บราซิลครองแชมป์ตำแหน่งผู้จัดหาน้ำตาลรายใหญ่ระดับโลก
บราซิล ประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับต้นๆ ของโลก ยืนหยัดเป็นผู้จัดหาน้ำตาลอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2563 โดยสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มากกว่า 44.2 เปอร์เซ็นต์ต่อหนึ่งปีเพาะปลูก ส่งผลให้บราซิลได้เปลี่ยนภาพรวมอุปสงค์และอุปทานน้ำตาลทั่วโลก ที่ขาดแคลนเล็กน้อยในปีเพาะปลูก 2562-2563 (ตุลาคม-กันยายน) ให้มีปริมานน้ำตาลที่ล้นในตลาดโลกเล็กน้อยประมาณ 121,000 ตันน้ำตาลทรายดิบ ส่วนในปี พ.ศ. 2564 นี้ ราคาน้ำตาลที่สูงขึ้น เมื่อเทียบเคียงกับสกุลเงินเรียลของบราซิลและความผันผวนของความต้องการเชื้อเพลิงเอทานอล คาดว่าจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตเพิ่มการผลิตน้ำตาลให้ได้มากที่สุดเพื่อชดเชยภาวะขาดแคลนน้ำตาลในตลาดโลก ตามการวิเคราะห์จากองค์กร S&P Global Platts Analytics
ช่วงปีเพาะปลูก พ.ศ. 2563-2564 (เมษายน-มีนาคม) ในพื้นที่ทั่วทั้งภูมิภาคกลางและใต้ ผู้ผลิตบราซิลได้เปลี่ยนไปใช้ระดับซูโครสที่สูงขึ้นในการผลิตน้ำตาล เนื่องจากข้อได้เปรียบในการทำกำไรที่สูงกว่าน้ำตาลในตลาดส่งออกและมากกว่าเอทานอลในตลาดภายในประเทศ สถานการณ์เช่นนี้ คาดว่าจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในฤดูเพาะปลูก พ.ศ. 2564-2565 ถัดไป ซึ่งผู้เกี่ยวข้องในตลาดคาดการณ์ว่าร้อยละ 70 ของกำลังการผลิตน้ำตาลทั้งหมดของบราซิล จะได้รับการประกันความเสี่ยงสำหรับการเพาะปลูกครั้งต่อไปโดยเหลือปริมานน้ำตาลเพียงเล็กน้อยในตลาดเท่านั้น ทำให้โอกาสที่จะเปลี่ยนไปสู่การผลิตเอทานอลเป็นไปได้น้อย ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการกำหนดราคาอีกที
การส่งมอบน้ำตาลเดือนแรกคือมีนาคม ในตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ (ICE) และสัญญาซื้อขายน้ำตาลล่วงหน้าลำดับที่ 11 แต่เมื่อเดือนธันวาคมอยู่ที่ 14.54 เซนต์ต่อปอนด์ และสัญญาซื้อขายไฮดรัสเอทานอล ในตลาดแลกเปลี่ยนบี 3 (B3) ของบราซิลสำหรับการส่งมอบจริงในเดือนมีนาคมอยู่ที่ 2,013 เรียลบราซิลต่อลูกบาสก์เมตร เป็นผลให้น้ำตาลถูกมองว่ามีการจ่ายส่วนเกินมูลค่าหุ้นพรีเมี่ยมเท่ากับ 451 จุด หรือ 99 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งสูงกว่าเอทานอลในเดือนมีนาคมปีนี้
ส่วนเกินมูลค่าหุ้นพรีเมี่ยม ที่จ่ายโดยน้ำตาลมีค่าสูงกว่าเอทานอลในอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าของตลาด ICE NY11 ในปี พ.ศ. 2564 ทำให้ตำแหน่งของราคาน้ำตาลเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถบรรเทาความเสี่ยงในราคาส่งออกขั้นต่ำของผลิตภัณฑ์น้ำตาลได้ นอกจากนี้ ความผันผวนของความต้องการเชื้อเพลิงในปี พ.ศ. 2564 ยังคาดว่าจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตเพิ่มปริมาณการผสมน้ำตาลให้มากที่สุดในรอบการเพาะปลูกถัดไปอีกด้วย
