อุปทานน้ำตาลของฟิลิปปินส์แตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี แม้เผชิญ Covid-19
Roland Beltran สมาชิกของคณะกรรมการบริหารองค์กรบริหารจัดการน้ำตาล (SRA) กล่าวว่า ในบันทึกข้อความแสดงรายละเอียดในเดือนกรกฎาคม ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดของประเทศอยู่ที่ 2.39 ล้านตัน รวมถึงผลผลิตปริมาน 2.1 ล้านเมตริกตัน ในปีเพาะปลูกน้ำตาลปัจจุบัน ทำให้ผลผลิตน้ำตาลทั้งหมดในประเทศพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากมีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อปีเพาะปลูกน้ำตาลของฟิลิปปินส์ ที่เริ่มในเดือนกันยายนและสิ้นสุดในเดือนสิงหาคมของปีถัดไป
ในการคาดการณ์ขององค์กรบริหารจัดการน้ำตาล (SRA) ได้เผยรายละเอียดที่มีมุมมองดีขึ้น ในการตั้งเป้าหมายการผลิตที่ 2.1 ล้านตันต่อปี ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน และเป็นตัวเลขที่สูงกว่าปริมาณน้ำตาลที่ผลิตได้ในปีเพาะปลูกน้ำตาลปีก่อนเล็กน้อย อยู่ที่ 2.03ล้านตัน แสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ของน้ำตาล ซึ่งตอนนี้อยู่ที่ 2.35 ล้านเมตริกตัน ในขณะที่การบริโภคน้ำตาลทรายคาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกภายหลังโควิด-19 และผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มเตรียมตั้งเป้าขยายการผลิต
เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น สำนักงานทูตเกษตร (Foreign Agricultural Service) กล่าวว่า ฟิลิปปินส์อาจมีแนวโน้มที่จะนำเข้าน้ำตาลมากถึง 450,000 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณน้ำตาลนำเข้าในฟิลิปปินส์ที่มากที่สุดในช่วงเวลาหนึ่งปี เพราะในช่วงปีเพาะปลูกน้ำตาลเมื่อสองปีที่แล้ว ฟิลิปปินส์ได้นำเข้าน้ำตาล 350,000 ตัน เท่านั้น และอีก400,000 ตันในปีต่อไป ทำให้น้ำตาลในปี พ.ศ.2562 มีมูลค่า35.5 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ นับเป็นมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรอันดับห้าของประเทศ ตามหลังผลผลิตทางเกษตรกรอื่นๆเช่น ข้าว กล้วย ข้าวโพด และมะพร้าว
Beltran กล่าวว่า ในปีเพาะปลูกอ้อยปัจจุบันที่กำลังจะสิ้นสุดในอีกหกสัปดาห์ “มีสภาพอากาศดีมาก” นอกจากนี้เขายังกล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตมากนัก เนื่องจาก “การผลิตของโรงงานยังคงดำเนินไปในช่วงล็อคดาวน์ ตามที่ได้รับการยกเว้นตามคำแนะนำของหน่วยงานบริหารจัดการโรคติดต่อในฟิลิปปินส์ (IATF)
ในเดือนเมษายน สำนักงานทูตเกษตรภายใต้กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA FAS) ในกรุงมะนิลาเผยแพร่รายงานว่า ฟิลิปปินส์มีการนำเข้าน้ำตาลมากถึง400,000 ตันปีนี้ เนื่องจากการผลิตน้ำตาลในท้องถิ่นอาจลดลงระดับต่ำสุดในรอบทศวรรษ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานของประเทศ Beltran กล่าวว่า ความต้องการน้ำตาลในประเทศได้ลดลงในช่วงล็อคดาวน์เนื่องจากโควิค-19 แต่ก็มีความมั่นใจว่ามีปริมาณน้ำตาลเพียงพอ ซึ่งขัดกับการคาดการณ์ของสำนักงานทูตเกษตร “แค่ดูที่สภาพภูมิอากาศเพียงอย่างเดียว ก็สามารถวิเคราห์ได้ถึงการคาดการณ์แล้ว” เขากล่าวเพิ่ม
ด้วยเหตุนี้ Beltran ยังคงที่จะปฏิเสธการคาดการณ์สำหรับปีเพาะปลูกต่อไป เขากล่าวว่า “องค์กรบริหารจัดการน้ำตาลยังคงเปี่ยมไปด้วยความหวัง ขณะที่เราได้ให้คำแนะนำแก่ผู้มีส่วนได้เสียของเราซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเราในอุตสาหกรรมอ้อย ในการปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมและมาตรการทางสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการผลิตน้ำตาลไม่ถูกขัดขวาง” ก่อนหน้านี้ สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลแห่งฟิลิปปินส์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลฟิลิปปินส์คืนเงินระดมทุน 2 พันล้านเปโซ สำหรับพระราชบัญญัติการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยในท้องถิ่น
ทางสมาคมกล่าวว่า งบประมาณดังกล่าวเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมน้ำตาลอย่างมากสำหรับเป็นเงินทุนสำหรับแปลงเพาะปลูกทางการเกษตร การวิจัยและพัฒนา การให้สินเชื่อทางสังคม ทุนการศึกษา และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2558 ทางสมาคมมีจุดประสงค์สนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อย เพื่อช่วยเศรษฐกิจฟิลิปปินส์เป็นมูลค่าปีละ 70 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ กฎหมายดังกล่าวน่าจะสามารถส่งเสริมให้สูงขึ้นเป็น 100พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ต่อปี
เป็นระยะเวลารวมห้าปีผ่านไปแล้วในการดำเนินการทางกฎหมาย แต่ฟิลิปปินส์ยังคงมีผลผลิตน้ำตาลต่ำอยู่ที่ 5.1 ตันต่อเฮกเตอร์ และจากงบประมาณเกือบ 2 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์นั้นขึ้นอยู่กับองค์กรบริหารจัดการน้ำตาล โดยในปีพ.ศ.2559 ทางองค์กรได้รับ 500 ล้านเปโซฟิลิปปินส์เพื่อดำเนินการตามกฎหมายเมื่อปีที่แล้ว แต่สำหรับปีนี้ทางสมาคมผู้ผลิตน้ำตาลแห่งฟิลิปปินส์อาจได้ 500 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ แต่เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 กรมการจัดการงบประมาณจึงได้ตัดงบเหลือเพียง 325 ล้านเปโซฟิลิปปินส์เท่านั้น