เส้นทางของบราซิลต่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมน้ำตาลอย่างยั่งยืน
อุตสาหกรรมน้ำตาลอ้อยของประเทศบราซิลถือได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ระดับโลกถึงสองประเภทคือน้ำตาลและเอทานอลชีวภาพ จากรายงานความสมดุลด้านพลังงานในประเทศบราซิลปี 2565 กำลังการผลิตน้ำตาล (เป็นน้ำตาลที่เติมในกาแฟสำหรับดื่มในตอนเช้า) เพิ่มขึ้น 3.4% จาก 35.1 ล้านตันในปี 2564 ไปถึง 36.3 ล้านตันในปี 2565
พลังงานจากเอทานอลชีวภาพนี้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการก้าวข้ามพลังงานฟอสซิล ด้วยเหตุที่การสันดาปของเอทานอลชีวภาพจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า แต่ถึงกระนั้นระหว่างปี 2564 – 2565 บราซิลกลับผลิตเอทานอลชีวภาพลดลงจาก 29.9 ล้านลูกบาศก์เมตรเหลือ 28.1 ล้านลูกบาศก์เมตรหรือประมาณ 6.1%
มากไปกว่านี้สัดส่วนของพลังงานทดแทนที่ผลิตจากน้ำตาลอ้อยภายในประเทศก็ลดลงเช่นเดียวกัน จาก 16% ในปี 2564 เหลือ 15% ในปี 2565 อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2555 แนวโน้มดังกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่าความสมดุลด้านพลังงานในประเทศบราซิลกำลังถอยห่างจากการผลิตเอทานอลเข้าสู่การผลิตน้ำตาลแทน เนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสัมพัทธ์ของเอทานอล
เกษตรกรรมและภาคเศรษฐกิจ
บราซิลเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุด และเป็นประเทศผู้ผลิตเอทานอลใหญ่เป็นอันดับสอง ในระหว่างช่วงฤดูการผลิตในปี 65 ผลผลิตน้ำตาลมีส่วนแบ่งตลาดถึง 21% ของผลผลิตทั่วโลก และเอทานอล 26% จากการแข่งขันในตลาด หลายประเทศคาดว่าบราซิลจะเป็นยังคงรักษาความเป็นผู้นำในการผลิตน้ำตาลด้วยส่วนแบ่งตลาดถึง 37% ของตลาดโลกในปี 74 จากสถิติของปี 65 ประเทศบราซิลเป็นผู้นำจากการส่งออกน้ำตาลทั่วโลกด้วยปริมาณถึง 28 ล้านเมตริกตัน ซึ่งมากกว่าปริมาณของผู้ส่งออกน้ำตาลในอันดับที่ 2 (ประเทศไทย) ถึง 17 ล้านเมตริกตัน ด้วยเหตุนี้น้ำตาลจะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจบราซิลและระบบการค้าของอาหารทั่วโลก นี่หมายถึงโอกาสของบราซิลที่จะเป็นผู้นำระดับโลกในการปฏิรูปด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย ส่วนประเด็นของการค้าระหว่างประเทศของบราซิล น้ำตาลเป็นแหล่งรายได้สำคัญสูงสุดของการส่งออกในภาคธุรกิจการเกษตรที่อยู่ในอันดับที่ 7 ส่วนเอทานอลในอันดับที่ 4 ด้วยเม็ดเงินจำนวนทั้งหมด 11 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และการจ้างงานในอุตสาหกรรมน้ำตาล เอทานอลและพลังงานชีวภาพ มีสัดส่วนอยู่ที่ 8% ของแรงงานทั้งหมดในภาคธุรกิจการเกษตรของประเทศบราซิล
โครงการ “พลานู ซัฟเฟร่”: โอกาสในการเปลี่ยนเกม
โครงการพลานู ซัฟเฟร่ เป็นโครงการภาครัฐของประเทศบราซิลที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาของเกษตรกร โดยให้การสนับสนุนวงเงินเครดิตและหลักประกันต่อการลงทุนในฟาร์ม
แม้ว่านโยบายภาครัฐทางด้านการเกษตรจะเข้าช่วยเหลือการพัฒนาความยั่งยืนในอุตสาหกรรมน้ำตาลอ้อยได้โดยการสร้างแรงจูงใจให้เปลี่ยนจากการผลิตน้ำตาลเป็นเอทานอล แต่นโยบายที่เน้นการผลิตเอทานอลชีวภาพจะส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการเติบโตในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลได้ ไม่ว่าจะตรึงปริมาณแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลไว้ได้หรือไม่ และในประเด็นดังกล่าวนี้ โครงการเรนูฟอะกรู่ (หนึ่งในโครงการของพลานู ซัฟเฟร่ ที่มีจุดประสงค์ต่อการทำสมาร์ตฟาร์มต่อการแก้ปัญหาในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) จะให้การสนับสนุนทางการเงินต่อผู้ผลิตเอทานอลชีวภาพหรือผู้ที่มีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนมาผลิตเอทานอลชีวภาพในอนาคต นโยบายนี้ถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมการสร้างงานทางเลือกและการดำรงชีวิต นอกเหนือไปจากประเด็นนี้นโยบายที่กำหนดโควตาของเชื้อเพลิงและปุ๋ยเคมีจะช่วยเพิ่มอุปสงค์ของตลาดเอทานอลภายในประเทศ และการเพิ่มอัตราส่วนของเอทานอลแห้งในน้ำมันเบนซินที่ 30-70% (ขณะนี้อยู่ในช่วงที่ภาครัฐกำลังศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม) จะช่วยสร้างแรงจูงใจต่อการอุปโภคของเชื้อเพลิงชีวภาพได้อีกทางหนึ่ง
โรงงานน้ำตาลในประเทศบราซิลใช้ชานอ้อย 100% สำหรับการผลิตพลังงาน และขายพลังงานส่วนเกินกลับเข้าสู่เครือข่ายไฟฟ้า อย่างไรก็ดีมีเพียงแค่ 15% ของพลังงานที่ผลิตได้จากชานอ้อยที่ถูกนำไปใช้จริง แต่ในข้อเท็จจริงแล้วพลังงานชีวภาพยังมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ได้จริงถึง 30% ของความต้องการทางพลังงานทั้งหมดในประเทศ ซึ่งในส่วนต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์นี้สามารถนำไปใช้ได้ในภาคอุตสาหกรรมในอนาคต มากไปกว่านี้แรงจูงใจที่จะผลิตเอทานอลจากชานอ้อยและสวนเหลือทิ้งต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตเอทานอลเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศได้ รวมถึงการใช้นโยบายสาธารณะที่เหมาะสมจะช่วยลดอุปสรรคทางการตลาดได้ โดยเฉพาะสำหรับโรงงานน้ำตาลที่ใช้พลังงานที่ผลิตจากพลังงานทดแทนทั้งภายในและนอกประเทศ ในประเด็นนี้การควบรวมการผลิตเอทานอลและการผลิตไฟฟ้าชีวภาพจากฐานอุปสงค์เดียวกันนี้ มีส่วนสำคัญในการแยกคาร์บอนออกจากระบบอุตสาหกรรมและสร้างเสริมการพัฒนาชนบทไปพร้อม ๆ กันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจัดให้มีการใช้ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตและระบบการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง
การบริโภคอาหารโดยปราศจากน้ำตาลหรือมีน้ำตาลเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่มมีความสัมพันธ์กับอัตราที่สูงขึ้นของโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ และปัญหาสุขภาพฟัน ซึ่งประเทศบราซิลมีสถิติการบริโภคน้ำตาลของประชากรต่อวันมากกว่าปริมาณที่ควรบริโภคต่อวันถึง 15 กรัม
ในประเด็นดังกล่าวนี้โครงการพลานู ซัฟเฟร่ จะสามารถโน้มน้าวให้ผู้บริโภคบริโภคน้ำตาลลดน้อยลงได้ด้วยการลงทุนในภาคการเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น และสามารถทดแทนการผลิตอ้อยที่มีบทบาทโดยตรงต่อการผลิตน้ำตาลด้วยเอทานอลชีวภาพ ด้วยเหตุผลนี้กลไกการปฏิรูปของโครงกาพลานูซัฟเฟร่ จะสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคบริโภคน้ำตาลลดน้อยลง อีกทั้งสามารถผลักดันการสร้างตลาดใหม่ของผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภคได้ และอาจจำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพต่ำ เช่น การเก็บภาษีน้ำตาล
ทางรัฐบาลประเทศบราซิลเองก็มีความพยายามที่จะสร้างแรงจูงใจต่อผู้ผลิตที่ให้ความสำคัญในการทำเกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ดีแรงจูงใจดังกล่าวยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมน้ำตาลอ้อยได้ ที่มากไปกว่านั้นยังคงมีข้อจำกัดทางกฎหมายในการกำกับดูแล รวมถึงแรงจูงใจ “ที่ขาดความสมดุล” โดยเฉพาะต่อนโยบายพัฒนาพลังงานทดแทนที่ยังไม่ได้มีแผนแม่บทที่โยงเข้ากับการพัฒนาเอทานอลและพลังงานชีวภาพ (ดังที่กล่าวข้างต้นว่าประเด็นหลังสุดนี้คือหัวใจต่อการปฏิรูปในประเทศบราซิล) ด้วยเหตุนี้บราซิลที่เป็นผู้นำในอุตสาหกกรรมอ้อยยังมีคงมีศักยภาพที่จะยกระดับความสามารถในการปฏิรูปจากการผลิตน้ำตาลในปัจจุบัน ไปสู่การผลิตพลังงานสะอาดในอนาคตได้อีกมาก เรื่องนี้จะเป็นหัวใจในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการพัฒนาสุขภาพประชากรไปได้พร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตัวอย่างที่กล่าวถึงในประเด็นของการควบคุมการบริโภคน้ำตาลของประชากรในประเทศ
จากการพิจาราณาในประเด็นต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ สรุปได้ว่าประเทศบราซิลมีศักยภาพที่จะยกระดับทั้งอุปสงค์และอุปทานของเอทานอลและพลังงานชีวภาพได้พร้อม ๆ กัน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาพลังงานทดแทนและการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารสุขภาพ ถึงแม้ว่านโยบายเหล่านี้จะต้องเผชิญกับแรงเสียดทานของกลุ่มผู้บริโภคน้ำตาล แต่การที่กาแฟใส่น้ำตาลต้องแพงขึ้นอีกนิดก็อาจจะหมายถึงอนาคตที่ดีขึ้นของทั้งบราซิลและทั่วโลก