ETHANOL

โรงงานฯ ทิพย์สุโขทัย นำชานอ้อยที่เหลือใช้ผลิตไฟฟ้าชีวมวล

โรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีที่ดินที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยประมาณ 70% ของพื้นที่ ในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาล ที่สร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศไทย เป็นอันดับ 2 ของโลก

ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าทิพย์สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ นับเป็นโรงไฟฟ้าต้นแบบที่สำคัญในจังหวัดสุโขทัย และได้เป็นแหล่งให้ความรู้สำหรับชุมชน นักเรียน และนักศึกษา ที่ต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งในแต่ละปีจะติดต่อเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประสบความสำเร็จจากการตั้งใจออกแบบโรงไฟฟ้า สำหรับการอนุรักษ์พลังงาน และส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน พร้อมทั้งเป็นส่วนสำคัญที่ในการนำเข้าเชื้อเพลิง มาผลิตไฟฟ้าที่นับว่ามีมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

ซึ่งการผลิตน้ำตาลดังกล่าว มักจะทำให้เกิดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร คือ ชานอ้อย ซึ่งทางโรงไฟฟ้าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในโรงงานน้ำตาลและไฟฟ้าส่วนที่เหลือก็ส่งขายไฟฟ้าให้กับภาครัฐได้ โรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัยเริ่มมาจากโรงงานน้ำตาลบริษัท ทิพย์สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ จำกัด ที่นำการเอาชานอ้อยมาทำประโยชน์ จึงดำเนินการจัดตั้ง โรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ ขึ้นในปี 2551 การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้า ในรูปแบบโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP FIRM) ที่ได้รับใบอนุญาตซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) และเพื่อดำเนินการผลิตไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ได้มีกำลังการผลิตติดตั้งขนาด 36 เมกะวัตต์ ภายในบริเวณโรงงานน้ำตาล

ความสำเร็จของโรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัย

ความสำเร็จของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ เนื่องจากที่โรงงานน้ำตาลทิพย์สุโขทัย ได้มีปริมาณของชานอ้อยที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลเป็นปริมาณมาก โดยที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำชานอ้อยที่เหลือจากกระบวนการหีบสกัดน้ำอ้อย โดยนำมาเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานน้ำตาล และจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปริมาณ 8 เมกะวัตต์ ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ให้แก่โรงงานและระบบไฟฟ้าในจังหวัดสุโขทัย

โดยการผลิตของโรงไฟฟ้าจะแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่

1.เดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่โรงงานน้ำตาลหยุดการผลิตหรือนอกฤดูหีบ (Off Season) โรงไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพียงอย่างเดียว

2. เดือนธันวาคม-เดือนมีนาคม เป็นช่วงฤดูหีบอ้อย (Crushing Season) ซึ่งโรงงานน้ำตาลต้องใช้พลังงานค่อนข้างมาก โรงไฟฟ้าจะผลิตไอน้ำแรงดันสูงและไฟฟ้า จำหน่ายให้โรงงานน้ำตาล และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยมีกำลังการผลิตสุทธิ 27 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้แก่โรงงานน้ำตาล 15 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 8 เมกะวัตต์ และนำมาใช้เองภายในโรงไฟฟ้า 4 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 42% 22% และ 16% ตามลำดับ

3. เดือนเมษายน-เดือนสิงหาคม เป็นช่วงฤดูละลายน้ำตาล (Remelt Season) ซึ่งโรงงานน้ำตาลใช้พลังงานไม่มากนัก โรงไฟฟ้าจะผลิตไอน้ำแรงดันต่ำและไฟฟ้า จำหน่ายให้โรงงานน้ำตาล และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.).

