้
ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำในไทย
“การเป็นพันธมิตรกับ PSC Starch Products นับตั้งแต่เปิดตัว Evolve™ Evergreen ในประเทศไทย ทำให้เราสามารถตรวจสอบมันสำปะหลังซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในระดับอุตสาหกรรมได้ อุปกรณ์ของพวกเขาและการตรวจสอบการหมักในระดับสูง ประกอบกับความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทดลองใช้ Evolve™ Evergreen ที่โรงงานเอทานอลของ PSC ประสบความสำเร็จ” คริสโตเฟอร์ เทสเต กล่าว
เพื่อให้การทดลองทางอุตสาหกรรมนี้ประสบความสำเร็จตามมาตรฐานของ PSC ทีมงาน Leaf ที่ไซต์งานได้ใช้เวลาอันมีค่าในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทีมผู้ผลิตเพื่อปรับให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการสำหรับการทดลองนี้ วิธีการใช้ Evolve™ Evergreen รวมถึงการวัดประสิทธิภาพภายใต้กระบวนการหมักพืชในปัจจุบัน การบูรณาการระหว่างความเชี่ยวชาญในกระบวนการผลิตของ PSC และความเชี่ยวชาญของ Leaf ในการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้เกิดการนำ Evolve™ Evergreen ไปใช้จนประสบความสำเร็จ
.jpg)
ในส่วนของผลลัพธ์นั้น Evolve™ Evergreen ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 2% เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์พื้นฐาน ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์โดยตรงกับการผลิตกลีเซอรอลที่ลดลง 40% ผลลัพธ์เหล่านี้เมื่อพิจารณาจากการลดกลูโคอะไมเลสจากภายนอกได้ 50% คุ้มค่าเมื่อเทียบกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากยีสต์อย่างชัดเจน ผลลัพธ์เหล่านี้เป็นตัวแทนของมูลค่าที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขการทดลองมาตรฐานโดยไม่มีการปรับปรุงใด ๆ ในเงื่อนไขกระบวนการหมัก “เป็นไปได้สูงที่เราจะเพิ่มประสิทธิภาพนี้ขึ้นไปอีกได้ด้วยการปรับเงื่อนไขกระบวนการผลิต เช่น ช่วงเวลาในการหมัก อุณหภูมิในการหมัก ความดันออสโมติก โภชนาการ ฯลฯ” คริสโตเฟอร์ เทสเต กล่าว
P.S.C. Starch Products เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมมันสำปะหลังและน้ำตาลมายาวนานกว่า 66 ปี ด้วยวิสัยทัศน์ในแวดวงอุตสาหกรรมและความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจให้ไปถึงจุดสูงสุด บริษัทจึงกลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลแป้งที่มีการดำเนินงานตามมาตรฐานระดับสากล อุตสาหกรรมในเครือบริษัทประกอบด้วยอุตสาหกรรมน้ำตาลแป้ง อุตสาหกรรมเอทานอล อุตสาหกรรมข้าว อุตสาหกรรมปาล์ม และอุตสาหกรรมเหล็ก
เป้าหมายในอนาคต
ลีอา เจฟฟรอย กล่าว “เราคาดว่าความต้องการเอทานอลจะเพิ่มขึ้นจากการที่ไทยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานหมุนเวียนทางชีวภาพในด้านเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) พลาสติกชีวภาพ เครื่องสำอาง ฯลฯ” ด้วยปริมาณน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วที่มีปริมาณจำกัดซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ วัตถุดิบทางเลือกสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนนี้จะเป็นเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความต้องการเอทานอลในปีต่อ ๆ ไป
ประเทศไทยตั้งใจที่จะลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้ารวมถึงน้ำมัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอันตรายผ่านแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) แรงจูงใจทางการเมืองส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรม ซึ่งความยั่งยืนกลายเป็นข้อกังวลที่ได้รับการพูดถึงมากยิ่งขึ้น คริสโตเฟอร์ เทสเต เห็นพ้องว่า “ผู้ผลิตกำลังมองหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นฉลากและการรับรองด้านความยั่งยืนในอุตสาหกรรมน้ำตาลและเอทานอลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย”