Samart มุ่งมั่น ใช้พลังงานทางเลือก สำหรับรถตัดอ้อยรุ่นใหม่
ความยั่งยืนกลายเป็นปัญหาใหญ่ทางการเมืองที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ งาน Sugarex Thailand ปีนี้ที่ จ.ขอนแก่น Samart ได้หารือในเรื่อง “ความยั่งยืน” และเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของประชาชนกับสิ่งที่เหล่าเกษตรกรกำลังเผชิญหน้าในปี 2566
สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนสำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ ตัวเลือกในการใช้ไฟฟ้าเพื่อแทนที่เครื่องยนต์แบบเดิม ๆ ดูเหมือนจะไม่สามารถใช้การได้จริงในขณะนี้ อย่างไรก็ตามมีการตั้งคำถามว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการใช้งานพลังงานไฟฟ้าคืออะไร? มันเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อสร้างความต้องการด้านอุตสาหกรรมทางเลือกโดยสิ้นเชิงหรือไม่? หรือแท้จริงแล้วเป้าหมายคือเพื่อลดมลภาวะ? เพราะถ้าหากเป้าหมายคือการลดมลภาวะมันก็อาจสำเร็จผลไปได้อีกทางหนึ่ง และเครื่องยนต์ไฮโดรเจนคือความเป็นไปได้อย่างชัดเจนเนื่องจากมันสามารถนำไปใช้ในรูปแบบเดียวกันกับ LPG (ก๊าซหุงต้ม) และ CNG (ก๊าซธรรมชาติอัด) ซึ่งเกษตรกรแถบเอเชียมีความคุ้นเคยกับก๊าซทั้งสองชนิดนี้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เหตุผลทางการค้าที่หลากหลายตีความได้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่จะนำไปใช้การได้จริงในปัจจุบัน ดังนั้นตัวเลือกที่เหมาะสมมากกว่าก็อาจ HVO หรือที่เรียกว่าน้ำมันพืชที่ผ่านการไฮโดรทรีต จะผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเวียนโดยใช้วิธีไฮโดรทรีต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเติมไฮโดรเจนไตรกลีเซอไรด์
และเนื่องจากในปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้าใหม่จำนวนมากที่เข้ามาอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ Samart จึงรู้สึกว่าพวกเขาเริ่มตระหนักต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้นมันก็สมเหตุสมผลที่เครื่องยนต์ (SER) รุ่นล่าสุดที่ผลิตในปี 2567 จะถูกเปิดตัวในกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับเครื่องยนต์ที่รองรับการใช้งาน HVO ของรถตัดอ้อยของ Samart ทุกรุ่น
แล้ว HVO คืออะไร? มันคือเชื้อเพลิงชีวภาพ หลายคนคงจะเคยได้ยินเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพที่ทำมาจากขยะอินทรีย์หรือวัสดุจากพืชอื่น ๆ มาก่อนหน้านี้ เชื้อเพลิง (FAME) เหล่านี้มีส่วนผสมของปริมาณอินทรีย์สูงซึ่งนำไปสู่การเสื่อมสภาพของเชื้อเพลิงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตัวกรองเกิดการดักจับและอาจทำให้ระบบหยุดทำงานอย่างรวดเร็ว กรดไขมันเมทิลเอสเทอร์ในเชื้อเพลิง (Fatty Acid Methyl Ester) ยังเข้าทำลายผนึกภายในตัวเครื่องยนต์ จนเกิดความเสียหายและเสื่อมสภาพโดยที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในที่สุด ด้วยสาเหตุนี้ทำให้มันไม่ประสบผลสำเร็จในการนำไปใช้ทางการเกษตร

อย่างไรก็ตาม HVO เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ 100% รุ่นที่สองที่ทำมาจากน้ำมันพืชซึ่งถูกแปรรูปไปสู่เชื้อเพลิงดีเซลพาราฟินที่ปราศจากฟอสซิล กระบวนการสองส่วนนี้ถูกเรียกว่า ไฮโดรทรีทเม้นต์ (hydro-treatment) ซึ่งเป็นที่มาของน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนหรือ (HVO) อีกทั้ง HVO ยังสามารถทดแทนเชื้อเพลิงดีเซล (แร่) ในเครื่องยนต์สมัยใหม่บางรุ่นได้โดยตรง และถ้าหากเปรียบเทียบกับน้ำมันแร่ดีเซลแล้ว HVO ถือว่าผลิตฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) ได้ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังลดการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และทำให้การเกิดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยรวมลดลงประมาณ 90% อีกด้วย สิ่งสำคัญที่สุดจากคุณสมบัติเหล่านี้สำหรับหลายประเทศแถบเอเชียอาจเป็น HVO ที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองต่ำมากเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น

HVO มีความเสถียรอย่างมากหากเทียบกับน้ำมันดีเซลชนิดอื่น ๆ ด้วยส่วนผสมอินทรีย์ที่มีค่าไขมันต่ำ จึงช่วยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเจริญเติบโตของพืชในเชื้อเพลิงซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เครื่องยนต์สึกหรอ นั่นหมายความว่า HVO สามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่มีการเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงข้อหนึ่งที่เหมือนจะดึงดูดเกษตรกรจำนวนมาก และยังหมายความว่าพวกเขาสามารถเก็บตุนเชื้อเพลิงที่เป็นประโยชน์ไว้ได้ตลอดปีเพื่อให้มั่นใจว่ามีจำนวนเพียงพอในการเตรียมดินปลูก รวมถึงในช่วงฤดูหีบอ้อย
ฟิลิป โป๊ป นักเทคโนโลยีวิศวกรรมของ Samart ได้กล่าวที่งาน Sugarex Thailand 2023 ว่า “การเปิดตัวของเครื่องยนต์ SER ที่รองรับเชื้อเพลิงชีวภาพมาใช้กับรถเก็บเกี่ยวรุ่น Superspeed II ของเราทำให้โครงการสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นในการเปิดตัวเครื่องยนต์เชื้อเพลิงชีวภาพในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ เรากำลังทำให้วัฏจักรนี้สมบูรณ์ เมื่อทำการเก็บเกี่ยว ผลิตภัณฑ์ของเราจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหาร แต่ในขณะนี้ก็เริ่มมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เครื่องยนต์ SER สามารถใช้เชื้อเพลิงที่ผลิตจากน้ำตาลและขยะอินทรีย์อื่น ๆ ทำให้ลูกค้าของเรามีเครื่องมือที่จะช่วยให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และในขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสที่จะสร้างความแตกต่างให้กับคุณภาพอากาศในอนาคตอีกด้วย”
ตั้งแต่เครื่องยนต์ในรุ่นปีผลิต 2567 ที่รองรับการใช้ HVO จะออกวางจำหน่ายที่สามารถเกษตรยนต์ ซึ่งประกอบด้วยรุ่น SM200C SM200Predator และ SM200 Superspeed II สำหรับข้อมูลและคำแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องของการใช้รถตัดอ้อยรวมทั้งคำแนะนำด้านเทคนิคในการใช้เครื่องจักรให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท สามารถเกษตรยนต์ จำกัด อ.หันคา จ. ชัยนาท