4. เดือนกันยายน เป็นช่วงการหยุดเพื่อซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงไฟฟ้า (Plant Shut down) โรงไฟฟ้าจะหยุดการผลิตไฟฟ้า และรับซื้อไฟฟ้าจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เข้ามาใช้ภายในโรงไฟฟ้าแทน

โรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัยมีการซื้อเชื้อเพลิงชานอ้อย เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาลส่วนไอน้ำแรงดันสูงจะจำหน่ายให้โรงงานน้ำตาลโดยใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรในการหีบอ้อย

การบริหารจัดการเชื้อเพลิงสามารถทำให้มีปริมาณชานอ้อยเพียงพอต่อผลิตกระแสไฟฟ้าตลอดทั้งปี การผลิตไฟฟ้าในระยะเวลา 11 เดือน จะมีการหยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักร 1 เดือน โรงไฟฟ้าชีวมวลทิพย์สุโขทัย สามารถผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ประมาณ 61.4 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) ต่อปี และผลิตไอน้ำจำหน่ายให้ โรงงานน้ำตาลทิพย์สุโขทัย 818,919 ตันต่อปี เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวม 222,688 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

โดยเงินลงทุนของโรงไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 1,663 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินหมุนเวียน) และมีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) ระดับ 17.4% ระยะเวลาคืนทุน 5 ปี ทั้งนี้ยังมีต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ย 46 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ ซึ่งสร้างรายได้จากการขายไอน้ำและไฟฟ้า ประมาณ 516 ล้านบาทต่อปี

ข้อดีของโรงไฟฟ้า

บริษัท ทิพย์สุโขทัย ไบโอเอนเนอยี่ จำกัด ได้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อเป็นการดูแลชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นกองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยเริ่มส่งเงินตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้การดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) จากปี 2559-2563 นำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้ารวม 3.03 ล้านบาท มีการดำเนินโครงการในชุมชนรวม 10 โครงการ ทั้งนี้การมีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ยังส่งผลดีทั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมในระดับชุมชนและประเทศ

การจัดซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกร คือ อ้อย ทำให้เกิดการจ้างงานในโรงงาน และโรงไฟฟ้า ทำให้เกษตรกรในชุมชนมีรายได้ การดำเนินงานของโรงไฟฟ้า ได้มีการจัดหาและการใช้งานเทคโนโลยีโดยผ่านการคัดเลือกเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและไม่ยุ่งยาก ซึ่งการดำเนินการแบบนี้โรงงานในพื้นที่ต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ได้ หากมีเชื้อเพลิงชีวมวลที่เพียงพอ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนรายละเอียดเล็กนิ้ยเพื่อให้เหมาะกับโรงงานนั้นๆ ซึ่งการจัดทำนี้ ส่งผลให้โรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้รับการการันตีคุณภาพด้วยการคว้ารางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแทน Thailand Energy Awards 2015 และรางวัลชนะเลิศ ASEAN Energy Awards 2015 ประเภทโครงการพลังงานความร้อนร่วมจากพลังงานหมุนเวียน (Co-Generation) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558 กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเชีย ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีแก่หน่วยงานอื่น ๆ ในการร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาพลังงานของประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

vulkan vegas, vulkan casino, vulkan vegas casino, vulkan vegas login, vulkan vegas deutschland, vulkan vegas bonus code, vulkan vegas promo code, vulkan vegas österreich, vulkan vegas erfahrung, vulkan vegas bonus code 50 freispiele, 1win, 1 win, 1win az, 1win giriş, 1win aviator, 1 win az, 1win azerbaycan, 1win yukle, pin up, pinup, pin up casino, pin-up, pinup az, pin-up casino giriş, pin-up casino, pin-up kazino, pin up azerbaycan, pin up az, mostbet, mostbet uz, mostbet skachat, mostbet apk, mostbet uz kirish, mostbet online, mostbet casino, mostbet o'ynash, mostbet uz online, most bet, mostbet, mostbet az, mostbet giriş, mostbet yukle, mostbet indir, mostbet aviator, mostbet casino, mostbet azerbaycan, mostbet yükle, mostbet qeydiyyat