ผู้ผลิตในบราซิล สามารถนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลหรือเอทานอลได้ โดยตามปกติ การตัดสินใจผลิตอาจใช้เวลาสองสามสัปดาห์ก่อนการหีบอ้อย แต่อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินเรียลบราซิลเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ได้ทำให้มีการผลิตน้ำตาลมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก
องค์กร S&P Global Platts Analytics ได้คาดการณ์ว่า ช่วงฤดูกาลเพาะปลูกปี พ.ศ. 2563-2564 (ตุลาคม-กันยายน) ทั่วโลกอาจจะขาดแคลนน้ำตาลประมาน 579,000 ตันน้ำตาลทรายดิบ แต่ก็ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ดีต่อผู้ผลิตในบราซิลในการเริ่มเพาะปลูกในเดือนเมษายน และมีปริมาณผลผลิตสูงสุดในเดือนสิงหาคม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตในบราซิลคาดว่าจะอยู่ในสถานะที่มีศักยภาพในการจัดหาน้ำตาลในช่วงที่ตลาดโลกขาดแคลนน้ำตาลในช่วงครึ่งแรก (เมษายน – มีนาคม) ของปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2564-2565 ในภูมิภาคกลางและใต้ ซึ่งช่วงปีดังกล่าว ประเมินว่าจะทำให้น้ำตาลล้นตลาดปริมาน 1.4 ล้านตันน้ำตาลทรายดิบ ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีนี้ เมื่อทั่วโลกเริ่มมีผลผลิตอ้อยออกมาในปี พ.ศ. 2564-2565
สำหรับปีถัดไปของการเพาะปลูกในภูมิภาคกลางและใต้ของบราซิล (พ.ศ. 2564-2565) ผลผลิตทางการเกษตรอาจลดลงมากกว่าระดับที่คาดไว้เนื่องจากความแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องในปีเพาะปลูกปัจจุบัน (พ.ศ. 2563-2564) ซึ่งข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่จากสมาคม UNICA แสดงให้เห็นว่าในการเพาะปลูกในภูมิภาคกลางและใต้ในปี พ.ศ. 2564-2565 ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงตุลาคม ปริมาณน้ำฝนได้ต่ำกว่าระดับเฉลี่ยในอดีตถึงร้อยละ 43.1 ดังนั้น ปริมาณน้ำฝนในเดือนมกราคมถึงมีนาคมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของอ้อย
ผู้เกี่ยวข้องในตลาดส่วนใหญ่ ประเมินไว้ว่า ปริมาณอ้อยเข้าหีบอาจจะลดลงเกือบ 10 ล้านตันในการเพาะปลูกภูมิภาคกลางและใต้รอบถัดไปในปี พ.ศ. 2564-2565 ซึ่งเริ่มต้นในเดือนเมษายน ซึ่งภาพรวมที่อ้อยมีปริมาณลดลง ค่าเอทีอาร์ (ATR) ที่ลดลง ปริมานน้ำฝนที่อ้อยจะได้รับ ทำให้การผลิตน้ำตาลของบราซิล คาดว่าจะลดลงไปเกือบ 4 ล้านตัน หรือ 34.3 ล้านตัน ทั้งนี้ องค์กร S&P Global Platts Analytics ประเมินว่า หากมีฝนตกในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ รวมถึงฤดูกาลเพาะปลูกปี พ.ศ. 2564-2565 จะทำให้มีปริมานน้ำฝนมากกว่าสี่รอบเพาะปลูกที่ผ่านมา รวมถึงค่าเอทีอาร์ (ATR) อาจลดลงในไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สามและเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลเพาะปลูกจะมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาโดยมีค่าเท่ากับ 136 กิโลกรัมต่อตัน