ผู้ผลิตเอทานอลฟิลิปปินส์ผลักดันให้มีการผสมไบโอเอทานอลในเบนซินมากขึ้น
รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังเผชิญกับข้อเรียกร้องจากผู้ผลิตเอทานอล ให้สามารถมีส่วนผสมเอทานอลในน้ำมันเบนซินได้โดยสมัครใจมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงนําเข้า และส่งเสริมอุตสาหกรรมเอทานอลในท้องถิ่น
รายงานล่าสุดกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) เผย รัฐบาลฟิลิปปินส์กําลังศึกษาการผสมเอทานอลเข้าไปในน้ำมันเบนซินให้สูงขึ้นถึง 20 เปอร์เซ็นต์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ธนาคารกลางแห่งฟิลิปปินส์ (BSP) แสดงความกังวลว่า ฟิลิปปินส์ต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่นที่นำเข้ามากเกินไป โดยกระทรวงพลังงาน (DOE) ได้รับคำแนะนำให้คำนึงถึงส่วนผสมที่สูงขึ้นดังกล่าวจากการประชุมคณะกรรมาธิการพลังงานวุฒิสภาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2022
USDA กล่าวอีกว่า การส่งเสริมให้มีส่วนผสมเอทานอลที่สูงขึ้นนั้น ผู้ผลิตเอทานอลจําเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในกำลังการผลิต
อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ผลิตเอทานอลแห่งฟิลิปปินส์ (EPAP) ชี้แจงว่ามาตรการนี้ยังไม่สอดคล้องกับข้อบังคับภายใต้พระราชบัญญัติเชื้อเพลิงชีวภาพปี 2006
Gerardo Tee ประธานของ EPAP ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ “กฎหมายได้กําหนดให้มีการเพิ่มส่วนผสมไบโอเอทานอลแล้ว แต่กรณีของความสมัครใจ จะยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ”
นอกจากนี้ยังเสริมอีกว่า คณะกรรมการเชื้อเพลิงชีวภาพแห่งชาติ (NBB) ควรตัดสินใจเกี่ยวกับการเพิ่มส่วนผสมในภาคบังคับ
NBB ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษา และดําเนินการตามพระราชบัญญัติ ประกอบด้วยกระทรวงพลังงานการเงินการเกษตรและแรงงานและการจ้างงาน รวมถึงหน่วยงานมะพร้าวของฟิลิปปินส์ (PCA)
ในพระราชบัญญัติจะกําหนดให้เชื้อเพลิงเหลวทั้งหมดสําหรับมอเตอร์และเครื่องยนต์ที่ขายในฟิลิปปินส์จะต้องผสมกับเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยมีส่วนผสมเอทานอลที่ได้รับคําสั่งในปัจจุบันสําหรับน้ำมันเบนซินอยู่ที่ E10 หรือที่ 10 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2012
EPAP ได้ผลักดันให้เพิ่มส่วนผสมจาก 10 เปอร์เซ็นต์เป็น 15 หรือ 20 เปอร์เซ็นต์เพื่อดึงราคาน้ำมันเบนซินลง และสร้างการประหยัดมากขึ้น จากการหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG)
Tee กล่าวว่า ประเทศจะได้รับประโยชน์จากการกําหนดให้มีส่วนผสมของไบโอเอทานอลเพิ่มขึ้น แม้จะอยู่ที่ร้อยละ 5 ก็ตาม เนื่องจากจะมีการนําเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง
“นี่เป็นสถานการณ์ที่จะได้เปรียบ เราจะนําเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยลง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อช่วยเกษตรกร พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต และลดราคาน้ำมันเบนซิน” เขากล่าว
ภายใต้แผนพัฒนาฟิลิปปินส์ ปี 2023-2028 ทาง USDA และ DOE ได้รับคําสั่งให้จัดทําแผนโครงการพื้นที่ที่เหมาะสมในการผลิตวัตถุดิบสําหรับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ
ปัจจุบันยังมีการขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ทั้งสองหน่วยงานมีแผนงานที่จะดําเนินการพัฒนาต้นกล้าของมะพร้าวที่ให้ผลผลิตสูง และจะเพิ่มพลังงานวัตถุดิบพืชอื่น ๆ อีกด้วย
แต่จนกว่าการผลิตเอทานอลในประเทศจะขยายตัวขึ้น USDA จึงประกาศว่า “ประเทศจะถูกบังคับให้นําเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่นต่อไป เพื่อแข่งขันกับเอทานอลที่นําเข้าในราคา 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำมันเบนซินผสมทั้งหมด และมีผลทั้งการลดราคาที่สถานีจำหน่ายน้ำมันทันที รวมทั้งเป็นการป้องกันราคาน้ํามันในอนาคต และผลกระทบจากอุปทาน”
อย่างไรก็ตาม EPAP กําลังผลักดันให้มีการนําเข้ากากน้ำตาล ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไบโอเอทานอล
กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบหลักซึ่งมาจากการดําเนินงานน้ำตาลที่ผลิตเป็นผลพลอยได้ในการผลิตแอลกอฮอล์และเอทานอล
“เรากําลังร้องขอให้ประธานาธิบดีมาร์กอส อนุญาตให้อุตสาหกรรมไบโอเอทานอลนําเข้ากากน้ำตาลในช่วงนอกฤดูเก็บเกี่ยว” Tee กล่าวโดยตั้งข้อสังเกตว่ามีการขาดแคลนวัตถุดิบ 500,000 เมตริกตัน
พร้อมทั้งให้ความเห็นว่า สิ่งนี้จะช่วยให้อุตสาหกรรมเอทานอลในท้องถิ่นเจริญรุ่งเรือง ช่วยเพิ่มมูลค่าการผลิตในประเทศ และทําให้มีการจ้างงานได้ต่อเนื่อง ในปี 2022 อุปทานน้ำมันเบนซินผสม คาดว่าจะสูงถึงเกือบ 6.8 พันล้านลิตร เติบโตโดยเฉลี่ยร้อยละ 6 ต่อปี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
บริษัท Petron Inc. เป็นโรงกลั่นน้ำมันในท้องถิ่นแห่งเดียว มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตน้ำมันเบนซินของประเทศ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาด 20% ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทั้งหมดที่วางขายในตลาด อุปทานน้ำมันเบนซินผสมทั้งหมด จะเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่นนําเข้า โดยจีนเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดในปี 2021 แต่เมื่อปีที่แล้ว ฟิลิปปินส์ได้แสวงหาซัพพลายเออร์ทางเลือก อย่างเช่น เกาหลีใต้และสิงคโปร์ เนื่องจากจีนมีความเข้มงวดข้อจํากัดการส่งออกมากขึ้น