International

อุตฯ อ้อยปากีสถาน คาดว่าจะมีการผลิตน้ำตาลที่สูงขึ้นในปี 64

คณะกรรมการสหพันธ์การเกษตรของปากีสถาน เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2563-2564 ประเทศมีแนวโน้มจะมีผลผลิตน้ำตาลส่วนเกิน เนื่องจากมีการผลิตอ้อยที่สูงขึ้น และการฟื้นตัวของน้ำตาลซูโครสในอ้อยโดยมีปริมาณผลผลิต 75.9 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าผลผลิตของปีที่แล้วที่มีเพียง 66.8 ล้านตัน นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะอนุญาตให้นำเข้าน้ำตาลได้เกือบ 850,000 ตันทันทีโดยไม่ต้องเสียภาษีและอากรใดๆ เพื่อป้องกันการขึ้นราคาน้ำตาลในประเทศ

ปากีสถานคาดว่า จะเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยสูงสุดเป็นอันดับสองที่ 75.9 ล้านตันโดยรัฐปัญจาบจะเก็บเกี่ยวได้ถึง 52.4 ล้านตัน เทียบกับสถิติก่อนหน้านี้ที่จดไว้ในปี พ.ศ. 2560-2561 ที่ 55.2 ล้านตัน ส่วนแคว้นสินธ์ มีแนวโน้มผลิตได้ 18.3 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าผลผลิตของปีก่อนหน้านี้ และผลผลิตของแคว้นไคเบอร์ปัคตูนควา จะอยู่ที่ 5.2 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าผลผลิตของปีที่แล้วเล็กน้อยที่อยู่ที่ 5.3 ล้านตัน

ในปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยทั่วประเทศอยู่ที่ 75.9 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าผลผลิตของปีที่แล้วที่อยู่ที่ 66.8 ล้านตัน เมื่อปากีสถานนำเข้าน้ำตาล 0.3 ล้านตันในช่วงสิ้นฤดูกาลเพื่อควบคุมราคาน้ำตาล ในทำนองเดียวกันการเก็บเกี่ยวอ้อยของรัฐปัญจาบอยู่ที่ 52.4 ล้านตันเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่อยู่ที่ 43.3 ล้านตัน

ไม่เพียงแต่ผลผลิตอ้อยในปีนี้เท่านั้นที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้บริโภคควรได้น้ำตาลในราคาที่ถูกลงพอสมควรเมื่อเทียบปริมาณสารให้ความหวานที่คาดว่าจะได้รับกับการบริโภคในประเทศ จากการประมาณการณ์การบริโภคน้ำตาลภายในประเทศแบบรายเดือนอยู่ที่ 0.45 ล้านตัน ดังนั้นปากีสถานจึงต้องการน้ำตาล 5.4 ล้านตันเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศในแต่ละปี

ปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการวัดผลผลิตน้ำตาลคือปริมาณซูโครสจากอ้อย จากข้อมูลในระบบของกรมอาหารปัญจาบ การฟื้นตัวของอ้อยในปีนี้ในรัฐปัญจาบตอนกลางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 และมีรายงานว่าในปัญจาบตอนใต้ฟื้นตัวกว่าร้อยละ 11 การฟื้นตัวของน้ำตาลเคยสูงกว่าในแคว้นสินธ์ เมื่อเทียบกับรัฐปัญจาบ

แหล่งข่าวอย่างเป็นทางการกล่าวว่า นอกจากนี้การฟื้นตัวของน้ำตาลจากอ้อยที่ดีต่อสุขภาพนั้นยังเป็นการหักล้างคำกล่าวอ้างของผู้ผลิตที่ว่าผลผลิตน้ำตาลซูโครสลดลงเนื่องจากเริ่มต้นฤดูกาลหีบอ้อยเร็วขึ้น

จากการประเมินผลผลิตและข้อมูลการตลาดทั้งหมดสามารถประเมินได้ว่าการผลิตน้ำตาลของประเทศจะอยู่ที่ประมาณ 6.5 ล้านตันเทียบกับอุปสงค์ที่อยู่ที่ 5.4 ล้านตัน แม้ว่าร้อยละ 15 ของอ้อยจะถูกนำไปใช้ในการทำน้ำอ้อยหรือน้ำตาลโตนด

ยิ่งไปกว่านั้น ตัวเลขอีกหนึ่งตัวที่สามารถช่วยผู้กำหนดนโยบายในการทำความเข้าใจตลาดน้ำตาลคือปริมาณการผลิตล่าสุดและการเปรียบเทียบกับข้อมูลของปีที่แล้ว จากข้อมูลของกรมอาหารของจังหวัด ชี้ว่า นับตั้งแต่เริ่มฤดูกาลหีบอ้อยของปีนี้จนถึงขณะนี้มีการผลิตน้ำตาลจำนวน 1.9 ล้านตัน ในรัฐปัญจาบเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำตาลที่ผลิตในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่อยู่ที่ 0.98 ล้านตัน ดังนั้นในปีนี้จึงมีน้ำตาลส่วนเกินประมาณหนึ่งล้านตันในจังหวัดและส่วนที่ยังคงอยู่ระหว่างการหีบประมาณร้อยละ 50

ผู้ที่อยู่วงในเชื่อว่า รัฐบาลไม่ควรลังเลในการบังคับใช้ตัวเลือกทางกฎหมายที่มีอยู่เพื่อป้องกันการกักตุนสินค้า เพื่อสร้างความมั่นใจในการจัดหาน้ำตาลที่ผลิตภายในประเทศเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง วิธีการดังกล่าวจะช่วยควบคุมราคาน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสร้างความสบายใจให้กับผู้บริโภคที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันอันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อ

นอกจากนี้ ยังกล่าวด้วยว่า ในช่วงฤดูกาลหีบอ้อย การนำเข้าน้ำตาลทรายดิบอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่ผลผลิตอ้อยอยู่ในระดับต่ำ ในทางกลับกัน ควรมีการประเมินความจำเป็นในการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลหีบอ้อยภายหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลอุปสงค์และอุปทาน